รางจืด

รางจืด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ธันเบอร์เจีย ลอริโฟเลีย (Thunbergia laurifolia. Linn.) อยู่ในตระกูล อะแคนธาซี่(Acantliaccac ) รางจืดบางท้องถิ่นเรียกไปต่างๆ กันคือ ภาคเหนือ หนามแน้, น้ำแน่, ปังกะละ ยะลาเรียก คาย ปัตตานีเรียก ดูเหว่า ภาคกลางเรียกรางจืด ยาเขียว กำลังช้างเผือก

รางจืดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น พบตามป่าทั่วไป ใบสดสีเขียวแก่ออกตรงข้ามเป็นคู่รูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ มีเส้นกลางใบและเส้นข้างใบ ๓ เส้น ในมาเลเซียเชื่อว่าใบรางจืดคั้นเอาน้ำดื่มแก้ประจำเดือนผิดปกติ และเอาใบตำพอกแก้ปวดบวม ดอกออกเป็นช่อ ห้อยลงตามง่ามใบช่อละ ๓-๔ ดอก มีสีฟ้า ขาว และม่วง ผลเป็นฝักเมื่อแก่จะแตกเป็น ๒ ซีก

ต้นสร้อยอินทนิลที่มีชื่อว่า ธันเบอร์เจีย แกรนดิฟลอร่า (T. grandiflora, Roxb) มีดอกลักษณะคล้ายต้นรางจืดมาก แต่สร้อยอินทนิลมีดอกห้อยเป็นช่อยาวมาก ใบสากมีเส้นกลางใบ ๕- ๗ เส้น รูปใบลักษณะห้าแฉก

แพทย์แผนโบราณเชื่อว่า รากและเถารางจืดปรุงเป็นยาถอนพิษ พิษเบื่อเมา พิษไข้ และรับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ และเชื่อว่ารากรางจืดเข้ายารักษาโรคอักเสบและปวดบวม

สรุปสรรพคุณ

ในมาเลเซียเชื่อว่าในรางจืดแก้ประจำเดือนผิดปกติ แก้ปวดบวม

แพทเยแผนโบราณเชื่อว่า รากและเถารางจืดเป็นยาถอนพิษไข้ พิษเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ

รากเข้ายาโรคอักเสบและปวดบวม