สมุนไพรจีน:ลักกักเอ็ง


ชื่อ
จีนเรียก   ลักกักเอ็ง  โทวแห่โทเช่า โหว่ลี่บ้วย ลิ่วเจี่ยวอิง ถู่เซี่ย ถูเฉ่า หูหลีเหว่ย Justicia procumbens Linn.

ลักษณะ
ขึ้นตามเนินดินในสวน หรือริมทาง คันนา เป็นต้น เป็นพืชล้มลุก ไม่มีชื่อไทย ลำต้นมักเลื้อยตามดิน แตกกิ่งก้านแผ่ไปทั่ว ยาวประมาณ 1 ฟุต และรากขึ้นตามข้อเมื่อจดดิน ลำต้นสีเขียวใบไม้ มีขนขึ้นตามลำต้น ตามลำต้นมีเส้นนูนขึ้น ตามยาวหกเส้น ใบคู่รูปกลมรี ยาวไม่ถึงนิ้ว ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นที่ตัวใบ ออกดอกเป็นช่อยาวเป็นพวง มีกลีบดอกคล้ายหางสุนัข ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว คล้ายดอกแฮ่โกเช่า ดอกสีม่วงเล็กๆ สี่กลีบ

รส
รสเฝื่อนแกมขนนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแก้ร้อนใน ดับพิษ แก้คัด ใช้ภายนอกแก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับ

รักษา
ร้อนในเจ็บคอ ผู้หญิงเจ็บนม คัดอกเนื่องจากถูกกระแทก เด็กเป็นโรค
ทราง ฝีตุ่มตามลำคอ ปอดเลือดออก ใช้ภายนอกดับพิษ รักษาฝีพุพองเจ็บ

ตำราชาวบ้าน
1. ร้อนในเจ็บคอ-ลักกักเอ็ง 1 ตำลึง ต้มนํ้า หรือลักกักเอ็ง 1 ตำลึง และ โทงเทง   ครึ่งตำลึง ยาเย็น  1 ตำลึง ต้มด้วยกัน รับประทาน
2. คัดอกและซี่โครง เนื่องจากถูกกระแทก-ลักกักเอ็ง 1 ตำลึง ตำจนแหลก แล้วตุ๋นเหล้ารับประทาน
3. เด็กเป็นทราง-ลักกักเอ็ง ตากแห้งบดเป็นผง หนัก 3 เฉียน ต้มกับตับหมู รับประทาน
4. ฝีตามลำคอฝีมะคำร้อย-ลักกักเอ็ง และฮุงติ่งเท้า  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกวยแชะ รับประทาน
5. ปอดเลือดออก-ลักกักเอ็ง 1 ตำลึง ต้มปอดหมู รับประทาน
6. ผู้หญิงเจ็บนม-ลักกักเอ็ง และหมอน้อย  อย่างละ 1 ตำลึง ตำกับเหล้า บีบเอานํ้ารับประทาน
7. ผิวหนังเป็นฝีแผลเป็นพิษ-ลักกักเอ็ง    และหมอน้อย อย่างละ 2 ตำลึง ตำจนแหลกผสมกับเหล้าใช้ทาหรือพอก
8. ผิวหนังเป็นฝีแผลพุพอง-ลักกักเอ็ง 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน  ส่วนกากตำกับนํ้าตาลแดง หรือเหล้าใช้ทาหรือพอก

ปริมาณ
รับประทานสด ไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกิน 3 เฉียน ใช้ภายนอก กะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน