มันฝรั่ง(Potato)


ลักษณะทั่วไป
ปลูกได้ดีและเหมาะสมกับสภาพในที่สูง ขณะนี้พื้นที่ปลูกมันฝรั่งฤดูฝนมีเป็นจำนวนมาก ผลผลิตมีธุรกิจเอกชนสนใจรองรับ และตลาดจำหน่ายกว้างขวาง ทั้งเพื่อประกอบอาหาร อุตสาหกรรมการแปรรูป (มันแผ่นทอดกรอบ หรือมันทอดกรอบ เฟร้นซ์ฟรายด์) และเป็นที่ต้องการสูงสำหรับร้านอาหารแบบฟาสต์ฟูด ภัตตาคาร โรงแรม ตลอดจนตลาดขายส่ง ปัจจุบันเกษตรกรมีการทำข้อตกลงผลิตและซื้อขายกับบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและหน่วยธุรกิจเอกชนต่างๆ กัน
แม้เป็นพืชที่ปลูกง่าย แต่ต้องมีการจัดการที่ดีจึงจะได้ผลผลิตสูง ปัญหาการผลิตบนที่สูงที่สำคัญได้แก่  โรคใบไหม้ (Phytophthora infestans or Late blight) เกิดในสภาพชุ่มชื้นหนาวเย็น และโรคเกิดจากเชื้อที่สะสมในดิน เช่น โรคเหี่ยว จากเชื้อแบคทีเรียหรือโรคเกิดจาก Rhyzoctonia ซึ่งเป็นเชื้อราระดับสูง เป็นปัญหามาก ถ้าทำการปลูกซ้ำในพื้นที่เดิม
การผลิตในฤดูหนาว มักเพาะปลูกกันในพื้นที่ราบ ซึ่งได้ผลผลิตและกำไรดีกว่าการปลูกในที่สูง
สำหรับหัวพันธุ์ที่มีการรับรองคุณภาพและสั่งจากต่างประเทศ มักมีต้นทุนสูงแต่ให้ผลผลิตสูง
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Spunta (ใช้ประกอบอาหาร) Kennebec และ Atlantic (ใช้ในการแปรรูป)
ฤดูปลูก ที่สูง 700-1200 เมตร ปลูกฤดูฝน (ปลูกได้ 2 พืช) ที่ราบ 300 เมตรขึ้นไป ปลูกฤดูหนาวเท่านั้น
ความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี
ข้อจำกัดในการผลิต ไม่ควรปลูกตามพืชตระกูลเดียวกันคือ Solanaceae เช่น พริก พริกยักษ์ มะเขือ หรือยาสูบ และไม่ควรปลูกซ้ำพื้นที่เดิมติดต่อกัน 2 ปี
พื้นที่สูง(ฤดูฝน)            พื้นที่ราบ (ฤดูหนาว)
ระยะปลูก(ต้นxแถว)              30-40×80 ซม.          40×60 ซม.
จำนวนแถว/แปลง                  1 แถว                             2 แถว
จำนวนต้น/ไร่                         4000-5000 ต้น         6600-7600 ต้น
ความกว้างของแปลง             40 ซม.                           120 ซม.
ระยะห่างของร่องแปลง         40 ซม.                           40 ซม.
ระยะเวลาที่เจริญเติบโต*      90-100 วัน                   90-100 วัน
*ในการปลูกฤดูหนาว ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูง จะทำให้อายุพืชสั้นลงและผลผลิตต่ำ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ หรือ 1,100 ตร.ม.)
หมายเหตุ ตัวเลขเกี่ยวกับการผลิตมันฝรั่ง ใช้ระบบต่อพื้นที่ 1 ไร่ ต่างกับพืชอื่นซึ่งใช้ระบบพื้นที่ 100 ตร.ม.  ทั้งนี้เพราะการเพาะปลูกมันฝรั่งมักใช้พื้นที่มากกว่า พื้นที่ปลูกมันฝรั่งจริง 1 ไร่ ใช้เนื้อที่ประมาณ 1,100-1,200 ตร.ม.
การผลิต
การผลิตบนที่สูงในฤดูฝน ทำได้ 2 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน การผลิตบนที่ราบทำได้ ระหว่างเดือน ธันวาคม-มีนาคม ผลผลิตจากพื้นที่ราบมักสูงกว่า เนื่องจากหัวพันธุ์ มักใช้หัวพันธุ์จากแหล่งผลิตโดยตรง (รับรองคุณภาพ) ประกอบกับพื้นที่ได้รับแสงแดดมากกว่า (จำนวนวันที่แดดร่มและฝนตกน้อยกว่า) ส่วนการเพาะปลูกในที่สูง มักใช้หัวพันธุ์ที่ซื้อจากแหล่งปลูกในที่ราบอีกทีหนึ่ง ซึ่งมีคุณภาพต่ำ (น้ำหนักหัวน้อยกว่า 50 กรัมหรือเกรด C) หัวพันธุ์ที่ใช้ปลูกในที่สูง บางพันธุ์รับประกันคุณภาพ (เช่น Kennebec และ Atlantic ยกเว้น Spunta) เพราะทางโครงการหลวงเป็นผู้นำหัววพันธุ์ไปให้เกษตรกรปลูก
ข้อตกลงเกี่ยวกับการผลิต
ข้อตกลงเกี่ยวกับการผลิตหัวมันฝรั่งมีหลายรูปแบบ (1) บริษัทผู้รับซื้อทำการประกันราคารับซื้อ (เช่น ผู้ผลิตมันแผ่นทอดกรอบ หรือมันทอดแบบเฟร้นซ์ฟรายด์ป โดยอาจช่วยค่าซื้อหัวพันธุ์ในอัตรา 3-5 บาทต่อกก. ทั้งนี้คาดว่าจะทำกำไรคืนได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑืแก่ผู้บริโภค แต่เกษตรกรอาจไม่ทำตามข้อตกลง โดยขายแก่ผู้อื่นถ้าราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน (2) พ่อค้าคนกลางจัดหาหัวพันธุ์และปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรแลกเปลี่ยนกับผลตอบแทน ตัวอย่างเช่น ให้หัวพันธุ์ไปปลูก 1 กก. เกษตรกรต้องส่งคืนหัวมันฝรั่ง 3 กก. และขายผลผลิตที่เหลือในราคาที่กำหนดหรือตามราคาตลาด (3) โครงการหลวง คิดค่าหัววพันธุ์ตามราคาตลาด แล้วรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาตลาด
ผลผลิต
ในพื้นที่สูง 1000-1200 กก.ต่อไร่ (เนื้อที่ทำการเพาะปลูกป ขึ้นอยู่กับพันธุ์ คุณภาพของหัวพันธุ์ อัตราการใช้ปัจจัยการผลิต และดินที่ปลูกมีเชื้อโรคตกค้างหรือไม่ พื้นที่ปลูกใหม่ มักให้ผลผลิตสูง สำหรับหัวพันธุ์ Spunta ซึ่งมีการรับรองคุณภาพ จะให้น้ำหนักผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แต่เนื้อไม่ค่อยแน่นไม่เหมาะแก่การแปรรูป การปลูกในที่สูง เกษตรกรมักใช้หัวพันธุ์ที่คัดเก็บไว้ชั่วที่ 2 หรือ 3 ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าการปลูกในที่ราบ ซึ่งเกษตรกรจะใช้หัวพันธุ์แท้ และมีการรับรองคุณภาพ อย่างไรก็ดี การปลูกมันฝรั่งพันธุ์ Kennebec และ Allantic โดยใช้หัวพันธุ์แท้ บนที่สูง จะให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากการปลูกพันธุ์ spunta โดยใช้หัวพันธุ์ที่คัดเก็บไว้เองชั่วที่ 2 หรือ 3 โดยทั่วไปเกษตรกรมือใหม่ มักผลิตได้น้อยกว่าผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกรที่ชำนาญแล้วประมาณ 500 กก.ต่อไร่ สำหรับการผลิตในที่ราบ ผลผลิตจะสูงกว่าคือ 3000-5000 กก.ต่อไร่ (เนื้อที่ทำการเพาะปลูกทั้งหมด)
เกรด
การใช้หัวพันธุ์แท้ปลูก จะได้เป็นเกรด A ระหว่าง 50-60% การใช้หัวพันธุ์ชั่วที่ 2 และ 3 ปลูกจะได้เป็นเกรด A ประมาณ 30-40% การคัดขนาดสำหรับแต่ละเกรดขึ้นอยู่กับพันธุ์ และความต้องการของผู้ซื้อ โดยทั่วไปใช้กฎเกณฑ์ดังนี้
เกรด A    น้ำหนักหัวมากกว่า 250 กรัม
เกรด B    น้ำหนักหัวระหว่าง 150-250 กรัม
เกรด C    น้ำหนักหัวระหว่าง 50-150 กรัม
ไม่มีเกรด    น้ำหนักหัวน้อยกว่า    50 กรัม
ราคาขายของเกษตรกร
ราคาผลผลิตฤดูฝนจะสูงกว่า คือ ประมาณ 5 บาท/กก. เปรียบเทียบกับราคามันฝรั่ง ฤดูหนาวปลูกในที่ราบได้ประมาณ 3-4 บาท/กก. ราคาสูงสุดในเดือนกรกฎาคม กันยายน และช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ แต่ราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามปริมาณออกสู่ตลาด เช่น เมื่อปีที่แล้ว มันฝรั่งขาดตลาด ทำให้ราคาสูงถึง 12-13 บาท/กกง ในขณะที่ 2 ปีก่อน ราคาเพียง 2-4 บาท/กก. ราคาทั่วไปคาดว่าจะค่อยๆ ลดลง เนื่องจากมีการเพาะปลูกมากขึ้น สำหรับบริษัทต่างๆ (เช่น United Foods Ltd. และ General Candy Ltd.) จะให้ราคาประกัน 3.50-4.00 บาท/กก. สำหรับมันฝรั่งพันธุ์ใช้ในการแปรรูป (Kennebec และ Atlantic) ส่วนโครงการหลวง รับซื้อตามแนวโน้มราคาตลาด
หัวพันธุ์มันฝรั่ง
ในแต่ละปีสหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งจังหวัดเชียงใหม่ จะสั่งซื้อหัวพันธุ์แท้ spunta ซึ่งมีการรับรองคุณภาพจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ประมาณ 70-80 ต้น ส่วนดรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป (มันฝรั่งทอดกรอบ) จะสั่งพันธุ์แท้ Kennebec และ Atlantic จากประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา มาจำหน่ายแก่เกษตรกรทุกปี ในราคาต่ำกว่าทุน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตหัวมันฝรั่งพันธุ์ที่ใช้ในโรงงานแปรรูป
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนจะหนักทางค่าหัวพันธุ์ กล่าวคือ หัวพันธุ์แท้ Spunta:ราคา 35 บาท/กก. ใช้อัตราไร่ละ 70-80 กก. หัวพันธุ์แท้ Kennebec: ราคา 17-22 บาท/กก.(ขึ้นอยู่กับว่าเป็นราคาขายต่ำกว่าทุนของบริษัทหรือไม่) ใช้อัตรา 110-120 กก. ต้นทุนหัวพันธุ์ที่คัดเก็บเองชั่วที่ 2 หรือ 3 ราคาประมาณ 5-7 บาท/กก. สำหรับพ่อค้าขายส่งบางราย อาจไม่จำหน่ายหัวพันธุ์แก่เกษตรกรชาวเขาโดยตรง แต่ใช้วิธีให้หัวพันธุ์ไปปลูกแล้วส่งหัวมันคืนในอัตรา 1:3 ถ้าปลูกในฤดูฝนต้องมีการฉีดพ่นยาเคมีสม่ำเสมอ (ประมาณ 7-10 ครั้งต่อฤดูปลูก) จำเป็นต้องมีการจ้างแรงงานในการปลูก กำจัดวัชพืชและเก็บเกี่ยว (รวมทั้งขนส่งออกจากแปลงไปยังจุดรวบรวมจำหน่าย) ถ้าเป็นการจ้างแรงงานทั้งหมด การปลูกบนที่สูงต้องใช้แรงงาน 15 คน อัตราค่าแรงวันละ 30 บาท และการปลูกในที่ราบ ต้องใช้แรงงาน 75 คน อัตราค่าแรงวันละ 40 บาท (ต่อไร่/ฤดูปลูก)
ผลตอบแทน
ผลกำไรขึ้นอยู่กับราคารับซื้อ (โดยเฉพาะพันธุ์ Spunta) ซึ่งไม่มีการประกันราคาไว้ การผลิตปีที่แล้ว เกษตรกรได้กำไรสูงเพราะราคาตลาดสูง สำหรับปีปัจจุบัน สถานการณ์ควรเป็นปกติ
ผลตอบแทนต่อวันทำงาน
ผลตอบแทนต่อวันทำงานของเกษตรกรในการผลิตบนที่สูงค่อนข้างดี คำนวณจากกำไรเบื้อต้นหารด้วยแรงงานครอบครัว 21 วัน (จำนวนวันทำงานทั้งหมด 36 วัน เป็นการจ้างแรงงานเสีย 15 วัน) สำหรับการผลิตในที่ราบเป็นการจ้างแรงงานทั้งหมด และคำนวณต้นทุนค่าจ้างแรงงานแล้ว จึงไม่มีการคำนวณผลตอบแทนต่อวันทำงานของแรงงานครอบครัวเกษตรกร
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ไม่ให้ทำการปลูกมันฝรั่งตามหลังพืชตระกูลเดียวกัน (พริก พริกยักษ์ มะเขือ และยาสูบ) เกษตรกรไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะทำงานในแปลง เพราะเชื้อไว้รัสจากพืชอาจติดมือเกษตรกรแล้วถ่ายทอดสู่ร่างกายได้ ควรส่งเสริมระบบปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการสะสมเชื้อโรคในดิน สำหรับการปลูกในพื้นที่นาจะมีปัญหาโรคพืชน้อยกว่า เนื่องจากสภาพน้ำขังช่วยลดการขยายตัวของเชื้อโรคในดิน
การตลาด
มีความต้องการมันฝรั่งเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูปสูงมาก โดยบริษัทผู้ผลิตมันฝรั่งแปรรูปต่างๆ ได้ขยายห้องเย็นเก็บมันฝรั่งที่อำเภอฝางและที่จังหวัดลำพูน แนวโน้มตลาดมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคนไทยเริ่มนิยมบริโภคอาหารฝรั่งตามร้านแบบฟาสต์ฟูดมากขึ้น
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
เพลี้ยอ่อน (Aphids) เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น ใบม้วน (Leaf roll) ช่วยควบคุมได้โดยฉีดพ่น อโซดริน (Azodrin) หรือ ทามารอน (Tamaron) หรือควบคุมโดยวิธีธรรมชาติ อาศัยแมลงศัตรูธรรมชาติเป็นประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worms) เข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นอ่อน จนอายุพืชได้ 45 วัน โดยกัดโคนต้นมันฝรั่งระดับคอดิน ควบคุมได้โดยฉีดพ่น ฮอสตาไธออน (Hostathion) และแลนเนท (Lannate) บริเวณโคนต้นเมื่อพบการทำลาย
หนอนผีเสื้อเจาะหัว (Potato tuber moth) ทำลายตลอดระยะเวลาดูแลรักษา โดยเจาะทำลายเป็นโพรงภายในหัวมันฝรั่ง เป็นปัญหามากต่อหัวมันที่ทำการเก็บรักษา(ทั้งในโรงเก็บบนที่สูงและในที่ราบ) เนื่องจาก ตัวผีเสื้อกลางคืน จะวางไข่ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวหรือในระยะเก็บเกี่ยว ซึ่งไข่จะเจริญเติบโตเป็นตัวหนอนในช่วงทำการเก็บรักษา ทำให้พืชผลเสียหายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลา 3-15 วัน หลังนำมันฝรั่งเข้าไว้ในโรงเก็บ ควบคุมปัญหาได้ โดยการฉีดพ่นยา อโซดริน (Azodrin) เซฟวิน (Sevin) พอส์ส (Posse) และใช้สารออร์โมนเพศล่อตัวอ่อนหนอนผีเสื้อให้ติดกับดัก
เพลี้ยไฟ(Thrips) พบมากในฤดูร้อนเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น โรคเหี่ยวเป็นหย่อม (Spotted wilt) อาจควบคุมปัญหาได้โดยการฉีดพ่น พอส์ส, ทามารอน, แลนเนท และโทกุไธออน (Tokuthione) ทุกๆ 7 วัน
โรค
โรคที่ทำความเสียหายมากได้แก่ โรค Late blight เกิดจากเชื้อราชื่อ Phytophthora infestans โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพดินฟ้าอากาศชุ่มชื้นและเย็น มันฝรั่งที่เป็นโรค ใบจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เหี่ยวย่น แล้วเน่าเสียหาย และในที่สุดต้นจะตาย ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่น ไซเนบ (Zineb) มาแนบ (Maneb) ไรโดมิล (Ridomil) หรือ แอพรอน (Apron) (ไม่เกิน 3 ครั้งต่อฤดูปลูก) โรค black leg เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นปัญหามากในสภาพอากาศชื้น ทำให้ผลผลิตเสียหายตกต่ำ สังเกตจากใบม้วนตัวเหี่ยว แล้วเฉาเป็นสีเหลือง แผลที่หัวมันฝรั่งจะช้ำ ชุ่มน้ำและมีกลิ่นเน่าเหม็น ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น โคแมค (Comac) และบาวิสติน (Bavistin) ทุกๆ 7 วัน โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium ทำให้ใบเหี่ยวเหลืองจนพืชชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด พบได้ทุกระยะ สังเกตได้จากลำต้นพืชซึ่งติดโรคจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีแผลที่หัวมันฝรั่งลักษณะวงกลมสีน้ำตาลเช่นกัน ควบคุมโดยทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้งเสียและฉีดพ่น โคแมค หรือป้องกันการแพร่เชื้อ โดยแช่หัวพันธุ์ในน้ำยาเบนเลท หรือ แคปแทน ก่อนนำไปปลูก โรคใบม้วน (Potato Leaf roll) มีเพลี้ยอ่อน เป็นตัวพาหะแพร่เชื้อ ทำให้ผลผลิตเสียหายตกต่ำมาก สังเกตได้จากอาการพืชชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นตั้งตรง ใบบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค จะเป็นพุ่มหนา ใบม้วนตัวเข้าข้างใน ควบคุมป้องกันได้โดยทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้งเสีย และฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม พอส์ส ทามารอน และอโซดริน
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่)


การใช้แรงงาน เป็นข้อมูลสำหรับการปลูกบริเวณ 1 ไร่ในสภาพที่สูงเท่านั้น


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเตรียมวัสดุเพาะชำ
การเลือกหัวพันธุ์เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าจะให้ได้ผลผลิตดี นำหัวพันธุ์วางเรียงบนพื้นหรือกะบะเพาะให้ถูกแสงแดดเป็นระยะเวลา 7-10 วัน จนตางอกออกมา ถ้าตางอกเฉพาะส่วนบนของหัว เร่งให้งอกได้อีก โดยผ่าหัวมันเป็นซีกตามยาว น้ำหนักซีกละ 30-50 กรัม ให้แต่ละซีกมีตางอก 2-3 ตา เพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูก แช่หัวพันธุ์ในน้ำยา เบนเลท และแคปแทน 5-10 นาที ปล่อยผึ่งบนพื้นในที่ร่ม 1-2 ซม. และนำไปปลูก
ข้อควรระวัง
เกษตรกรมักพยายามลดต้นทุนโดยการผ่าหัวพันธุ์ เป็นชิ้นละตาเดียว ซึ่งทำให้มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งต้น โอกาสที่ผลผลิตเสียหายมีมาก เพราะถ้าที่ปลูกเกิดติดเชื้อโรค ต้นจะตาย ไม่ได้ผลผลิต แต่ถ้าผ่าหัวให้มีอย่างน้อยสองตา โอกาสที่พืชเจริญเติบโตต่อไปยังมีอยู่ แม้ตาหนึ่งจะเป็นโรคตายไปก็ตาม การผ่าหัวให้มีขนาดใหญ่ อย่างน้อยมีสองตา อาหารสะสมจะมีมาก ทำให้ลงหัวได้มากกว่า
ช่วงการปลูก
ขุดดินทิ้งตากแดดไว้ 14 วัน ใช้จอบขุดหลุมลึก 20 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 80 ซม. และระยะห่างระหว่างหลุม 30 ซม. ดินต้องมีความชุ่มชื้นมากพอที่จะปลูก ก้นหลุมควรพรวนดินให้ร่วนซุย เพื่อให้ลงหัวได้ดี และให้พืชได้รับน้ำเพียงพอ ใส่ยาฟูราดาน ลงหลุมปลูก กลบด้วยดินบางๆ แล้วใส่ปุ๋ย 12-24-12 (15-30 กรัม/หลุม) ขี้วัว (30-50 กรัม/หลุม) กลบดินหนา 5-10 ซม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำหัวพันธุ์ลงปลูกลึก 10 ซม. แล้วกลบดินให้เต็มหลุม รดน้ำให้ชุ่ม
ข้อควรระวัง
1. มันฝรั่งตอบสนองดีเป็นพิเศษต่อปุ๋ยคอก (เช่น ขี้วัวหรือขี้ควาย) ปุ๋ยต้องสลายตัวดีก่อน จึงจะใส่แก่พืชได้ มิฉะนั้นจะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต
2. การปลูกให้ลึกระหว่าง 5-15 ซม. แล้วแต่ความชุ่มชื้นของดิน ถ้าผิวดินค่อนข้างแห้ง ปลูกให้ลึกเพื่อพืชได้รับความชื้นจากใต้ผิวดิน
3. การปลูกต้องให้มีระยะ และความลึกสม่ำเสมอ เพื่อให้พืชลงหัวได้ขนาดเดียวกัน
ช่วงการดูแลรักษา
ปลูกซ่อมภายใน 7-10 วัน กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย 13-13-21 รอบๆ ต้น เมื่อย้ายปลูกได้ 25-30 วัน การใส่ปุ๋ย จะใช้วิธีใส่เป็นแถบ หว่าน หรือฝังใกล้หัวก็ได้
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่