พันธุ์ปลา:เตรียมพันธุ์ปลาพระราชทานช่วยผู้ประสบภัย

นายอำพล  เสนาณรงค์องคมนตรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมของ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระเมตตาต่อการ ประมงไทย เนื่องในวันประมงรำลึกสำนึก ในพระมหากกรุณาธิคุณ 7 พฤศจิกายน 2554ว่ากรมประมงได้จัดเตรียมพันธุปลานํ้าจืดเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบอุทกภัย เพื่ำอนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาหารและจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว  ควบคู่กับการปล่อยคืนแหล่งนํ้า ธรรมชาติ เพื่อคงไว้ซึ่งสายพันธุ์ปลานํ้าจืด ไทยในแหล่งนํ้าธรรมชาติต่อไป

ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อ 58 ปีที่แล้ว (วันที่ 7 พ.ย. 2496) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปล่อยพันธุ์ปลาหมอเทศจากบ่อเลี้ยง ส่วนพระองค์ ลงในบ่อเลี้ยงของกรมประมง และได้พระราชทานพันธุ์ปลาแก่ข้าราชการ และเกษตรกร เพื่อน่าไปเลี้ยงเป็นอาหารของ ประชาชน ซึ่งพันธุ์ปลาส่วนนี้ทางกรมประมง ได้น่ามาเป็นพ่อแม่พันธุ์และขยายพันธุ์จน ได้ปริมาณที่มากพอแก’การนำไปปล่อยคืนสู่ แหล่งน้ำธรรมชาติ และมอบให้เกษตรกรนำ ไปเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องตลอดมาจวบจน ทุกวันนี้

และเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งปวงชนชาวไทย ต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกรของพระองค์มาโดยตลอด โดยเฉพาะภาคการเกษตรและการประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้เกษตรกรนำไปประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม และสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

ทั้งนี้ เมื่อปี 2494 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมง นำพันธุ์ปลาหมอเทศ ซึ่งเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนโรค และขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ไปทดลองเลี้ยงในพระที่นั่งอัมพรสถาน หลังจากนั้นอีก 2 ปี(พ.ศ. 2496) พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากทั่วประเทศ  เข้ารับพระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศที่ทรงเพาะเลี้ยงไว้ นำไปเลี้ยงแพร่ขยายพันธุ์ในท้องถิ่น ของตนเอง เพื่อใช้เป็นอาหารแทนปลาจากธรรมชาติที่เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว  และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ในปีเดียวกันก็เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของกรมประมง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปล่อยพันธุ์ปลาหมอเทศจากบ่อเลี้ยงส่วนพระองค์ ลงในบ่อเลี้ยงของกรมประมง และพระราชทานพันธุ์ปลาแก่ข้าราชการและเกษตรกร เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นอาหารของประชาชนเป็นครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาสุดมิได้ที่พระองค์ทรงมีต่อพนกนิกร ชาวไทย

ต่อมาในปี 2508 สมเด็จพระจักร พรรดิอากิฮิโต แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใน ขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปลาตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศ แต่มีการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ เร็วกว่า จำนวน 50 ตัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “ปลานิล” ที่มีแหล่งกำเนิดจากลุ่มแม่นํ้าไนล์

โดยได้ทรงนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ใน บริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา และใน วันที่17 มีนาคม 2509 พระองค์ไ้ด้โปรดเกล้าฯพระราชทานปลานิลจำนวน 10,000 ตัว แก่กรมประมง เพื่อขยายพันธุ์ต่อ และแจกจ่าย ให้กับเกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยง เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของประชาชน  ตามพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นเอง

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กรมประมงจึงได้ทำการขยายพันธุ์ปลาเหล่านี้ เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกร ตลอดทั้งปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติภายหลังจากน้ำลด โดยจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดสายน้ำที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ ทั้งนี้ เพื่อการสร้างอาชีพและสร้างอาหารโปรตีน เพื่อการบริโภคของประชาชนที่ประสบอุทกภัย และการคงไว้ซึ่งพันธุ์ปลาน้ำจืดในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทางน้ำภายหลังจากนั้าลดและเข้าสู่ภาวะปกติ.