วงจรชีวิตของไผ่

การออกดอก

(Flowering)

และวงจรชีวิต

(Life cycle)

ต้นไผ่ส่วนมากออกดอกครั้งเดียว หลังจากออกดอกแล้วก็จะตายทั้งกอในปีเดียวกันนั้น หรืออย่างช้าก็อาจจะอยู่ ได้ราว 1-2 ปี ภายหลังการออกดอกเท่านั้น การตายของต้นไผ่ชาวบ้านเรียกว่า “ตายขุย” แต่พอถึงฤดูฝน ขุย(เมล็ด) ไผ่นี้จะแตกเป็นต้นเล็กๆ ขึ้นมาอีกต่อไป ถ้าสภาพเหมาะสม แต่มีไผ่บางชนิดที่หลังจากออกดอกออกผลแล้วก็ไม่ตาย และก็มีบางชนิดแต่หายากที่ออกดอกทุกปี หรือเกือบทุกปี โดยทั่ว ๆ ไปแล้วช่วงของการออกดอกของต้นไผ่กินระยะเวลานานมากและไม่แน่นอน สาเหตุของการออกดอกยัง เป็นเรื่องที่ลึกลับที่ต้องวิจัยศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ระยะตั้งแต่การเริ่มงอกของเมล็ดไผ่ไปจนกระทั่งตายขุย คือวงจรชีวิต (Life cycle) หรือที่เรียกว่า “ระยะตายขุย” FOA. ได้ทำสถิติวงจรชีวิตของไม้ไผ่พันธุ์ต่าง ๆ ไว้ ดังต่อไปนี้

Arundinaria Falcata.(ตระกูลไผ่จีน)   28-30 ปี

Bambusa arundinacea (ไผ่ป่า) 32 ปี

Chysquea abietifolia 32 ปี

Dendrocalcamusstrictus (ไผ่ซาง, ไผ่นวล) 32 ปี

Bambusa tulda (ไผ่บง) 35-40 ปี

Melocanna bambusoides 45 ปี

Bambusa polymorpha (ไผ่หอม) 60 ปี

Phyiiostachys nigra 60 ปี

ส่วนไผ่ในประเทศไทยยังไม่ปรากฏหลักฐานการค้นคว้ามาก่อน จึงไม่อาจจะทราบได้ว่า ไผ่ชนิดใดมีช่วงอายุประมาณเท่าใดจึงจะออกดอก แต่เป็นที่น่ายินดียิ่งที่ไม้ไผ่ในประเทศไทยมีการออกดอกแบบประปรายเป็นส่วนใหญ่ ออกดอกไม่พร้อมกัน มิฉะนั้นแล้วอาจจะทำให้ไม้ไผ่เหล่านั้น สูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้น ถ้ามิได้มีการเอาใจใส่บำรุงรักษาอย่างถูกหลักวิธีเช่นในต่างประเทศ

ในประเทศไทยปกติไผ่จะเริ่มออกดอกราว ๆ เดือน พฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ และเมล็ดเริ่มแก่และร่วงหล่น ลงสู่พื้นดินในเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายนของทุก ๆ ปี