ยาสมุนไพรเถาสิงห์โตทอง(จีน)


ชื่อ
จีนเรียก    กิมไซติ๊ง  ตัวติ๊งซัว  เอ่งไฉ่  หงฮ้วงตึ้ง  แกจื่อเกี้ย  Tinospora capillipes Gagnep.

ลักษณะ
ชอบขึ้นในป่าหรือทุ่งร้าง เป็นพืชไม้เลื้อยและพันกับต้นหวายหรือไม้อื่น ลำต้นเรียวกลมและเหนียว เปลือกไม่เรียบ ใบขึ้นสลับมีก้านใบยาว ประมาณนิ้วกว่า ใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว กว้างประมาณ 1 นิ้ว ขอบใบเรียบ หน้าใบมีขนขึ้นประปราย เอ็นใบขึ้นเด่นชัด ดอกสีขาวขึ้นจากฐานก้านใบ ฤดูฝนและฤดูร้อนออกลูกหลังฝน เมื่อสุกสีแดง

รส
รสขมเผ็ดนิดๆ ธาตุร้อน ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานสามารถไล่ลม แก้ปวด แก้พิษ ใช้ภายนอกสามารถดับพิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงกระเพาะและลำไส้

รักษา
แก้ปวดท้องหวัดร้อน ลงท้อง ลงท้องและอาเจียน เป็นบิด ใช้กายนอกแก้งูกัด ผิวหนังเป็นผื่นฝีเจ็บบวม ฝีตะมอย

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดท้องหวัดร้อน – เถาสิงห์โตทองครึ่งตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดงหรือต้มนํ้าประมาณ 1 ตำลึง แล้วใส่เกลือ รับประทาน
2. ลงท้องหวัดร้อน – เถาสิงห์โตทองตากแห้ง 3 เฉียน ต้มใส่น้ำตาลแดง
3. ปวดท้องลงท้อง -เถาสิงห์โตทองตากแห้ง 3 เฉียน ต้มนํ้าใส่เหล้านิดหน่อยหรือต้มกับหญ้าดอกตูบ  และไผ่หยอง ไผ อย่างละครึ่งตำลึง ต้มน้ำใส่เกลือนิดหน่อย
4. ปวดท้องเป็นบิด – เถาสิงห์โตทองตากแห้ง 3 เฉียน  ต้มนํ้ารับประทาน
5. งูกัด – เถาสิงห์โตทองตากแห้งครึ่งตำลึงดองเหล้าครึ่งชั่ง ต้มอุ่นกินครั้งละตะไล หรือใส่บัวครึ่งซีก (พระจันทร์ครึ่งซีก) 1 ตำลึง ต้มด้วยกัน ชงเหล้ารับประทาน
6. ผิวหนังผื่นแผลบวมเจ็บ – เถาสิงห์โตทองตากแห้งบดผงกินกับเหล้า
7. ฝีตะมอยนิ้วมือ -เถาสิงห์โตทองแห้งบดผง ผสมนํ้ามันชาทา

ปริมาณใช้
ใบใช้สดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช