หลักและวิธีสอนวิชาเกษตร

การสอนเป็นทั้งศิลปและวิทยาศาสตร์ ที่อาจจะเป็นเทคนิคเฉพาะตัวหรือสร้างสรรให้เกิดขึ้นมาภายหลังก็ได้ การสอนคนมีเป้าหมายอันสุดท้ายว่าให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์นั้นๆ และสามารถทำให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพหรือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้สอคคล้องกับสิ่งที่พึงประสงค์ได้

ในกระบวนการสอนการเรียนใดๆ ก็ตาม ครูหรือผู้อำนวยการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด และน่าจะกล่าวได้ว่า ครูดีเบ็นศรีแก่ชาติ ครูเก่งกาจชาติมั่นคง และการที่เรา หรือใครจะเป็นครูดีได้นั้นก็ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีก 3-4 ประการคือ

1. มีความรู้ทางวิชาการในสาขาเฉพาะของตนเอง สาขาใกลเคียง และความรู้ทั่วไปดี

2. มีเทคนิคและทำการสอนดี

3. มีคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและมนุษยสัมพันธ์ดี

4. มีความรับผิคชอบ กระตือรือล้น และตรงต่อเวลา

หลักการสอนวิชาเกษตรสำหรับเด็กหรือยุวเกษตรกร

1. ครูควรยึดเด็กเป็นหลัก คือพยายามสอนในสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น

2. ครูควรสอนโดยใช้วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เด็กสนใจและตั้งใจจะเรียนในวิชานั้น ๆ

3. ครูควรส่งเสริมให้เด็กคิดหาเหตุผล และการสร้างสรรค์ โดยการทำกิจกรรมร่วม การทดลอง การแสดงและการอภิปราย

4. ครูควรสอนจากความรู้เดิม แล้วโยงไปสู่ประสบการณ์ใหม่

5. ครูควรจัดบทเรียนให้เหมาะตามฤดูกาล เช่นหน้าฝนควรสอนเรื่องการทำนา และสอนวิธีปลูกแตงโมในระยะปลายฝน

6. ครูควรสอนให้เด็กคิดและทำด้วยตนเอง มอบงานให้เด็กทำเป็นหมู่ หรือเป็นรายบุคคล

7. ครูควรจัดบรรยากาศและอุปกรณ์การสอนให้เหมาะสมน่าเรียน

8. ครูควรเตรียมการสอนมาอย่างดี เช่นเสนอหลักการและทฤษฏีเสร็จก็ตามด้วยภาคปฏิบัติและการวัดผล

หลักการสอนสำหรับผู้ใหญ่

1. ต้องยกย่องและให้เกียรติผู้ฟัง (เกษตรกร) ด้วยความจริงใจ อย่ากล่าวคำใด ๆ ที่จะส่อไปในทางดูหมิ่นดูแคลนหรือตำหนิต่าง ๆ

2. ต้องสอนในสิ่งที่เขาต้องการ และเป็นปัญหาที่สำคัญแท้จริงของเขา และสิ่งที่สอนนั้นควรจะเห็นผลในทางปฏิบัติในระยะเวลาสั้น ๆ

3. ต้องบอกจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจน เช่นเรียนครั้งนี้แล้วต้องตอนไก่เป็น ต้องติดตายางได้

4. ควรสอนในสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม

5. สอนโดยใช้วิธีปฏิบัติจริง หรือเรียนโดยการกระทำ

6. สร้างบรรรยากาศให้เป็นกันเองแบบพี่ป้าน้าอา

7. ใช้วิธีสอนผสมผสานกันหลาย ๆ วิธี เช่นอธิบาย บรรยาย สาธิต คู่กับวัสดุ ของจริงและใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ

8. ผู้ใหญ่ต้องการการแนะแนว และคำแนะนำมากกว่าคะแนนหรือการสอบไล่

ความมุ่งหมายของวิชาเกษตรกรรม

ความมุ่งหมายใหญ่ ๆ ของวิชาเกษตรกรรมมีอยู่ 4-5 ประการด้วยกัน ดังนั้นผู้สอนวิชาเกษตรควรจะได้สอนเพื่อสนองวัตถุประสงค์กว้าง ๆ ดังนี้

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน

2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพืชกรรม

3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสัตวบาล

4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจทางช่างเกษตร

5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจทางเศรษฐศาสตร์เกษตร

หลักการสอนและการวิเคราะห์หลักสูตร

หลักการสอน หรือการสอนที่นั้น่จะต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรและตอบคำถาม 4 ประการข้างล่างนี้ให้ได้คือ

1. สอนทำไม (why) ในการสอนนั้นผู้สอนจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ตัวเองจะสอนเรื่องนี้ทำไม นั้นก็คือผู้สอนจะต้องระบุวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการไว้อย่างชัดแจ้ง เช่น ความต้องการที่พึงประสงค์ทางด้านปัญญาและความคิด (cognitive Domain) ด้านอารมณ์หรือจิตใจ (Affective Domain) และในด้านทักษะหรือประสาท และกล้ามเนื้อ (psychomotor Domain) วัตถุประสงค์มีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วๆไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ ในการสอนที่ดีเราควรจะตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์เชิงพฤตกรรม (Behavioral Objectives) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (B.O.) เป็นวัตถุประสงค์ที่เขียนในรูปของพฤติกรรมว่า ผู้เรียนจะต้องทำอะไร แสดงออกอย่างไร เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นว่าเขาได้เข้าถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการแล้ว

การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องประกอบไปด้วยสิ่ง 3 ประการคือ

1. เงื่อนไข (condition) หรือสถานการณ์ที่กำหนดให้

2. พฤติกรรมที่คาดหวัง หรือเนื้อหาที่ต้องการ เรียกว่า Terminal behavior หรือ Desired behavior

3. เกณฑ์ (criteria) คือมาตรฐานหรือระดับของพฤติกรรมที่ครูต้องการจะให้นักเรียนกระทำ

ในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของวิชาใด ๆ หรือห้วข้อใด ๆ อาจเขียนได้หลายอย่างเป็นสิบ ๆ พฤติกรรม ซึ่งทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำอะไรเป็นบ้าง คำกริยา (verbs) ที่จะใช้สำหรับเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ควรเป็นคำกริยาเฉพาะแคบ ๆ เช่น คำว่า จงระบุ บอกชื่อ เขียนภาพ เขียนรายงาน อธิบาย เลือกเครื่องมือ ขยายความ สร้างแบบ วัดความยาว แก้ไขข้อความ ให้คำจำกัดความ ติดตั้ง จัดกลุ่ม วิเคราะห์ส่วนประกอบ ออกแบบ คำนวณ แปลความหมาย จับคู่ เปรียบเทียบ เตรียมก๊าช ติดตากุหลาบ ตอนไก่แบบผ่าข้างได้ ฯลฯ

ตัวอย่าง

1. เมื่อให้นักเรียนได้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อ X ชนิคแคร่ยาว ซึ่งเป็นเครื่องใหม่ นักเรียนจะต้องพิมพ์สัมผัสได้ถูกต้อง อย่างน้อย 35 คำใน 1 นาที

2. เมื่อมอบตัวอย่างชิ้นส่วนของกระดูกวัวให้นักศึกษา 20 ชิ้น นักศึกษาจะต้องระบุ ชื่อของกระดูกเหล่านั้นได้ถูกต้อง 16 ชื่อ ภายในเวลา 10 นาที

3. เมื่อมอบเครื่องมือและอุปกรณ์การติดตาให้คนละชุด นักศึกษาจะต้องติดตายางได้ 60 ต้นในเวลา 1 ช.ม.

