วิธีปลูกและเครื่องปลูกหน้าวัว

การปลูกหน้าวัว ต่างกับการปลูกไม้ดอกชนิดอื่นเพราะการเจริญเติบโตต้นจะโตสูงข้น และทิ้งใบล่างดังกล่าวแล้วข้างต้น วิธีการปลูกหน้าวัวจึงควรปลูกต้นให้อยู่ภายในกระถาง กล่าวคือหลังจากรองอิฐที่รูระบายน้ำกันกระถาง แล้ว ควรใส่เครื่องปลูกประมาณ 1/5 กระถาง จึงนำต้นหน้าวัวางบนเครื่องปลูก ให้ต้นอยู่กลางกระถาง จัดรากให้แผ่กระจาย ควรระวังอย่าให้รากหัก เพราะรากหน้าวัวที่ active มักจะหักง่าย จากนั้นจึงเติมเครื่องปลูกรอบ ๆ โคนต้น ยึด ลำต้นให้แน่น อย่าให้ต้นคลอนแคลน และอย่าใส่เครื่องปลูกจนกระทั่งทับยอดหน้าวัว เพราะจะทำให้ยอดเน่าและเมื่อต้นเจริญเติบโตขึ้น ใบล่างจะร่วงหล่นไป ลำต้นจะสูงพ้นเครื่องปลูก ส่วนรากจะเกิดออกจากลำต้นใต้ใบเสมอ ทำให้ รากเจริญเหนือเครื่องปลูกขึ้นเรื่อย ดังนั้น จึงควรเติมเครื่องปลูกให้เครื่องปลูกอยู่ต่ำกว่ายอดเล็กน้อย

กระถางที่ใช้ปลูกหน้าวัว ควรเลือกขนาดให้เหมาะกับต้นที่ปลูก เช่นต้นเล็กควรใช้กระถางเล็ก ต้นใหญ่ควรใช้กระถางใหญ่ จากการทดลองพบว่า การปลูกหน้าวัวในกระถางนั้นได้ผลดีกว่า การปลูกในแปลง เพราะการปลูกในกระถางนั้น การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศได้สะดวกกว่าปลูกในแปลง หน้าวัวเป็นพืชที่มีรากแบบ ad­ventitious root ดังนั้น สภาพที่มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี ทำให้เหมาะกับการเจริญของรากหน้าวัว ต้นเจริญเติบโตให้ผลิตผลดี ดังนั้น เครื่องปลูกที่ใช้ปลูกหน้าวัวจึงควรเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติที่โปร่ง มีการระบายน้ำดี และต้องเก็บความชื้นได้ดี หาง่าย ราคาถูก สะอาดไม่มีเชื้อโรคและทนทานไม่ผุง่าย ถ้าวัสดุปลูกผุง่ายจะเสียเวลาในการเติมเครื่องปลูกหน้าวัว เพราะเครื่องปลูกจะยึดต้นหน้าวัวไว้ไม่ให้คลอนแคลนและยังเป็นสิ่งที่เก็บความชื้น นอกจากนี้เครื่องปลูกบางชนิดยังให้อาหารกับราก ทำให้หน้าวัวมีการเจริญเติบโตดี ในเรื่องเครื่องปลูกนี้ จึงมีผู้ทดลองเพื่อหาเครื่องปลูกที่เหมาะสมกับการปลูกหน้าวัว ในต่างประเทศใช้ peat moss + sphagnum moss + ใบไม้ผุ ในอัตรา 3: 1 : 1 และนำมาผสมกับทรายหยาบและถ่านก้อนเล็ก ๆ และอิฐ ใช้ได้ผลดี ที่ฮาวายทดลองใช้ขี้กบและปุ๋ยคอกในอัตราต่าง ๆ กัน ปรากฎว่า ใช้ขี้กบและปุ๋ยคอกในอัตรา 5 : 1 ใช้ได้ผลดีกว่าอัตราอื่น ในประเทศไทยเมื่อปี 2499 ที่ภาควิชาพืชศาสตร์ (พืชสวน) ทดลองหาเครื่อง ปลูกที่หาได้ง่าย ราคาถูก เช่นพวกถ่าน ทราย อิฐมอญ ใบไม้ผุ ฯลฯ มาทดลองปลูกหน้าวัว ปรากฎว่าเครื่องปลูกที่ใช้ใบไม้ผุ ใบก้ามปู ผสมกับอิฐในอัตรา 2 : 1 ใช้เป็นเครื่องปลูกได้ผลดีที่สุด ต่อมาได้ทดลองอีกในปี 2509-2510 โดย ใช้เครื่องปลูกที่ดี จากผลการทดลองที่นำมาประยุกต์ แล้วทดลองปลูกหน้าวัวดู เปรียบเทียบ กันว่าเครื่องปลูกชนิดใดให้ผลดีที่สุด การทดลองครั้งนี้ได้ใช้เครื่องปลูก 4 อย่างด้วยกันคือ อิฐมอญอย่างเดียวเป็นตัวเปรียบเทียบ เพราะในประเทศไทยใช้อิฐเป็นเครื่องปลูกที่นิยมกันมากอย่างกว้างขวางอย่างเดียวเท่านั้น เครื่องปลูกชนิดที่สองใช้ขี้กบผสมกับปุ๋ยคอกที่เก่าแล้ว ในอัตรา 5 : 1 ซึ่งเอาผลการทดลองที่ดีที่สุดของฮาวายมาลองดู ชนิดที่สามใช้เปลือกถั่วผสม ปุ๋ยคอกในอัตรา 5 : 1 เพราะเปลอกถั่วเป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากในเมืองไทย ทั้งยังไม่ต้องเสียเวลา ทุบเหมือนกับอิฐ ซึ่งอิฐนับวันจะยิ่งมีราคาแพง และเสียแรงงานในการทุบ ชนิดที่สี่ อิฐมอญผสมกับใบก้ามปูแห้ง ผสมปุ๋ยคอกในอัตรา 1 : 2 : 1 ปรากฎว่า การใช้เครื่องปลูกที่มีส่วนผสมอิฐใบก้ามปู ปุ๋ยคอกในอัตรา 1 : 2 : 1 ดีที่สุด เพราะรากที่เกิดขึ้นใหม่มีจำนวนมากกว่า ต้นหน้าวัวที่ปลูกในเครื่องปลูกชนิดอื่น และราก ที่เกิดขึ้นใหม่นี้มีความสมบูรณ์ดีมาก ขนาดใหญ่ เจริญเร็ว ทั้งนี้เพราะส่วนประกอบของเครื่องปลูกดังกล่าวทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในการช่วยทำให้รากหน้าวัวเจริญเติบโตดี ดังนั้น จึงยึดลำต้นไม่ให้คลอนแคลนได้ง่าย และยังอมความชื้นไว้ได้สูงอีกด้วย ส่วนใบก้ามปูและมูลเป็ด มีธาตุอาหารที่ต้นนำไปใช้ได้เร็ว ทั้งนี้เพราะส่วนผสมของใบก้ามปูเก่าแล้ว ช่วยเก็บความชื้นไว้ได้ดีมากและโปร่งพอที่อากาศจะถ่ายเทได้สะดวก ส่วนการเจริญเติบโตของต้นในเครื่องปลูกชนิดนี้ ลำต้นอวบใหญ่ ต้นแข็งแรง การเจริญไม่สม่ำเสมอ ใบใหญ่แผ่กว้างสีเขียวเป็นมัน มีจำนวนใบเกิดขึ้นมากกว่าชนิดอื่น ขนาดใหญ่ แต่ใ เครื่องปลูกชนิดนี้มีข้อเสียคือเครื่องปลูกจะยุบตัวเร็ว และทุกครั้งที่เครื่องปลูกยุบตัวพืชจะชะงักการเจริญทันที และจะเกิดขึ้นทุกประมาณ 4 เดือน ดังนั้น ต้องคอยหมั่นเติมเครื่องปลูกให้อยู่สภาพเดิมเสมอ ส่วนเครื่องปลูกที่ผสมเปลือกถั่วและปุ๋ยคอกในอัตรา 5 : 1 ในระยะแรก การเจริญเติบโตของต้นและรากสู้เครื่องปลูกผสมใบก้ามปูไม่ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเปลือกถั่วยังไม่สลายตัว แต่หลังจาก 6 เดือนแล้ว การเจริญของต้นหน้าวัวไล่เลี่ยกับเครื่องปลูกผสมใบก้ามปู เครื่องปลูกชนิดนี้อมความชื้นได้พอประมาณ แต่มีการถ่ายเทอากาศน้อยกว่า เพราะไม่มีอิฐเป็นโครง ดังนั้นการเจริญของรากและจำนวนรากที่เกิดใหม่จึงน้อยกว่า ดังนั้นจึงควรเพิ่มอิฐ อีก 1 ส่วนในส่วนผสมนี้ ส่วนเครื่องปลูกที่ประกอบด้วยขี้กบกับปุ๋ยคอก การเจริญเติบโตของรากช้า ทั้งนี้เพราะระยะแรกเครื่องปลูกโปร่ง ไปจนขาดความชื้น แต่เมื่อหลัง 5 เดือนแล้ว เครื่องปลูกชนิดนี้กลับจับตัวกันแน่น การระบายน้ำและอากาศไม่ดี ทำให้การเจริญเติบโตของรากไม่ดี ส่วนเครื่องปลูกที่ใช้อิฐเพียงอย่างเดียวนั้น เครื่องปลูกชนิดนี้เบา การยึดลำต้นไม่ดี ใบมีสีเหลืองและแคระแกร็น หน่อที่เกิดขึ้นแกร็นตามไปด้วย มีการเจริญเติบโตช้า รากเจริญ เติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ รากยึดเครื่องปลูกแน่น เพราะอิฐเก็บความชื้นได้ แต่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดังนั้นเครื่องปลูกชนิดนี้จึงสู้เครื่องปลูกผสมใบ ก้ามปู อิฐ ปุ๋ยคอก หรือเปลือกถั่วผสมปุ๋ยคอกไม่ได้

สรุปแล้วเครื่องปลูกที่เหมาะในการปลูกหน้าวัว ควรมีคุณสมบัติดังนี้ คือ เก็บรักษาความชื้นได้ดี มีการถ่ายเทอากาศได้พอเหมาะ ยึดราก และต้นหน้าวัวได้ดี และมีอาหารให้กับหน้าวัว ไปใช้ได้ทันที ประการสุดท้าย หาง่าย ราคาถูก

โรงเรือน

หน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดประมาณ 30% หรือได้รับประมาณ 70-75% จึงต้องมีการพรางแสงให้หน้าวัว ถ้าไม่พรางแสงให้ใบจะไหม้ ต้นหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงต้องมีการปลูกสร้างโรงเรือนให้แก่หน้าวัว ในเรื่องโรงเรือนหน้าวัว ถ้าสร้างให้ร่มเกินไป ใบหน้าวัวจะมีการเจริญเติบโตดี ใบสีเขียวเข้ม หนา แต่ดอกไม่ดก ในเรื่องการให้แสงแก่หน้าวัวนี้ ได้ทดลองปรากฎผลว่า ปลูกหน้าวัวในโรงเรือนที่ได้แสง 33% หรือให้ร่ม 67% แล้ว หน้าวัวให้ ดอกมากกว่าหน้าวัวที่ได้รับแสงเพียง 25% ใน เรื่องของแสงที่ให้แก่หน้าวัวนี้อาจสังเกตว่า หน้าวัวได้รับแสงมากไปหรือน้อยไป กล่าวคือ ถ้าแสงมากไป ใบจะเหลือง ขอบใบแห้ง ถ้าแสงน้อยไปใบจะไม่กางออกเต็มที่ ใบมีสีเขียวจัด ดังนั้น เมื่อสังเกตหน้าวัวมีลักษณะใด ต้องรีบแก้ไขเรื่องโรงเรือนให้เหมาะกับความต้องการของหน้าวัว คือถ้าใบมีลักษณะเขียวจัด ไม่ค่อยมีดอก ต้องรีบเอาวัสดุพรางแสงออกเสียบ้าง แต่ถ้าหน้าวัวเริ่มขอบใบไหม้ ใบเหลือง ควรหาวัสดุมาพรางแสง ในบ้านเราวัสดุพรางแสงที่หาได้ง่ายคือทางมะพร้าว แต่วัสดุนี้มีข้อเสีย คือผุง่ายและมีหนอนปลอก อาจตกลงมาที่ต้นหน้าวัว จะกัดกินใบหน้าวัวได้ และอีกชนิดหนึ่งคือมู่ลี่ไม้ไผ่มีขายทั่วไป ราคาไม่แพงมาก และทนกว่าใช้ทางมะพร้าว

การสรางโรงเรือนสำหรับหน้าวัว ส่วนมาก มักสร้างเป็นโรงไม้ระแนง แล้วจึงมีวัสดุพรางแสงให้อีกข้างหนึ่ง การตีระแนงให้ตีตามยาว ตามแนวทิศเหนือใต้ ส่วนฝาโรงเรือนทางด้านตะวันออกและตะวันตกให้ตีตามนอน ส่วนทางทิศเหนือให้ตีตามแนวหลังคา ทั้งนี้เพื่อให้แสงเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ไม่ส่องเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งภายในโรงเรือน

ส่วนพื้นที่ใช้วางหน้าวัว ควรให้ชื้นอยู่เสมอ เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง พื้นอาจใช้วัสดุที่อมความชื้น เช่นใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบรองพื้น การวางกระถางที่พื้นดินโดยตรง จะมีไส้เดือนชอบอาศัยอยู่ตามกระถางหน้าวัว จึงไม่สะดวก น้ำมักท่วมเต็มกระถาง ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี รากเน่าในที่สุด ต้นจะตาย พื้นจึงควรเทซีเมนต์ เพื่อตัดปัญหาเรื่อง นี้ ทั้งยังทำความสะอาดได้ง่าย หรือเพื่อให้ระบายน้ำสะดวกยิ่งขึ้น เทซีเมนต์เฉพาะทางเดิน ภายในโรงหน้าวัวเท่านั้น แต่ที่วางหน้าวัวเราอาจจะขุดลงไปในพื้นดินลึกประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1.50 เมตร เพื่อให้สะดวกในการดูแลรักษา แล้วเททรายให้หนาประมาณ 15 ซม. ปรับทรายให้เรียบจึงให้อิฐวางตามยาวในแนวตั้ง เรียงอิฐให้เสมอกัน มิฉะนั้นอิฐจะแตกง่าย จึงเททรายบนอิฐที่วางเรียงกันเรียบร้อยแล้วปรับพื้นให้เรียบ ให้ทรายตกไปตามช่องระหว่างแผ่นอิฐ เพื่อไม่ให้อิฐกระทบกันแตก และเป็นช่องทางระบายน้ำด้วย การใช้พื้นแบบนี้การเก็บความชื้นและการระบายน้ำดีกว่าใช้พื้นซีเมนต์อย่างเดียว แต่การทำความสะอาดพื้นยากกว่า

การให้น้ำ

หน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงมาก การให้น้ำแก่หน้าวัวควรใช้น้ำสะอาดปกติรดน้ำหน้าวัววันละ 2 ครั้ง คือเช้าและเย็น แต่วันที่มีอากาศร้อนควรรดอีกครั้งตอนกลางวัน การรดหน้าวัวแต่ละครั้งควรรดให้ชุ่มทั้งต้นและเครื่องปลูก การให้น้ำหน้าวัวขึ้นอยู่กับจำนวนต้นที่ปลูก ผู้ที่ปลูกจำนวนน้อยมักใช้บัวรด ที่ปลูกมากมักใช้สายยางที่มีหัวฉีดรด และใช้ติด sprin­kle ในโรงเรือน โดยติดแบบ over head water­ing คือหัว sprinkle อยู่เหนือต้นไม้ การให้น้ำแบบ sprinkle นี้ สะดวกสำหรับผู้ปลูกที่ไม่มีเวลามารดน้ำเอง แต่มีข้อเสียคือ การลงทุนสูงและถ้าผู้ปลูกไม่ทราบว่า หัวฉีดต้นทำให้หน้าวัวบางต้นไม่ได้น้ำ ถ้าหลาย ๆ ครั้งเข้า หน้าวัวนั้นอาจตายได้ ดังนั้น การให้น้ำแบบนี้จึงควรระวัง คอยหมั่นตรวจหัว sprinkle อยู่เสมอ ตลอดจนควรเดินดูตามต้นหน้าวัวว่าต้นไหนความแรงของน้ำฉีดไม่ถึงควรรดน้ำให้ด้วย

การใช้ปุ๋ย

การปลูกหน้าวัวในประเทศไทย มักไม่เห็นความสำคัญของการให้ปุ๋ยแก่หน้าวัวนัก จากการสำรวจการปลูกหน้าวัวในจังหวัดกรุงเทพมหามหานคร และบริเวณใกล้เคียงปรากฎว่าผู้ปลูกส่วนใหญ่ไม่ให้ปุ๋ยกับหน้าวัว ทั้งนี้เพราะผู้ปลูกสังเกตเห็นว่า การให้น้ำแต่เพียงอย่างเดียว ต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี บางรายที่ปลูกแขวนกล้วยไม้เหนือต้นหน้าวัว เมื่อใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้ ปุ๋ยบางส่วนตกบนต้นหน้าวัว ๆ ก็ได้รับปุ๋ยเพียงพอแล้ว และผู้ปลูกบางรายใช้ปุ๋ย Nitrophoska ละลายน้ำรดที่โคนต้นเดือนละครั้ง จากการทดลองของภาควิชาพืชศาสตร์ (พืชสวน) เกี่ยวกับการให้ปุ๋ยแก่หน้าวัวพันธุ์ต่าง ๆ ปรากฎผล ว่า การใช้ปุ๋ยสูตร 13.5-27-27 และสูตร 16-21-27 ให้หน้าวัวพันธุ์ดวงสมรทุกสัปดาห์ ทำให้ต้นหน้าวัวมีการเจริญเติบโตและขนาดดอกใหญ่กว่าไม่ใส่ปุ๋ยเลย

จากหนังสือ Horticulture in Hawaii กล่าว ว่าปุ๋ยสูตร 5-10-10, 10-20-20 และ 16-16-16 ใช้ไนอัตรา 200 ปอนด์ต่อเอเคอร์ต่อปี จะให้ผลดี แต่ต้องมีการระวังการให้กับพืช หลังจากให้ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตาม เพราะปุ๋ยอาจทำให้หน้า วัวไหม้ได้ ทางฮาวายนิยมใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้เป็ด ปุ๋ยหมักในอัตรา 2,000-3,000 ปอนด์ต่อ 10 เอเคอร์ แต่ต้องมีการเสริมให้ทุกเดือน หลังจากใช้ปุ๋ยทางใบเดือนละ 1-2 ครั้งก็ได้

การเก็บรักษาดอกหน้าวัว

ในการเก็บรักษาดอกหน้าวัวให้ได้นาน ควรมีการตัดดอกเมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะอยู่ได้ นานที่สุด ดอกหน้าวัวบานเต็มที่สังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของปลีเป็นสีขาว เริ่มจากโคนไปปลายปลี การตัดดอกที่แก่ทั้งปลีจะมีอายุเก็บ ได้นานถึง 27 วัน แต่ถ้าเก็บเมื่อดอกแก่ 3/4 ของปลี เก็บได้นาน 23 วัน แต่ถ้าเก็บเมื่อดอกแก่ 1/2 ของปลี เก็บได้นาน 12 วันเท่านั้น ระยะดอกแก่เต็มที่ สีของจานรองดอกมักด้านไม่ค่อยสวย รองลงมาคือดอกบาน 3/4 สภาพของดอกดีที่สุด ดอกบาน 1/2 ของปลีสีสวย เป็นแต่เก็บไม่ทน หลังจากตัดดอกหน้าวัวแล้ว ควรแช่ไว้ในน้ำที่สะอาด จะช่วยให้หน้าวัวอยู่ได้นานขึ้น ได้มีการทดลองต่าง ๆ เช่น Post 1950 ได้ทำการทดลองใช้ขี้ผึ้ง Flora Wax พ่นเคลือบดอกไม้ ปรากฎว่าใช้ได้ผลดีกับดอกหน้าวัว Kasperski 1957 ได้แนะนำให้ตัดดอกหน้าวัว เมื่อดอกบานเต็มที่แล้ว ผ่าโคนก้านดอก และแช่ในน้ำตลอด คนก่อนนำไปปักแจกัน จะสามารถเก็บได้นาน ถึง 1 เดือน

Watson, 1965 แนะนำให้ใช้มีดที่คมตัด ปลายก้านดอกออก 1/2 นิ้ว แล้วจุ่มดอกให้เปียกอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ห้ามเอาดอกใส่ตู้เย็น จ เก็บได้นาน 2-4 อาทิตย์

Kamemoto, 1962 ได้ทดลองกับหน้าวัว พันธุ์ Kaumana พบว่าดอกที่มีความแก่เต็มที่ อายุเก็บนานถึง 27.2 วัน แต่ถ้าใช้ดอกแก่ 3/4 ของปลี สภาพของดอกจะดีที่สุดสามารถเก็บได้นานถึง 23.9 วัน นอกจากนี้ Kamemoto ได้ ทดลองแบ่งขนาดของดอกหน้าวัวพันธุ์นี้เป็น 4 พวก คือ

ขนาดใหญ่มีความยาว มากกว่า 4 ½  นิ้ว

ขนาดกลางมีความยาว มากกว่า 4 ½ -3 ¾  นิ้ว

ขนาดเล็กมีความยาว มากกว่า 5 ¾  – 3 นิ้ว

ขนาดเล็กมากมีความยาว มากกว่า 3 นิ้ว

ปรากฎว่าดอกที่มีขนาดใหญ่และขนาดกลาง ไม่มีความแตกต่างกันในระยะเวลาการเก็บรักษาดอก คือเฉลี่ยเก็บได้นาน 25 วัน ส่วนพวกเล็ก และเล็กมากเก็บได้เฉลี่ย 20 วัน และในการเก็บรักษาดอกหน้าวัวให้อายุนานไม่จำเป็นต้องทำ Precooling หรือเก็บในตู้เย็นก่อนในระยะสั้น ๆ ส่วนสารเคมีที่ใช้เก็บหน้าวัว Kamemoto ได้ทดลอง Floralife กับพันธุ์ Kanmana และ Nitta พบว่าพันธุ์ Nitta สามารถเก็บได้นาน 46.5 วัน Control อยู่ได้ 26.8 วัน ส่วนพันธุ์ Kaumana เก็บได้เพียง 10.9 วัน ซึ่งแสดงว่าหน้าวัวแต่ละพันธุ์มีความสามารถในการดูดสารละลายไปใช้ได้ไม่เหมือนกัน ควรใช้น้ำฝนแช่ ดอกหน้าวัว