ย่านาง

ย่านาง

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ เถาย่านาง จ้อยนาง เถาเขียว เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี เครือเขางาม วันยอ ย่านนาง ยานนาง

ชื่ออังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacord tnandrd Diels

วงศ์ Menispermaceae

ย่านางเป็นไม้เถา มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ยอดจะแทงขึ้นมาจากดินเป็นกระจุก ซึ่งจะเจริญไปเป็นเถายาว เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา เถาแก่จะเกลี้ยง ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปรี ผิวเรียบมัน ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ออกตามง่ามใบ ผลกลมโต ผลแก่จัดมีสีออกส้มๆ

ส่วนที่ใช้เตรียมสี ใบสด

สารสำคัญ

ใบ ยังไม่มีรายงานสารสำคัญ แต่มีรายงานว่าไม่ก่อให้เกิดพิษอย่างเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง

ราก มีแอลคาลอยด์หลายชนิด เช่น ทีเลียโครีน (tiliacorine), ทีเลียโครินีน (tiliacorinine),นอร์ทิเลียโครินีน (nor-tiliacorinine) เป็นต้น

ย่านาง

ประโยชน์

1. ใบสดใช้ปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารภาคเหนือ

และภาคอีสาน นิยมใช้แต่งสีเขียวในอาหารคาวเช่น แกงลาว แกงอ่อม ซุปหน่อไม้ ต้มเปรอะ นอกจากจะช่วยแต่งสีเขียวแล้วยังช่วยทำให้นํ้าแกงข้นมากขึ้นด้วย

2.ในตำรายาไทยใช้ราก ลำต้น ใบ แก้ไข้ ถอนพิษ และแก้เบื่อเมา

วิธีเตรียมสีเขียวจากใบย่านาง

ใช้ใบสดที่ล้างสะอาด โขลกให้ละเอียด เติมนํ้าเล็กน้อย คั้นเอา นํ้ากรอง จะได้น้ำสีเขียวใช้ผสมอาหาร

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ใช้แต่งสีเขียวในอาหารอีก เช่น

ใบพริก อาจใช้ใบพริกขี้หนูหรือใบพริกชี้ฟ้าก็ได้ ใช้แต่งสีเขียว

ในแกงเขียวหวาน โดยใช้ใบพริกสดที่ล้างสะอาด ตำปนกับนํ้าพริกแกงเขียวหวานจะทำให้นำพริกมีสีเขียว สารที่ทำให้มีสีเขียวก็คือ คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ในใบพริกนั่นเอง

ใบมะตูม ใช้แต่งสีเขียวและแต่งกลิ่นแกงบวน โดยใช้ใบมะตูมสดตำปนกับเครื่องแกงที่จะต้มแกงบวน