2. สอนอะไร (what to teach) เมื่อได้ตั้งวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายไว้เเล้ว ขั้นต่อไปผู้สอนจะต้องวางแผนและเตรียมเนื้อหาวิชาให้ครบ ในส่วนนี้ผู้สอนจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาเป็นอย่างดี และแตกย่อยหลักสูตรออกไปเป็นส่วน ๆ วางให้แน่ชัดลงไปว่า วิชานี้ บทนี้ หน่วยนี้ และชั่วโมงนี้ จะสอนอะไร สอนสักเท่าไร โดยการแตกเนื้อหาวิชาออกเป็นปัญหาย่อยๆ และมีการจัดลำดับเนื้อหาวิชาคู่กับกิจกรรมตามลำดับก่อนหลังอย่างมีระบบเพื่อให้สอดคล้องกับขั้นตอนแห่งการเรียนรู้

3. สอนอย่างไร (How) เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์และเลือกเนื้อหาที่จะสอนได้ครบแล้วก็ควรพิจารณาว่าเราจะสอนอย่างไรจึงจะทำให้เนื้อหาหรือวิชานั้นถูกถ่ายทอคไปอยู่ในตัวผู้เรียนได้ ซึ่งเทคนิคอันนี้จะครอบคลุมไปถึงศิลปของการสอน วิธีสอน การจัดกิจกรรม การจัดอุปกรณ์การสอน การสร้างแรงจูงใจ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความคล่องตัว และสามารถจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสังคมของตนได้

4. สอนแล้วจะวัดผลอย่างไร ( Evaluation ) ในเรื่องนี้ผู้สอนจะต้องทราบ อย่างแน่ชัดตั้งแต่ก่อนลงมือสอนว่า การกำหนดความมุ่งหมาย เนื้อหา และวิธีสอนดังกล่าวแล้วนั้น จะได้ผลสักเท่าใด เข้าเกณฑ์ (criteria) หรือมาตรฐาน (standard) ตามที่ต้องการหรือไม่ ณ ระดับใดจึงจะเป็นที่พอใจของผู้สอน นั่นก็คือผู้สอนจะต้องรู้และกำหนดวิธีวัด และ ประเมินผลการสอนไว้ด้วย

ลำดับขั้นตอนของการสอน

โดยทั่ว ๆ ไปการสอนวิชาใด ๆ ก็ตามมักจะมีขั้นตอนของการสอน 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. การเตรียมการสอน (preparation) คือครูทำการกำหนดความมุ่งหมายเตรียมเนื้อหา และอุปกรณ์ ศึกษาสภาพของผู้เรียน แบ่งกลุ่ม และกำหนดงานให้นักเรียนทำ

2. ขั้นการสอน (presentation) เป็นขั้นที่ครูลงมือสอนจริง เช่น ทำการบรรยาย สาธิต ฯลฯ

3. ขั้นนิเทศและสอนภาคปฏิบัติหรือขั้นประยุกต์ (Application) เช่นการมอบหมายงานให้นักเรียนทำ

4. ขั้นทดสอบ วัดผลและติดตามผล (Testing, Evaluation and Follow-up) เช่นทำการประเมินผลโดยการสังเกต สมภาษณ์ เขียนตอบ เป็นต้น

การเตรียมการสอนตามข้อ 1 นั้น สำหรับวิชาทางด้านอาชีวศึกษาและวิชาเกษตร ครู ควรจะต้องเตรียมหนักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวิชาที่มีภาคปฏิบัติด้วยเพราะว่านักเรียนจะต้องเรียนรู้ ภาคทฤษฏี และเสริมด้วยภาคปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ดังนั้น ครูควรจะต้องเตรียมใบช่วยสอน (instructional Sheet) ให้นักเรียนด้วย ใบช่วยสอนมี 4 ประเภทคือ

1. ใบงาน (job Sheet) คือใบที่บอกนักเรียนว่าในการเรียนวิชานั้นๆ เขาจะต้องฝึกงานอะไรบ้าง แต่ละงานมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานอย่างไร

2. ใบปฏิบัติงาน (operation Sheet) คือใบที่บอกให้นักเรียนทราบว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร และต้องรู้ทฤษฏีอะไรประกอบบ้าง

3. ใบความรู้ (information Sheet) เป็นการกล่าวถึงทฤษฎี หรือหลักการที่เป็นความรู้ เพื่อนักเรียนจะได้ใช้ประกอบการฝึกงานตามใบงานและใบปฏิบัติงาน

4. ใบมอบงาน (Assignment Sheet) เป็นการบอกให้นักเรียนรู้ว่า เขาต้องเตรียมอะไร ต้องฝึกปฏิบัติเรื่องใด และมีกำหนดเวลาอย่างไร

หมายเหตุ ในการสอนวิชาภาคปฏิบัติทางเกษตร เราจึงนิยมเตรียมเป็นสมุดคู่มือบทปฏิบัติการ (Laboratory Manuals ) ขึ้นมาใช้ด้วย

แผนการสอน

1. ชื่อวิชา………………………….เช่นการเลยงไก่

2. หัวข้อของบทเรียน……………………………. การให้อาหารแม่ไก่ไข่

3. สภาพการณ์ทั่วไปและปัญหา………………………………………………

4. ความมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม……………………………………………….

5. เนื้อหาที่จะสอน ………………………………………………………………..

6. วิธีสอน……………………………………………………………………………

7. อุปกรณ์การสอน………………………………………………………………

8. การวัดผลและการติดตามผล………………………………………………

9. หนังสืออุเทศก์…………………………………………………………………

วิธีสอนวิชาเกษตรและการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร

วิธีสอนวิชาเกษตรมีมากมายหลายวิธี แต่ยังไม่มีวิธีใดที่จะเหมาะสมกับทุก ๆ บทเรียน บทเรียนเรื่องหนึ่งอาจจะใช้วิธีสอนมากกว่าหนึ่งวิธีก็ได้ดังนั้นครูจะต้องเลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนนั้น ๆ เช่นถ้ากำหนดว่าให้นักเรียนสามารถติดตาต้นไม้ได้ ผู้สอนอาจต้องใช้วิธีการบรรยาย สาธิตและการฝึกปฏิบัติจริงควบกู่กันไป เทคนิคและวิธีสอนวิชาเกษตรและวิชาอื่น ๆ สามารถจะกล่าวย่อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. การสอนทักษะหรือการสอนงาน (skill Training) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสอนคนให้ทำงานเป็น เหมาะกับการสอนภาคปฏิบัติและงานต่าง ๆ เช่นการกรีดยาง การกลึงโลหะ การเชื่อมโลหะ ฯลฯ โดยที่ผู้สอนจะต้องบรรยายหลักการแล้วทำให้ดูทีละขั้นตอนแล้วให้ผู้เรียนทำตามผู้สอนอย่างช้า ๆ และในที่สุดผู้เรียนจะต้องทำเองพร้อมกับอธิบายปากเปล่าด้วย

2. วิธีปฏิบัติทดลอง (Laboratory Method) เหมาะกับการสอนภาคปฏิบัติของทุกวิชา เช่นเคมี ชีววิทยา ฟิสิกซ์ การหาไขมันในนม การหากรดด่างในดิน ฯลฯ โดยผู้สอนจะต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนคู่มือบทปฏิบัติการไว้ด้วย

3. การเรียนโดยการกระทำ (Learning-by-Doing Method) เหมาะกับการเรียนรู้และการคนหาความจริงโดยตนเองในทุกวิชา เช่นการเลี้ยงไก่ การติดตาต่อกิ่ง การเพาะเห็ด ฯลฯ การเรียนอีกแบบหนึ่งคือการเปิดโอกาาสให้ผู้เรียนได้ทดลองทำเอง แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error Method)

4. การฝึกปฏิบัติจริง (practices) ผู้สอนบรรยายหลักการหรือภาคทฤษฎีเสร็จ ก็เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกับของจริง เพื่อสร้างทักษะและความชำนาญ เช่น การตอนไก่ การติดตาต้นไม้ การหัดขับรถแทรคเตอร์ ฯลฯ

