ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยส์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต แต่ละบ้านมักจะมียาที่จำเป็นบางชนิดไว้ติดบ้านเพื่อใช้ในยามที่สมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ สิ่งไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น มีอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด ไอ แมลงสัตว์กัดต่อย หรือใช้ยาดังกล่าวเพื่อบรรเทาอาการก่อนไปพบแพทย์ ยาที่ควรมีไว้ประจำบ้านมักเรียกว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ซึ่งมีทั้งยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน และยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ แต่ที่ นิยมใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน

ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ควรประกอบด้วยยาต่างๆ ดังนี้

1. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น แอสไพริน และพาราเซทตามอล

2. ยาแก้ท้องเดิน เช่น ยานํ้าเคาลิน-เพคติน เกลือ ORS (Oral Rehydra­tion Salts)

3. ยาแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เช่น ยาธาตุนํ้าแดง

4. ยานํ้าขับลม

5. ยาเม็ดลดกรด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เช่น ยาเม็ดโซดามินต์

6. ยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซีย หรืออาจมียาเหน็บทวารเช่น ยาเหน็บกลีเซอรีน

7. ยาแก้ไอขับเสมหะ เช่น ยาแก้ไอนํ้าดำ ยาขับเสมหะแอมมอน-สควิล

8. ยาแก้แพ้ แก้คัน เช่น คลอเฟนนิรามีน

9. ยาบรรเทาอาการผด ผื่น คัน เช่น คาลาไมน์โลชั่น

10. แอลกอฮอล์ล้างแผล

11. ยาใส่แผลสด เช่น ทิงเจอร์ธเมอร์โรซอล

12. ขี้ผึ้งใส่แผลฆ่าเชื้อ เช่น ขี้ผึ้งเตตราไซคลิน

13. ขี้ผึ้งทาแก้ปวดบวม

14. เวชภัณฑ์ เช่น สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ แบนเอด เป็นต้น

รายการทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นรายการยาทั่วๆ ไปที่ควรมีติดบ้าน สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ละชนิดราคาไม่แพง หรือถ้าสมาสิกในครอบครัวมีจำนวนน้อย ก็อาจซื้อยาตำราหลวงขององค์การเภสัชกรรมไว้ใช้ก็ได้ ยาตำราหลวงประกอบด้วยยาพื้นๆ ที่จำเป็น เช่น ยาธาตุนํ้าแดง ยาเม็ดโซดามินต์ ทิงเจอรฝิ่นการบูร ยาแก้ไอนํ้าดำ ยาเม็ดแอสไพริน ยาหยอดตา ยาขี้ผึ้งแก้ ปวดบวม ยาใส่แผลสด สำลี ผ้าพันแผล เป็นต้น

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้นั้นมีอยู่ 16 ตำรับ ตำรับที่ใช้กันบ่อยๆ ในหมู่บ้าน ได้แก่

ยาเขียวหอม ใช้แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายนํ้า แก้พิษหัดอีสุกอีใส

ยาหอมนวโกฐ ใช้แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ลม บำรุงประสาท ยาเหลืองปิดสมุทร ใช้แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องเดิน ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ

ยาตรีหอม แก้เด็กท้องผูก

ยาจันทลีลา แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด

ยาประสะไพล แก้ลมจุกเสิยด แก้แน่น ขับนํ้าคาวปลา

ยาธาตุบรรจบ แก้ธาตุพิการ ท้องเดิน เป็นต้น ตำรับที่ได้รับ

ความนิยมมากที่สุดคือ ยาเหลืองปิดสมุทร และยาแก้ไอประสะมะแว้ง

ปัจจุบันในหมู่บ้านต่างๆ มักมีกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ประชาชนมียาที่จำเป็นไว้ใช้ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังขาดแคลนยาที่จำเป็น ยาที่ใช้ในขณะนี้ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดุลย์การค้าเป็นจำนวนมาก ประชาชนมีปัญหาในการใช้ยาไม่ถูกต้องและบริโภคยาบางชนิดเกินความจำเป็น ปัญหา ดังกล่าวอาจลดลงได้ โดยการนำเอาสมุนไพรซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง ในด้านยารักษาโรค หากประชาชนเกิดความนิยมในการใช้ยาสมุนไพรและมีความรู้ที่ถูกต้อง จะส่งผลให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองในด้านยาพื้นฐานที่จำเป็นได้ และยังช่วยลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันได้บางส่วนอีกด้วย สมุนไพรที่สนับสนุนให้ประชาชนใช้รักษาโรคนั้นมักเป็นสมุนไพรเดี่ยวๆ สมุนไพรดังกล่าวมักใช้รักษาโรคพื้นๆ และเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันโดยทั่วไป ให้ผลในการรักษาได้ดี ไม่มีพิษหรือทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้น้อย ตัวอย่างเช่น กะเพรา ตะไคร้ ขิง ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฟ้าทะลายโจรใช้แก้เจ็บคอ วุ้นจากใบว่านหางจระเข้ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นต้น