ลูกซัด

ลูกซัด

ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ  –

ชื่ออังกฤษ Fenugreek

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tngonella foenum-graecum Linn.

วงศ์ Leeuminosae

ลูกซัด เป็นพืชพื้นเมืองแถบประเทศยุโรป เช่น สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี ต่อมาแพร่มายังอินเดีย ไทย จีน และญี่ปุ่น ลูกซัดมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Fenugreek หรือ Greek Hay Seed

ลูกซัดเป็นพืชล้มลุกสูงประมาณ 30 – 60 ซ.ม. ใบเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ขอบใบหยัก ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน คล้ายดอกถั่วฝักยาว 3-15 ซ.ม. ในฝักมีเมล็ด 10-20 เมล็ด เมล็ดแก่มีสีนํ้าตาลอ่อน มีร่องตรงกลาง

ส่วนของลูกซัดที่นำมาใช้คือส่วนเมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ชาวอียิปต์ใช้ผสมแป้งเพื่อทำขนมปัง ในสวิสเซอแลนด์ใช้ผสมเนยแข็ง ชาวอัฟริกาใช้เมล็ดลูกซัดคั่วผสมในกาแฟ ในสหรัฐอเมริกาใช้ลูกซัดแต่งกลิ่นแทน Maple Syrup สำหรับประเทศไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ คนไทยใช้นํ้าต้มลูกซัดและเปลือกต้นชะลูดต้มผ้าให้ผ้าแข็งจัดกลีบได้และมีกลิ่นหอม ทั้งนี้เพราะในลูกซัดมีสารเมือกที่ทำให้ผ้าแข็งตัวขึ้นเงา นอกจากนี้ลูกซัดยังมีประโยชน์ในทางยาโดยมีฤทธิ์ฃับลม ช่วยเจริญอาหาร ใช้เป็นยาพอกฝี แผล แก้อาการบวมและแก้อักเสบ ได้มีการนำเมือกในเมล็ดลูกซัดไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น อาบมันกระดาษ ใช้ผสมในการตอกยาเม็ดเพื่อให้เม็ดยาแตกตัวดีขึ้น

สารสำคัญ เมล็ดลูกซัดประกอบด้วยนํ้าตาลกาแลคโทแมนแนน กาแลคโทส แมนโนส โปรตีน และนํ้ามันหอมระเหย

ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดกลิ่น นอกจากนี้ยังพบแอลคาลอยด์ตริโกเนลลีน(trigonelline) สเตียรอยด์ไดออสเจนิน (diosgenin) และกาโมเจนิน (gamogenin) เป็นต้น