ฟักทองญี่ปุ่น(Japanese Pumpkin)


ลักษณะทั่วไป
ปลูกง่าย อายุสั้น ใช้แรงงานต่ำ ไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืช ระยะปลูกห่าง น้ำหนักผลผลิตต่อจำนวนพื้นที่สูง งานอาจมีมากขึ้น ถ้าเกษตรกรปลูกแบบทำค้าง เพื่อป้องกันหนูกัดกินผลและเพื่อลดการเกิดโรคในฤดูฝน พันธุ์ที่ส่งเสริมมีรสหวานเหมาะใช้ทำขนม
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Delica, Baby Delica, Nutty Delica
ฤดูปลูก ตลอดปี
ระดับความสูง 600-1400 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-7.0
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    100×350 ซม.
จำนวนต้น 0.28 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของร่อง 1 เมตร
ระยะกว้างของร่อง 1 เมตร
ระยะห่างของร่อง 2.5 เมตร
ระยะเวลาเจริญเติบโตเต็มที่ 55-65 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ใช้แรงงานในหน้าฝนมากกว่า รวมวันทำงาน 3.8 วัน เปรียบเทียบกับฤดูอื่นรวมวันทำงาน 2.5 วัน เพราะต้องสร้างโครงค้ำต้น
หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ได้ผลดีในฤดูหนาว ส่วนผลผลิตฤดูฝนอาจเพิ่มขึ้นได้ โดยปลูกแบบทำค้าง ป้องกันผลฟักทองไม่ให้ติดเชื้อรา ถูกหนูทำลาย และมีผิวสีเข้ม
ผลผลิต
ฤดูหนาว 100-120 กก. ฤดูร้อน 60-70 กก. ฤดูฝน 70-80 กก. (ถ้าปลูกแบบทำค้าง อาจได้ถึง 90-100 กก.)
เกรด
ส่วนใหญ่เป็นเกรด A (80%)
ราคาขายของเกษตรกร 7-9 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเคมี ค่ายากำจัดศัตรูพืชจะมากในฤดูร้อน และค่ายากำจัดเชื้อราจะมากในฤดูฝน
ผลตอบแทน สูงในการปลูกฤดูหนาว
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ถ้าปลูกแบบเลื้อย ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองผลและห่อผล ป้องกันแมลงวันทองและสีผิวเสีย เกษตรกรมักจะเก็บเกี่ยวเร็วไป ทำให้ได้น้ำหนักไม่เต็มที่  ในช่วงฤดูแล้งควรระมัดระวังให้มาก ควรใช้สารเคมีอยู่สม่ำเสมอ เพราะเป็นช่วงที่ระบาดของแมลงและโรคเกี่ยวกับไวรัสมากในฤดูฝน ถ้าทำค้างจะเหมาะสมที่สุดเพื่อลดปัญหาผลเน่าและสีผิวของผล ถ้ามีผลผลิตมาก ลูกในต้นเดียวกัน ควรมีการตัดทิ้งบ้างเพื่อผลที่เหลือจะได้สมบูรณ์และขนาดตามตลาดต้องการ
การตลาด
ตลาดกำลังขยายตัวเรื่อยๆ ผลมีรสหวานเหมาะสำหรับทำขนม แนวโน้มราคายังไม่แน่นอน อยู่ระหว่าง 15-25 บาท/กก. ซึ่งสูงกว่าฟักทองธรรมดาราคา 4-6 บาท/กก.
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืช
แมลงวันแตง(Melon Fly) วางไข่ในผล ทำให้ผลเน่าเละ พบได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะฤดูฝน สังเกตจากตัวแมลงเต็มวัย อยู่บริเวณใบในตอนกลางวัน
เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน (Thrips and Aphids) ดูดกินน้ำเลี้ยงของใบอ่อน ทำให้ผลมีขนาดเล็กและผิวขรุขระ พบมากช่วง ธ.ค.-พ.ค. ป้องกันและแก้ไขโดยฉีดพ่น พอส์ส(Posse) เมซูโรล(Mesurol) หรือ แลนเนท (Lannate) ถ้าระบาดมากให้ฉีดพ่น ตัวยาชนิดเดียวกันซ้ำ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน แล้วเปลี่ยนใช้ตัวยาชนิดอื่น
โรค
โรคราแป้ง (Powdery Midew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ลักษณะเป็นสีขาวคล้ายแห้งบนใบ ทำให้ใบแห้ง พบได้ตลอดปี ป้องกันแก้ไขโดยใช้อาฟูกาน (Afugan) หรือ เบนเลท (Benlate) ครั้งเดียวหรือสองครั้งเท่านั้น
ไวรัส (Virus) ทำให้ใบหงิกงอ ด่างเหลืองและต้นพืชไม่เจริญเติบโต โดยเชื้ออาจติดมากับเมล็ดหรือมีแมลงเป็นพาหะ ป้องกันโดยฉีดพ่นยาฆ่าแมลง (ประเภทเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน) ทำลายหรือเผาต้นที่มีอาการโรค
อื่นๆ
การขาดธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียม สังเกตจากต้นและใบเหลือง ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารทั้งสองชนิดประกอบอยู่ด้วย
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
*การทำค้างใช้เวลา 10-12 ชั่วโมงสำหรับพื้นที่ 100 ตร.ม. นอกนั้นไม่มีกิจกรรมยุ่งยาก
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการปลูก
เตรียมดิน ขึ้นแปลงสูง 25-30 ซม. กว้าง 1 เมตร ขุดหลุมกว้าง 30 ซม. และลึก 30 ซม. ห่างกันหลุมละ 100 ซม. คลุกปุ๋ยคอก ปุ๋ย 12-24-12 ปุ๋ย 0-4-0 และดิน เติมให้เต็มหลุม ทำหลุมปลูกลึก 2-3 ซม. หยอดเมล็ดทีละเมล็ด กลบดินแล้วรดน้ำ ราดยา เซฟวิน 85 เพื่อป้องกันมดขนย้ายเมล็ด
ช่วงดูแลรักษา
ปลูกซ่อม 7 วันหลังเมล็ดงอก กำจัดวัชพืช พร้อมใส่ปุ๋ย 15-15-15 (1 ช้อนแกง/หลุม) หลังเมล็ดงอก 20 วัน โดยขีดร่องรอบต้นลึก 3 ซม. และห่างจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย กลบดินแล้วรดน้ำ ต้องคอยเด็ดยอดทิ้งให้เหลือเพียง 2 เถา ปลิดดอกแรกทิ้ง เพื่อให้ผลมีคุณภาพ แต่ละเถาควรมีลูกไม่เกิน 2-3 ลูก ฉีดพ่นสารเคมี ตามความจำเป็น และหยุดใช้ยาก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน ควรให้น้ำสม่ำเสมอ
ข้อควรระวัง
1. ควรหยุดแดพ่นยาฆ่าแมลง ช่วงติดดอก
2. เมื่อพืชมีอาการยอดด่าง ใบเหลืองและหงิกม้วนให้ถอนทิ้งทำลายหรือเผา
3. พยายามห่อผลด้วยกระดาษป้องกัน แมลงวันแตง
4. ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองผล ป้องกันเสี้ยนดิน (กรณีปลูกแบบเลี้อย)
5. การขาดน้ำจะทำให้ผลเล็ก สีเข้มเป็นสีน้ำตาล ควรให้น้ำสม่ำเสมอ
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อผิวฟักทองเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองนวลและผลแข็ง ใช้มีดตัดที่ขั้ว เก็บเกี่ยวช่วงใดของวันก็ได้ เก็บใส่เข่งไม้ไผ่ สามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 4 สัปดาห์ ถ้าดูแลรักษาดี
อื่น
ไม่ควรปลูกบนพื้นที่เดียวกับหอมญี่ปุ่น เยอบีรา คาร์เนชั่นและมะเขือม่วง
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่