ประโยชน์จากสมุนไพร:พุดตาล


ดอกสามสี สามผิว

ชื่อ
จีนเรียก   พู่ย้งฮวยเฮิยะ เช็งเลี่ยงกอ  ชิวพู่ย้ง  Hibiscus mutabilis Linn.

ลักษณะ
อยู่ในประเภทชบา เป็นต้นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10 ฟุต เนื้อไม้อ่อน ลำต้นและใบสีเขียวอ่อน มีขนสั้น ใบขึ้นสลับ ก้านใบยาว รูปใบกว้าง แผ่เป็น 5 มุม ขอบใบเป็นหยักๆ ไม่เรียบ ออกดอกหลังหน้าร้อน ก้านดอกยาว ออกดอกบานสีม่วง เวลาบ่ายเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบใบ 5 กลีบ หรือกว่านั้น เกสรตัวเมีย 1 เกสรตัวผู้มากกว่า 1 ออกลูกกลม

รส
ฝาดนิดๆ ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ ธาตุของดอกค่อนข้างเย็น

สรรพคุณ
ใช้ภายนอกดับพิษ ถอนพิษรากรับประทาน ขับนํ้าหนอง ระงับปวด ส่วนดอกรับประทานทำให้ปอดเย็น ฤทธิ์เข้าถึงปอด

รักษา
ใช้ภายนอกแก้เป็นผื่นฝีเรื้อรัง พิษทางเดินปัสสาวะ ผู้หญิงเจ็บนม
แผลเปื่อยเรื้อรัง ดอกใช้กินแก้กระอักเลือด รากแก้ปวดอักเสบ

ตำราชาวบ้าน
1. เป็นฝีพิษเรื้อรัง – ใช้ใบพุดตาล ตำแหลกใส่นํ้าตาลแดง พอก หรือตากแห้ง บดผงใช้นํ้าชาละลาย ทา
2. ผู้หญิงเจ็บนม เป็นพิษทางเดินปัสสาวะ – ใบพุดตาล ตำแหลก ทา หรือตากแห้ง บดผงผสมเหล้า ทา
3. แผลเรื้อรังไม่แห้ง – เอาใบพุดตาลลวกนํ้าร้อนแล้วปะหน้าแผล
4. นํ้าร้อนลวกเป็นแผล – เอากิ่งและใบตำแหลกหรือบดผงผสมนํ้ามันหมู พอก ทา
5. กระอักเป็นเลือด – ดอกพุดตาล 10 ดอก ต้มนํ้ารับประทาน หรือต้มกับเนื้อสันหมู รับประทาน
6. ปอดอักเสบขากเสลดมีกลิ่นเหม็นเขียว – รากพุดตาล 1 ตำลึง ต้มกิน บ่อยๆ

ปริมาณใช้
ใช้ใบกะพอประมาณ ใช้ดอกครั้งละประมาณ 10 ดอก ใช้รากรับประทาน ไม่เกิน 1 ตำลึง

ข้อควรรู้
ปกติไม่ใช้ใบรับประทาน ผู้ที่ไฟธาตุอ่อนผอมแห้งแรงน้อย ไม่ควร รับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช