มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อะบรุ๊ส เพรคคาทอเรียส (Abrus precalorius, Linn.) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Indian Liquorice, Jequirity อยู่ในตระกูล เลกกูมมิโนซี่ (Leguminosae) แยกเป็นตระกูลย่อย แพบไพไลออนเนียซี่ ( Papilioniaceae) บางครั้งเรียกว่า มะกล่ำเครือ, มะกล่ำแดง, ก่ำตาไก่, ผ่านตากลาง

ใบของมะกล่ำตาหนูมีรสหวาน นำมาชงน้ำดื่มแก้ไอ และแก้หวัดได้ดด้วย

ในรากก็มีเช่นเดียวกัน มีรสหวานชงนํ้าดื่มแก้ไอและหวัดได้ แต่ยังไม่ทราบว่ามีสารอะไรอยู่ภายในบ้างที่เป็นพิษ

เมล็ดเล็กอยู่ภายในฝัก มีสีแดงสดสวยและมีจุดดำอยู่รอบๆ ขั้วของเมล็ด ความสวยของเมล็ดจึงทำให้มีผู้นำมาทำเป็นเครื่องประดับ เด็กๆ ชอบเก็บมาเล่น แต่ความสวยของเมล็ดมะกล่ำตาหนูนี้เป็นความสวยที่ล่อใจแต่ภายนอก ส่วนภายในประกอบด้วยสารพิษ ทอคซัล บูมิน ( toxalbumin ) เรียกว่า อะบริน ( Abrin ) เช่นเดียวกับที่พบในเมล็ดละหุ่ง แต่สารพิษี้ จะหมดไปเมื่อถูกความร้อน

นอกจากนี้ เมล็ดมะกล่ำตาหนู ยังประกอบด้วยน้ำย่อยที่สามารถย่อยไขมันได้ คือ พรีโมกลูทินิน ( Premoglutinin ) และ เอรีเอส ( arease ) และมีอัลคลอลอยด์ อะบริน (abrine), กลูโคไซด์ อะบราลิน (glucoside abralin ) ยังมีน้ำมันอีกจำนวนเล็กน้อย

สีสวยๆ ที่เคลือบเมล็ดมะกล่ำตาหนู นักวิจัยยังแยกออกมาได้อีกว่าเป็นสารจำพวก โมโนกลูโคซายด์ แอนโธไซยานิน (monoglucoside anthocyanin) เรียกว่า อะบาร์นิน (abarvnin)

ในอียิปต์และอินเดีย ขณะที่ขาดแคลนอาหาร ใช้เมล็ดมะกล่ำตาหนูต้มรับประทานเป็นอาหารได้ เพราะสารพิษถูกทำลายไปด้วยความร้อน แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปอาจทำให้ อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ข้อควรระวัง สำหรับสารพิษที่มีอยู่ในเมล็ดมะกลํ่าตาหนูที่มีความสวยงามนั้น เด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจใส่ปากอม ถ้ากลืนทั้งเม็ดสารพิษนั้นจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเด็กนึกสนุกหรือมันเขี้ยวไปเคี้ยวให้เม็ดแตก จะทำให้สารพิษนั้นไปทำไห้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่สารพิษถูก เช่น แถวบริเวณภายในปาก เกิดการอักเสบเป็นแผลไหม้ได้ ถ้ากลืนลงไป จะทำให้หลอดอาหาร ลำไส้ กระเพาะ เกิดการอักเสบเป็นแผล ถ้าได้รับเข้าไปมากๆ อาจทำให้ถึงตายได้ สิ่งใดที่มีประโยชน์ อาจมีโทษอยู่ในตัวของมันเองก็ได้ จึงขอแนะนำมาให้ควรระรัง

สรุปสรรพคุณ

ใบและรากมะกล่ำตาหนูรสหวาน ชงน้ำดื่มแก้หวัด

เมล็ดประกอบด้วยสารพิษ อะบริน, อะบาร์นิน และน้ำย่อยที่ย่อยไขมันได้

ในอินเดียและอียิปต์ ใช้เมล็ดมะกล่ำตาหนูต้มทำลายสารพิษ รับประทานเป็นอาหารได้ ห้ามรับประทานมากอาจทำไห้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน