ลักษณะของผักโหมลาย


ตือกัวไฉ่

ชื่อ
จีนเรียก   ตือกัวไฉ่  โอหมิ่งเช่า  แช่กึงโอ  Dichiptera chinensis (Vahl.) Nees.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามทุ่งนอกบ้าน ในสวน ที่ใกล้ส้วมสาธารณะ ริมทาง ที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุกอยู่ได้หลายปี ลำต้นเขียวคลํ้า สูงฟุตกว่าๆ ลำต้นเป็นเหลี่ยม แยกกิ่งที่โคนต้น ใบคู่ รูปกลมแหลม ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ก้านใบสั้นมาก ชอบใบเรียบ ออกดอกฤดูร้อนและฤดูฝน ปริจากโคนกิ่งของใบ ดอกมีก้านสั้นๆ ออกดอกเป็นพวง พวงละ 2-5 ดอก เรียงกันเป็นตับ คล้ายพัดด้ามจิ๋ว กะเปาะดอกสีแดงแกมม่วง กลีบม้วนเป็นกระบอก มีเมล็ดเป็นพันธุ์

รส
มีรสขมนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
แก้พิษ ประสะเลือดให้เย็น สามารถดับความร้อนในลำไส้ ใช้ภายนอก ถอนพิษ ระงับบวม ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและตับ

รักษา
หวัดร้อน ตัวร้อน ไอเพราะปอดร้อน บ้วนเป็นเลือด ตาแดงตาเจ็บตาบวม อุจจาระเป็นเลือด บิดลงแดง ใช้ทาพอกแก้ผิวหนังเป็นตุ่มฝีพุพองเป็นพิษ ฝีที่ก้น สุนัขกัด

ตำราชาวบ้าน
1. เป็นหวัดตัวร้อน – ผักโหมลาย หมากดิบนํ้าค้าง  อย่างละ 1 ตำลึงต้มด้วยกันรับประทาน หรือผักโหมลาย ใบบัวบกอย่างละ 1 ตำลึง ต้มกับใบบัว 1 ใบ รับประทาน
2. ไอเพราะปอดร้อน -ผักโหมลาย และยาเย็น อย่างละ 1 ตำลึงพร้อมว่านกาบหอย  5 ใบต้มใส่กวยแชะ รับประทาน
3. บ้วนเป็นเลือด – ผักโหมลาย 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
4. เจ็บตา ตาแดง ตาบวม – ผักโหมลาย 1 ตำลึง ต้มกับมันแกว รับประทาน
5. อุจจาระเป็นเลือด บิดลงแดง – ผักโหมลาย 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่น้ำผึ้ง รับประทาน
6. ผิวหนังเป็นตุ่มฝีพุพองเป็นพิษ ฝีที่ก้น – ใช้ผักโหมลายตำกับนํ้าตาลแดง พอกหรือทา
7. ประสะเลือดให้เย็นดับพิษ – ผักโหมลาย 1 ตำลึง ชงน้ำผึ้ง รับประทาน
8. ฝีที่ก้น -ผักโหมลาย ตำกับมะแว้งนก  ใช้พอก
9. สุนัขกัด – ผักโหมลาย หัวต้นกล้วย ตำด้วยกันแล้วพอกที่แผล

ปริมาณใช้
ใช้ทั้งต้นทั้งใบสดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอ
ประมาณ

ข้อควรรู้
ไฟธาตุลำไส้และกระเพาะอ่อนไม่ควรรับประทาน หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช