ลักษณะของหญ้าขมใบย่น(จีน)


ชื่อ
จีนเรียก    เยี่ยวหมิ่งโควเช่า  Teucrium viscidum Bl.

ลักษณะ
ชอบเกิดตามทุ่ง ลานในหมู่บ้าน ริมคู เป็นพืชยืนต้นหลายปี ลำต้นและใบมีขนขึ้นประปราย ลำต้นเป็นเหลี่ยมขึ้นตรง สูงประมาณฟุตเศษๆ ใบคู่ มีก้านใบยาวพอสมควร ใบรูปไข่ปลายแหลมยาวประมาณ 1-2 นิ้ว เอ็นหน้าใบเด่นชัด ขอบใบรูปฟันเลื่อย ออกดอกหน้าร้อนถึงหน้าฝน ขึ้นตามฐานใบ สีแดงรูปคล้ายลิ้น ขนขึ้นเต็ม เมื่อขยี้ใบจะรู้สึกมีนํ้าเมือกเหนียว ออกลูกกลมรูปไข่เล็กๆ

รส
รสเฝื่อน ขม ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ดับร้อนใน ประสะเลือดให้เย็น ขจัดความคัด ใช้ภายนอกแก้ร้อนแก้บวม ฤทธิ์เข้าสู่ปอดและตับ

รักษา
อุจจาระเป็นเลือด ใช้พอกแก้หญิงเจ็บนม แก้ผิวหนังเจ็บบวม เป็นตุ่มฝี บวม พอง ตะมอยเล็บมือ สุนัขกัด

ตำราชาวบ้าน
1. อุจจาระเป็นเลือด-ใช้ราก 1 ตำลึง ต้มนํ้า ชงด้วยนํ้าผึ้งรับประทาน
2. ผู้หญิงเจ็บนม – ใช้ทั้งต้น 1 ตำลึง ตำกับเหล้าเอานํ้าต้มรับประทานตอนนํ้าอุ่นๆ ส่วนกากใช้พอก หรือต้มนํ้าแล้วชงกับเหล้า รับประทาน
3. ผิวหนังพุพองร้อนเจ็บ-ใช้ทั้งต้นตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก
4. ตุ่มหรือฝี- ใช้ทั้งต้นตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก
5. ผิวหนังบวมพอง-ใช้ทั้งต้นตำกับส่าเหล้า แล้วพอก
6. ตะมอยเล็บมือหรือเล็บเท้า – ใช้ทั้งต้นตำกับเหล้า แล้วพอก
7. สุนัขกัด – ใช้หนัก 1 ตำลึง ตำกับเหล้า แล้วพอกที่แผล

ปริมาณใช้
ใช้ต้นสดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกิน 5 เฉียน (ครึ่งตำลึง) ใช้ภายนอกกะ พอประมาณ

ข้อควรรู้
คนผอมแห้งแรงน้อยและหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช