มะแว้งนก


นำใจใคร

ชื่อ
จีนเรียก    โอวเตียมกุย  Solanum nigrum L. ver pauciflorum Lion.

ลักษณะ
พืชประเภทมะเขือ ชอบเกิดตามลานบ้าน ริมทาง ในทุ่งทั่วไป เป็นพืช ล้มลุก ลำต้นขึ้นตรงสูง 2-3 ฟุต เนื้อคล้ายเนื้อไม้เหนียวพอสมควร ใบขึ้นสลับมีก้านใบยาวเห็นชัด เอ็นใบเด่นชัด ออกดอกหน้าร้อนถึงหน้าฝน ก้านดอกเกิดจากลำต้น ใบรูปไข่ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ขอบใบเป็นคลื่นไม่เรียบ ดอกออกเป็นช่อสีขาวเล็กช่อละ 4-5 ดอก มักจะตูบลงสู่ดิน ออกลูกกลมเป็นพวงคล้ายกระดุม

รส
ค่อนข้างขม ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ แต่บางท้องถิ่นว่ามีพิษเล็กน้อย

สรรพคุณ
สามารถแก้พิษ ขับธาตุน้ำมาก ประสะเลือดให้เย็น ใช้ภายนอกแก้ร้อนระงับบวม ฤทธิ์เข้าปอดและไต

รักษา
หวัดร้อน ความดันโลหิตสูง ไอเพราะปอดร้อน เจ็บคอ เลือดออกตาม
ไรฟัน ใช้ทาพอกแก้โรคผิวหนังผื่นแผลพุพองเพราะธาตุน้ำมาก หนูกัด

ตำราชาวบ้าน
1. หวัดร้อน – มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่น้ำตาลแดง รับประทาน
2. ความดันโลหิตสูง – มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
3. ไอเพราะปอดร้อน – มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มกับเต้าหู้ รับประทาน
4. เจ็บคอ – มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มน้ำรับประทาน หรือต้มพร้อมโทงเทง 1 ตำลึง ตำเอานํ้าใส่น้ำตาลแดง รับประทาน
5. เลือดออกตามไรฟัน -มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
6. ผิวหนังเป็นผื่น – มะแว้งนก 1 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง รับประทาน
7. ผิวหนังเป็นแผลพุพอง – มะแว้งนก ตำกับน้ำตาลแดง พอก
8. ผิวหนังเป็นฝีดิบดำ – มะแว้งนก ตำกับน้ำตาลแดง พอก
9. หนูกัด – มะแว้งนก ตำกับน้ำตาลแดง พอก

ปริมาณใช้
สดทั้งรากทั้งต้นไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 6 เฉียน ใช้ภายนอกกะพอ ประมาณ

ข้อควรรู้
ไฟธาตุอ่อน ม้ามและกระเพาะเย็น ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช