มะมุด

(Horse mango)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera foetida Lour.
ชื่อวงศ์ AMACARDIACEAE
ชื่ออื่น ลูกมุด มุด ส้มมุด
ถิ่นกำเนิด มาเลเซียและภาคใต้ของไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10-12 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีนํ้าตาลปนดำ แตกเป็นร่องตามแนวยาว มียางสีเหลือง


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง
5-8 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบและโคนเรียวแหลมใบขอบใบเรียบ เป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาและแข็ง ย่นเป็นลอน สีเขียวเข้ม เป็นมัน ใบอ่อนสีม่วงแดงหรือสีม่วงอมฟ้า ก้านใบยาว 2-4 ซม.
ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 20-35 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ สีเขียวอ่อน เชื่อมติดกับฐานรองดอก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ เกสรเพศผู้ 10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.7-1 ซม. ก้านดอกมีสีแดงเข้ม ออกดอกเดือน ม.ค.-มี.ค.


ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลม หรือรูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 8-15 ซม. เปลือกผลหนาเรียบเกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุก สีเขียวอมนํ้าตาลเมล็ดมีเนื้อนุ่มสีเหลืองติดกับเปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง ผิวมีเส้นใย รสเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวรุนแรง เมล็ดคล้าย รูปไต สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาดใหญ่ ติดผลเดือน ก.พ.-พ.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงทั่วไปในสภาพร้อนชื้นทางภาคใต้
การใช้ประโยชน์ ผลอ่อน รับประทานเป็นผักสด ผักแก้ม ยำ มีรสเปรี้ยว ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ตกแต่งภายใน ใช้ทำฟืน ให้ไฟแรง
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย