ลำเท็ง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Stenochlaena palustris (Burm.f.) Bedd.
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรงสวน ผักยอดแดง ผักกูดแดง ผักกูดมอญ (กลาง)
ลำมะเท็ง (ประจวบฯ, นครราชสีมา) ปากุ๊มะดิง (มลายู-ใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชพวกเฟิน ลำต้นยาว แตกกิ่งแยกแขนง เลื้อยคลุมพื้นดินและพืชอื่นมีรากเกิดที่ลำต้นสำหรับยึดเกาะต้นไม้อื่น


ใบ ใบประกอบ เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง 15-30 ซม. ยาว 30-70 ซม. ก้านใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 20-30 ใบ เรียงสลับ รูปรีเรียวแคบ ก้านสั้น ขนาดของใบย่อยไม่แน่นอน กว้าง 3 ซม. ยาว 15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยักไม่เป็นระเบียบมีหนามแหลมคมที่ปลายหยัก เส้นใบตรง ขนาน กันเป็นระเบียบ ใบย่อยสร้างสปอร์รูปเรียวแคบ ขนาดไม่แน่นอน กว้าง 0.3 ซม. ยาว 20 ซม. ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์ สีนํ้าตาลปกคลุมเต็มพื้นที่ ยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบและขอบใบ
นิเวศวิทยา พบตามริมห้วย ริมคลอง ป่าพรุที่มีความชื้นตลอดปี ป่าดิบชื้น และพบขึ้นพันต้นไม้ใหญ่
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน นำมาต้มรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก นำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหวาน
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย