ยาสูบ

ยาสูบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่านิโคทิน่า ทาบาคุ๊ม (Nicotina tabacum ) อยู่ในตระกูลโซลานาซี่ (Solanaceae)

ต้นยาสูบเป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ ๑ เมตร ใบโตหนาและมีขึ้นตามต้นและใบ ดอกออกเป็นช่อปลายยอดสีขาวชมภูอ่อนงามน่าดูมาก ต้นยาสูบมีหลายพันธุ์ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ที่ปลูกมากทางภาคเหนือหลังฤดูเกี่ยวข้าว

ใบยาสูบมีสรรพคุณใช้เป็นยาตามความเชื่อของแพทย์แผนโบราณ ใช้ยาสูบอย่างฉุนจัดๆ ผสมปูนแดง และในเนียมกวนเป็นยานัตถุ์แก้หวัดคัดจมูก ยางสีดำในกล้องสูบยาใช้แต้มแผลแก้หิดได้ดีมาก หรือนำมาเคี่ยวกับนํ้ามันทารักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด เนื่องจากภายในใบยาสูบมีสารพวกอัลคลอลอยด์ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ

ในทางเกษตรกรรม เนื่องจากภายในใบยาสูบมีสารอัลคลอลอยด์นิโคตีนผสมกับสบู่อ่อน ในน้ำร้อยเท่า ทำเป็นยาพ่นฉีดฆ่าแมลงต่างๆ ในไร่ได้ผลดี เช่น เพลี้ย แต่ยานี้มีพิษค่อนข้างแรงถ้าถูกผิวหนังจะซึมเข้าไปเป็นพิษ ต้องระวังในการใช้ให้มาก

ภายในใบยาสูบประกอบด้วยอัลคลอลอยด์นิโคตีน มีลักษณะเป็นน้ำมันเหลวๆ สีขาว หรือสีเหลือง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ในอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล มีรสเผ็ดร้อนแสบ ถ้าถูกผิวหนังจะเกิดความระคายเคือง สารนิโคติน (nicotine) นี้มีในใบยาสูบประมาณ ๐. 6-9% นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารที่มีกลิ่นเรียกว่า นิโคติเอนีน (nicotianin) หรือ การบูนยาสูบ (tobacco camphor) ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ

เนื่องจากมีสารเหล่านี้ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในสมัยก่อนจึงใช้ยาสูบเป็นยา ทำให้หลับ (narcotic), ระงับประสาท (nerve sedative), ขับเหงือ (diaphoretic) และทำให้อาเจียน (emetic properties) แต่ปัจจุบันยาสูบมีการค้นพบว่ามีสารที่จะให้เกิดพิษต่อร่างกาย เกิดการเสพติดทำให้ประสาทส่วนกลางหัวใจ ทำงานไม่ดีพอ ความจำเสื่อม มือสั่น ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออกมากผิดปกติ ถ้าสูดควันยาสูบมากจะมีส่วนไปทำให้สีของเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนไป ๒๕%

บุหรี่ ได้จากใบยาสูบหั่น กระดาษสำหรับมวนและน้ำมันดิบ (tar)

ผู้ติดบุหรี่มักจะมีอาการไอ มีอาการแหบแห้งในลำคอ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในปอด และนักสูบบุหรี่ทั้งหลายมักต้องจบชีวิตลงก่อนถึงวัยอันควรด้วยโรคหัวใจ โรคปอดชนิดเนื้อพองลม (emphysema) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจากก๊าซพิษที่ได้จากการอัดและพ่นควันออกมาอย่างมีความสุขเพลิดเพลินที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ในมวนบุหรี่มีก๊าซต่างๆ ถึง ๑๒ ชนิด ชนิดที่ร้ยแรงมีอยู่ ๓ ชนิด คือ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO), ไฮโดรไซยาไนด์ (CN) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) สาเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปอดอันเกิดจากน้ำมันดิบ (Tar) ในบุหรี่ถึงสามเท่า

คาร์บอนมอนน๊อกไซด์ ( CO ) เป็นก๊าชพิษชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ที่พบจากมวนยาสูบ คาร์บอนมอนน๊อกไซด์เมื่อผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วจะเข้าไปแทนที่อ๊อกซิเจนที่ฮีโมโกลบิ้น (haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดง เกิดเป็นคาร์บ๊อกซี่อีโมโกลบิ้น (Carboxy- haemoglobin = COHb ) เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ปริมาณของคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิ้นในเม็ดเลือดของคนธรรมดาที่ไม่ได้สูบบุหรี่จะมีประมาณ ๐.๕-๒.๐% สำหรับในคนที่สูบบุหรี่จะมีคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของบุหรี่และประมาณการสูบของคนๆ นั้น เฉลี่ยแล้วจะมีปริมาณคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกบิ้นประมาณ ๔-๑๕% ปกติถ้ามีคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบ็น อยู่ในช่วง ๒-๕% จะทำให้การเห็น การทรงตัวและความไวต่อเสียงลดลง และถ้ามีเพียง ๑๐% จะทำให้ความสามารถในการเห็นภาพ และแสงไฟเสียไป ๒๕% การเห็นจะลดลงตามปริมาณของคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิ้นที่เพิ่มขึ้น จนในที่สุดจะมองไม่เห็นอะไรเลย จะเห็นว่าคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและสมองอย่างมาก ในกรณีพนักงานในเครื่องบินที่สูบบุหรี่หรือที่ได้รับคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ก่อนเครื่องบินออก คารบ๊อกซีฮีโมโกลบิ้นในเลือดจะเพิ่มเป็นสองเท่าเมื่อเครื่องบินขึ้นสูงมากๆ ถ้าสูงถึง ๗,๕๐๐ ฟุต จะทำให้คาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิ้นในเลือดสูงถึง ๒๐% หรืออาจมากกว่านี้ นั่นคือความสามารถในการมองเห็นภาพ และแสงไฟเสียไปมาก อาจถึงขนาดมองไม่เห็น เนื่องจากความสูงยิ่งสูงความกดดันยิ่งตํ่าลง ซึ่งทำให้คาร์บอนมอนน๊อกไซด์มีผลต่อหัวใจมากยิ่งขึ้น

คาร์บอนมอนน๊อกไซด์มีผลทำลายผนังเส้นเลือด พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัดๆ ที่มีคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิ้นประมาณ ๕% มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดอุดตัน ( Atherosclerosis ) มาก คาร์บอนมอนน๊อกไซด์อาจมาจากท่อไอเสียของรถ และในอากาศเสียก็ได้

เนื่องจากในยาสูบมีสารที่จะทำให้ต่อมหมวกไต (adrenalgland ) และกล้ามเนื้อหัวใจปล่อยสารที่จะไปกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดโลหิตแรงกว่าปกติ เมื่อหัวใจสูบฉีดแรงเลือดก็ต้องการ อ๊อกซิเจนมาก เมื่อร่างกายสูดเอาคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เข้าไป คาร์บอนมอนน๊อกไซด์จะเข้าไปแทนที่อ๊อกซิเจนในเลือด นั่นคือสาเหตุของโรคหัวใจ

ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ ( N02 ) และไฮโดรไซยาไนด์ (HCN) เกิดจากการสูบบุหรี่ เป็นก๊าซที่เป็นเหตุสำคัญของโรคปอด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคเนื้อพองลม ( emphysema) และเป็นที่มาของโรคมะเร็ง ส่วนผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคที่กล่าวมาแล้วเพียง ๑๐%

ก๊าชต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสารเคมีในยาสูบขึ้นกับการดูดควันบุหรี่ ปกติการดูดควันบุหรี่เข้าไปครั้งหนึ่งควรใช้เวลานานเพียง ๒ วินาทีเท่านั้น แต่นักสูบบุหรี่ส่วนมากมักสูบเร็ว และดูดลึก ซึ่งทำให้อัตราการเผาไหม้ของบุหรี่ไม่คงที่เป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในยาสูบ ทำให้ได้รับก๊าชคาร์บอนมอนน๊อกไซด์มากกว่าปกติ จากการทดลองพบว่า การสูบสุบหรี่โดยวิธีดังกล่าว ก้นกรองไม่ค่อยมีความหมายเท่าใดเลย

นิโคติน (Nicotine) เป็นสารในใบยาสูบ การเผาไหม้บุหรี่ทำให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้

น้ำมันดิบ (Tar) มีอยู่ในบุหรี่ เมื่อสูบเข้าไปจะเข้าไปอยู่ที่ ผนังปอด และหลอดลม เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบ และโรคมะเร็งในปอด สมาคมค้นคว้าโรคมะเร็งแห่งอเมริกา ได้วิเคราะห์นักสูบบุหรี่ประมาณสองแสนคนพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่นี้มีชนิดน้ำมันดิบและนิโคตินสูง จะเสียชีวิตในระยะ ๒๐ ปี ซึ่งตายเร็วกว่าพวกที่สูบบุหรี่ชนิดที่มีนํ้ามันดิบและนิโคตินต่ำหรือปาน กลาง

จากการทดลองพบว่าถ้าปริมาณน้ำมันดิบและนิโคตินในบุหรี่ ปริมาณของคาร์บอนมอนน๊อกไซด์จะต่ำด้วย แต่อย่างไรก็ตามหากการสูบบุหรี่ไม่ถูกวิธีจะทำให้ผู้สูบได้รับก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เข้าไปมากกว่าที่ควร

สมัยก่อนบุหรี่จะมีนํ้ามันดิบและนิโคตินมาก ถ้าจะให้มีอันตรายที่สุดจะสูบได้อย่างมากไม่เกินวันละ ๓ มวน (ปี ๑๙๕๕)

ปัจจุบันได้มีการลดปริมาณน้ำมันดิบและนิโคตินลงต่ำมาก คือ บุหรี่ ๑ มวน จะมีปริมาณน้ำมันดิบอย่างมาก ๒ มก. และนิโคตินอย่างมาก ๐.๒ มก. ในปริมาณนี้สามารถสูบได้วันละสองซองครึ่ง แต่นี่ก็เป็นการยอมเอาสุขภาพเข้าเสี่ยงกับการที่จะอัดและพ่นควันบุหรี่เล่นเพลินๆ บุหรี่บางมวนมีสารพิษน้อยจริง แต่บุหรี่มวนที่ปลอดภัยที่สุดคือ บุหรี่มวนที่ไม่ได้สูบเลย เพราะความไม่แน่นอนของสารพิษที่มีอยู่ในบุหรี่ จากการวิเคราะห์บุหรี่ใน อเมริกาพบว่า บุหรี่ก้นกรองชนิดที่มีน้ำมันดิบและนิโคตินต่ำ กลับให้ก๊าชพิษออกมามากกว่าบุหรี่ไม่มีก้นกรองและน้ำมันดิบสูง

สรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์บุหรี่ในอเมริกาได้ว่า บุหรี่ก้นกรองชั้นนำกลับให้ก๊าซพิษทั้งสามชนิดมากกว่าบุหรี่ไม่มีก้นกรอง

ฉะนั้น ถึงแม้ท่านจะเลือกสูบบุหรี่ชนิดที่มีน้ำมันดิบน้อยหรือ ชนิดที่มีก๊าซพิษน้อย หรือชนิดที่มีนิโคตินน้อย หรือชนิดที่มีทั้งน้ำมันดิบและนิโคตินน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เอาสุขภาพร่างกายของท่านไปเสี่ยงอันตรายต่อความเพลิดเพลินชั่วขณะหนึ่ง เพราะจากสถิติการศึกษาจากการผ่าตัดศพนักสูบบุหรี่จะเสียชีวิตด้วยโรคปอคถึง ๙๕.๕% และพบอีกว่าไม่มีใครเลยที่สูบบุหรี่อย่างน้อยวันละซองจะรอดพ้นจากโรคมะเร็งไปได้

นักสูบบุหรี่นี้เสียชีวิตเนื่องจากมะเร็งในปอด เพิ่มจาก ๓.๔% เป็น ๓๗.๕% ต่อปี โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเพิ่มจาก ๒.๑% เป็น ๒๕% ต่อปี โรคหัวใจและเลือดเพิ่มจาก ๑.๕% เป็น ๑๐% ต่อปี

ดังนั้นผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไปเท่ากับท่านกำลังวิ่งเข้าหลุมฝังศพเร็วขึ้น

จากการศึกษากลไกการกำจัดของเสียของปอด ที่สำคัญมี ๒ ชนิด คือ

๑. ซีเลีย (cilia) เป็นเส้นใยคล้ายขนแผ่เป็นแผ่นอยู่ตามหลอดลม เมื่อสูดควันบุหรี่เข้าไป ซีเลียจะทำหน้าที่ปัดกวาดหลอดลมอย่างรวดเร็ว เอาสิ่งสกปรกออกไปตามหลอดลม ซึมไปตามลำคอเป็นเสมหะ ถ้าซีเลียถูกทำลายลงจะเกิดการสะสมสิ่งสกปรกที่มาจากควันบุหรี่ตามบริเวณผิวหลอดลมที่ไม่มีซีเลียปกคลุม เซลที่ถูกทับถมบริเวณนั้นจะสร้างเซลที่ไม่สมประกอบขึ้นมาเป็นระยะแรกของโรคมะเร็งในปอด (Carcinoma in Situ)

สารที่สำคัญที่ทำให้ซีเลียไม่ทำงานคือ ก๊าซไฮโดรไซยาไนด์ ถ้ามีการสกัดเอาก๊าซพิษนี้ออกจากควันบุหรี่ได้ ซีเลียก็สามารถทำงานต่อไปได้

๒. แม็กโครฟ๊าก (macrophages) เป็นเซลสีขาวที่เป็นเหมือนช่องสูญญากาศ ช่วยดูดฝุ่นที่อยู่บริเวณผนังด้านในปอดและย่อยฝุ่นละออง ที่ปะปนมากับลมหายใจและลำเลียงออกไปทางหลอดลมพร้อมกับเหมือกเหนียวๆ บริเวณหลอดลมหรืออาจติดไปกับท่อน้ำเหลือง แล้วถูกขับออกจากปอด

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองในปอดของกระต่ายพบว่าก๊าซไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์เป็นสารทำให้เซลแม๊กโรคฟ๊ากมีความสามารถทำลายเชื้อโรคได้น้อยลง

ดังนั้นถ้าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เข้าไปในปอดมาก อาจทำให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อถุงลมในปอด เป็นเหตุใหเกิดโรคเนื้อพองลม (emphysema)