สมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน

สมุนไพร

เนื่องจากการใช้สมุนไพรมีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยประหยัด เหมาะสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งการคมนาคมไม่สะดวก ช่วยลดดุลย์การค้าในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอนาคตเมื่อมีสถานการณ์สงคราม เป็นต้น รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพร และได้กำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรอย่างจริงจังขึ้น ได้ริเริ่มในแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5 โดยผนวกเข้ากับงานสาธารณสุขมูลฐาน ในช่วงปี พ.ศ. 2527-2529 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการนำร่องขึ้นคือ โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน โดยความช่วยเหลือขององค์การยูนิเซฟ ในพื้นที่เป้าหมาย 25 จังหวัด มีการดำเนินงานสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร 7 ด้านคือ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการอบรม ด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ด้านศึกษาและวิจัย ด้านการปลูกและกระจายพันธุ์ ด้านการผลิต และกระจายตำรับ และด้านนิเทศและติดตามผล ผลการดำเนินงานของโครงการฯก่อให้เกิดความสนใจสมุนไพรในระดับกว้าง และเกิดมิติใหม่ที่น่าสนใจคือโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยบางแห่ง เช่น โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โรงพยาบาลสังคม จ.หนองคาย โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น จ. ปราจีนบุรี โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จ. พิษณุโลก สถานีอนามัยเก้าเลี้ยว จ. นครสวรรค์ และสถานีอนามัยมาบปลาเค้า จ. เพชรบุรี เป็นต้น มีการใช้สมุนไพรที่มีข้อมูลรายงานว่ามีสรรพคุณดีและปลอดภัยกับผู้ป่วยในการบริการสาธารณสุข ทำให้เกิดภาพการใช้สมุนไพรอย่างจริงจัง และส่งผลให้ประชาชนในชุมชนเกิดความนิยมสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

จากสภาวะการณ์ดังกล่าวข้างต้น กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นว่า โรงพยาบาลชุมชนเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับประชาชน มีศักยภาพ มีความคล่องตัวในด้านบริหารจัดการ มีความพร้อมด้านกำลังคน กำลังเงิน และด้านวัสดุอุปกรณ์พอสมควร ทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้ความสนใจในการพัฒนางาน สมุนไพรอย่างดียิ่ง ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมมือกับ German Agency for Technical Cooperation หรือ GTZ ซึ่งเป็นหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ในการจัดทำโครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน (The Project of Basic Health Service Making Use of Traditional Medicinal Herbs) หน่วยงานรับผิดชอบคือ สำนักงานคณะ กรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองวิจัยทางแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2528-2531)

โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐานดังกล่าวได้เน้นการนำสมุนไพรมาใช้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และในชุมชน โดยมีพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด คือ ปราจันบุรี พิษณุโลก นครราชสีมา ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช โดยประกอบด้วยโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง สถานีอนามัย 7 แห่ง หมู่บ้าน 100 หมู่บ้าน โรงพยาบาลดังกล่าวได้แก่ รพ.วังนํ้าเย็น อำเภอ วังนํ้าเย็น จังหวัดปราจีนบุรี รพ.บางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัด พิษณุโลก รพ.สูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รพ.พล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น และรพ.ทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การคัดเลือกสมุนไพรที่ควรส่งเสริมให้ใช้ในชุมชนนั้นก็นับว่ามีความสำคัญไม่น้อย สมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้กันทั่วไปมีทั้งสมุนไพรเดี่ยวๆ และสมุนไพรหลายชนิดซึ่งเตรียมในรูปยาตำรับ สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ที่ส่งเสริมโดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นการใช้สมุนไพรเดี่ยว จึงต่างกับการใช้ยาสมุนไพรตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการรักษาคนไข้ทั้งตัวและมักใช้ยาเป็นตำรับประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรเดี่ยวๆ นั้นมีการยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากกว่า ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลจากผลการวิจัยสนับสนุน จึงเป็นการสมควรที่จะเลือกใช้ในช่วงแรกๆ ของการพัฒนายาจากสมุนไพรต่อไปควรคัดเลือกสมุนไพรตำรับที่น่าสนใจ เพื่อนำมา ศึกษาวิจัย และส่งเสริมให้ใช้ในโอกาสต่อไป

สมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ ว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ พญาปล้องทอง และ ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรแต่ละชนิดมีการใช้ดังนี้

ชื่อสมุนไพร

ส่วนที่ใช้

อาการที่ใช้สมุนไพรรักษา

รูปแบบยาเตรียม

ว่านหางจระเข้

เมือกจากใบ

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ใช้ทาสดๆ

 

ขมิ้นชัน

เหง้า

ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ลูกกลอน

ชุมเห็ดเทศ

ใบ

ท้องผูก

ยาชง ลูกกลอน

พญาปล้องทอง

(เสลดพังพอนตัวเมีย)

ใบ

แมลงสัตว์กัดต่อย

ทิงเจอร์

ฟ้าทะลายโจร

ใบ

เจ็บคอ

ลูกกลอน

 

สมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐานที่กระทรวงสาธารณสุขเคยแนะนำให้ประชาชนใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรคเบื้องต้น มีจำนวน 66 ชนิด ได้แก่

ลำดับ

ชื่อสมุนไพร

ข้อบ่งใช้

1

กะเพรา

แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน

2

กระเทียม

แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้กลากเกลื้อน

3

กระวาน

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

4

กระเจี๊ยบแดง

ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว

5

กระทือ

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

6

กระชาย

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

7

กล้วยน้ำว้า

แก้ท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ

8

กานพลู

ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดฟัน

9

ข่า

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และแก้กลากเกลื้อน

10

ข้าวกล้อง

บำรุงร่างกาย

11

ขิง

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ

12

ขลู่

ขับปัสสาวะ

13

ขมิ้นชัน

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ แก้ฝี แผลพุพอง และอาการอักเสบเนื่องจากแมลง สัตว์กัดต่อย

14

ขี้เหล็ก

ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยให้นอนหลับ และช่วยระบายท้อง

15

คำฝอย

บำรุงสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเลือด แก้อักเสบ

16

คูน

แก้ท้องผูก

17

ชุมเห็ดเทศ

แก้ท้องผูก แก้กลากเกลื้อน แก้ฝี และแผลพุพอง

18

ชุมเห็ดไทย

แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ

19

ดีปลี

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไอ ขับเสมหะ

20

ตำลึง

แก้แพ้ แก้อักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อย

21

ตะไคร้

ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ

22

เทียนบ้าน

แก้ฝี แผลพุพอง

23

ทองพันชั่ง

แก้กลากเกลื้อน

24

ทับทิม

แก้ท้องเดิน แก้บิด

25

น้อยหน่า

ใช้ฆ่าเหา

26

บอระเพ็ด

แก้ไข้ แก้การเบื่ออาหาร

27

บัวบก

แก้แผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก แก้ฟกช้ำ

28

ปลาไหลเผือก

แก้ไข้

29

ฝรั่ง

แก้ท้องเดิน

30

ผักบุ้งทะเล

แก้อักเสบ แก้แพ้เนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อยโดยเฉพาะพิษแมงกะพรุน

31

เพกา

แก้ร้อนใน แก้ไอ ขับเสมหะ

32

พญาปล้องทอง

แก้อักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม งูสวัด

33

พลู

แก้กลากเกลื้อน แก้ผื่นคันเนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ

34

ไพล

แก้เคล็ด ขัด ยอก ไล่ยุง

35

ฟักทอง

ฆ่าพยาธิลำไส้

36

ฟ้าทะลายโจร

แก้ท้องเดิน แก้เจ็บคอ

37

มะเกลือ

ถ่ายพยาธิ

38

มะขาม

ฆ่าพยาธิ แก้ท้องผูก

39

มะขามแขก

แก้ท้องผูก

40

มะคำดีควาย

แก้ชันนะตุ

41

มะนาว

แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

42

มะพร้าว

แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

43

มะแว้งเครือ

แก้ไอ ขับเสมหะ

44

มะแว้งต้น

แก้ไอ ขับเสมหะ

45

มะละกอ

ช่วยย่อย ช่วยระบายท้อง

46

มะหาด

ฆ่าพยาธิลำไส้

47

มังคุด

แก้ท้องเดิน แก้บิด

48

ถั่วพู

ช่วยบำรุงร่างกาย

49

ถั่วเหลือง

ช่วยบำรุงร่างกาย

50

ยอ

แก้คลื่นไส้อาเจียน

51

ย่านาง

แก้ไข้

52

เร่ว

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

53

เล็บมือนาง

ยาถ่ายพยาธิ

54

ว่านหางจระเข้

แก้โรคกระเพาะ แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

55

สะแก

ถ่ายพยาธิ

56

สับปะรด

ขับปัสสาวะ

57

เสลดพังพอน

แก้แพ้ แก้อักเสบเฉพาะที่ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

58

สีเสียดเหนือ

แก้ท้องเดิน

59

หญ้าคา

ขับปัสสาวะ

60

หญ้าหนวดแมว

ขับปัสสาวะ

61

แห้วหมู

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

62

อ้อยแดง

ขับปัสสาวะ

63

คำแสด

ใช้แต่งสีอาหาร

64

เตย

ใช้แต่งสีอาหาร

65

ฝาง

ใช้แต่งสีอาหาร

66

อัญชัน

ใช้แต่งสีอาหาร

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขได้มีการทบทวนรายชื่อสมุนไพร สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยตัดรายการสมุนไพรที่ไม่มีรายงานยืนยันเกี่ยวกับสรรพคุณทางเภสัชวิทยาและการศึกษาทางคลินิก ตลอดจนสมุนไพรที่มีรายงานว่ามีผลข้างเคียงออก เช่น ปลาไหลเผือก สะแก และเพิ่มรายการ สมุนไพรที่มีประโยชน์รักษาโรค เซ่น แก้ว ผักคราดหัวแหวน และข่อยเพื่อใช้แก้ปวดฟัน แมงลักแก้ท้องผูก มะระขี้นกและสะเดาบ้านใช้แก้อาการเบื่ออาหาร ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงให้ใด้สมุนไพรที่เหมาะสมที่จะแนะนำให้ประซาซนใช้บำบัดรักษาโรคยิ่งขึ้น โดยจัดรายการสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน ออกเป็นกลุ่มตามประโยซน์ที่นำมาใช้เพื่อการรักษาอาการของโรคต่างๆ