5. การสาธิตวิธี (Method Demonstration) เหมาะกับการสอนวิชาที่ต้องการให้ผู้ เรียนเห็นจริงเห็นจัง ในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด เหมาะกับการสอนเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เช่นการทำขนมเค็ก การติดตาต่อกิ่ง การพ่นยาปราบวัชพืช การผสมเทียม ฯลฯ โดยที่ครูหรือผู้สอนจะต้องอธิบายและแสดงวิธีทำงานนั้นเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อผู้สอนสาธิตวิธีจบแล็ว ก็อาจจะให้ผู้เรียนทดลองทำดูด้วยก็ได้

6. การสอนโดยฟาร์มโรงเรียน ( School Farm ) ฟาร์มโรงเรียนเปรียบเสมือนศูนย์การเรียน (Learning Center) แห่งหนึ่งหากว่าเราได้จัดแต่ละหน่วยให้เป็นศูนย์ ๆ เช่นศูนย์ไก่ ศูนย์สุกร ศูนย์วัวนม ศูนย์ไม้ผล ศูนย์ยางพารา ศูนย์ไม้ประดับ ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์และมีอะไร ๆ ครบทุกขั้นตอนในแต่ละศูนย์ ก็จะทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มาก กล่าวคือเมื่อผู้เรียนผ่านเข้าไปในศูนย์ไก่ก็ควรจะได้ศึกษาทุกอย่างเกี่ยวกับไก่ครบหมด

7. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) ทำให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศไปพบเห็นของจริงโดยเฉพาะอุปกรณ์ใหญ่ ๆ ที่ไม่อาจจะนำมาโชว์ในชั้นได้เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การพังทะลายของดิน การผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ

8. การสอนเป็นรายบุคคล ( Individualized Teaching Method)

9. การสอนแบบโครงการ (project Method) คือการที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนทำโครงการต่าง ๆ เช่นโครงการปลูกผัก โครงการเลี้ยงสุกร ฯลฯ

10. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching) คือการที่ผู้สอนวางแผนและจัดหัวข้อการสอนร่วมกัน แล้วมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบคนละบทหรือคนละหัวข้อ แล้วสอนตามกำหนดการที่วางไว้

11. การสอนแบบให้งานทำ ( Assignment Method)

12. การเรียนภายใต้การนิเทศ ( Supervised Study)

13. การสอนแบบแก้ปัญหา หรือการสอนแบบวิทยาศาสต์ร์ (problem Solving or Scientific Method) โดยขั้นแรกต้องตั้งปัญหา แล้วตั้งสมมุติฐาน ทดลองแก้ปัญหา และเก็บข้อมูล แล็วจึงสรุปและประเมินผล

14. การสอนโดยวิธีการประชุม (conference) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การสัมนา (seminar) และการแบ่งกลุ่มไปวิเคราะห์ปัญหา (syndicate)

15. การระดมกำลังสมอง (Brainstorming) คือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดง (บอก) ความคิดเห็น วิธีการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ แล้วครูผู้สอนก็จดบันทึกขึ้นกระดานดำไว้

16. การสอนโดยการบรรยายหรือปาฐกถา (Lecture Method) มักจะใช้กับกลุ่มคนมาก ๆ และผู้สอนมีเวลาจำกัด ในการบรรยายผู้สอนอาจจะมีภาพและอุปกรณ์การสอนมาประกอบด้วยก็ได้

17. การบรรยายคู่กับการสาธิตและปฏิบัติ ( Lecture and Demonstration)

18. การสอนแบบอธิบาย (Expository Method) เหมาะกับเรื่องที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งต้องการอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก่อนที่จะเรียนเรื่องอื่นต่อไป เช่นการอธิบาย เรื่องวัฏจักรของน้ำ หลักพันธุกรรมของเมนเดล เป็นต้น

19. วิธีสอนแบบอนุมานและอุปมาน ( Deductive and Inductive Method)

การอนุมานเป็นการสอนจากกฎเกณฑ์ไปหาของจริงและตัวอย่าง แต่การอุปมานเป็นการศึกษาจากของจริง/ตัวอย่าง แล้วโยงไปหากฎเกณฑ์

20. การสอนแบบนาฏการ (Dramatization) เช่นการแสดงบทบาทสมบัติ การแสดงละคร การจำลองฉากเหตุการณ์ การใช้หุ่น ฯลฯ

การสอนภาคปฏิบัติในวิชาเกษตร

เพื่อให้การสอนภาคปฏิบัติในวิชาเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรดำเนินการ และปฏิบัติดังนี้

ก. ขั้นเลือกและวางโครงการ

1. ครูต้องเลือกโครงการ (งานปฏิบัติ) ให้เหมาะสม

2. กิจกรรมที่เลือกต้องเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่

3. ครูต้องทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของวิชาและหัวข้อนั้น ๆ

4. ครูต้องวางแผนปฏิบัติอย่างรอบคอบ ฯลฯ

ข. ขั้นดำเนินการ

1. ครูต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

2. ใช้เงินและวัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัด

3. ให้เด็กทำเอง

4. ครูควบคุมดูแลการปฏิบัติของเด็กอย่างใกล้ชิด ฯลฯ

ค. ขั้นเก็บข้อมูลและผลการปฏิบัติ

1. นักเรียนจดบันทึกผลการทดลอง และปฏิบัติ

2. ครูควบคุมดูแลและให้คำแนะนำในการเก็บข้อมูล

ง. ขั้นรายงานผล

1. นักเรียนรวบรวมข้อมูล คิดคำนวณ และกรอกลงในฟอร์มที่ต้องการ

2. ครูให้คำแนะนำในการรายงานผล

3. นักเรียนนำผลการปฏิบัติ (ทดลอง) เสนอ

จ. ขั้นการวัดผล

1. ครูกำหนดเกณฑ์ของการปฏิบัติ

2. เปรียบเทียบผลการปฏิบัติของนักเรียน

3. ให้คะแนนและประเมินผล

4. อภิปรายและซักถามทั่วไป

5. สำรวจความสนใจของเด็กเพื่อไว้ประกอบการแนะแนวอาชีพต่อไป

ประสิทธิภาพของวิธีสอน

การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้ของบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้ การที่บุคคลจะเรียนรู้ได้ดี มีองค์ประกอบสองอย่างคือ ตนเองมีวิธีการเรียนที่ดีประการหนึ่ง หรือมีบุคคลอื่นถ่ายทอคความรู้นั้น ๆ ให้เขาเข้าใจได้ดีอีกประการหนึ่ง การท่ายทอดความรู้หรือการสอนความรู้ให้กับผู้อื่นมีมากมายหลายวิธี แต่ก็ไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใด ที่จะ สอนได้ดีเท่า ๆ กันในทุกสถานะการณ์

ดังนั้นก่อนที่ท่านจะใช้วิธีสอนแบบใด ขอให้พิจารณากลุ่มผู้เรียน เนื้อหาสาระที่จะสอน ตลอดจนจุดประสงค์ของการสอน เพราะวิธีสอนแต่ละอย่างให้ประสบการณ์ แก่ผู้เรียนไม่เหมือนก่น เช่น

วิธีที่ดีอันดับ 1.      คือ     การได้ฝึกปฏิบัติในสภาพที่เป็นจริง

วิธีที่ดีอันดับ 2.      คือ     การได้ฝึกปฏิบัติในสภาพจำลองหรือย่นย่อ

วิธีที่ดีอันดับ 3.      คือ     การได้แสดงบทบาท เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ

วิธีที่ดีอันดับ 4.      คือ     การได้รู้เห็นและปฏิบัติงานสาธิต

วิธีที่ดีอันดับ 5.      คือ     การได้ไปร่วมทัศนศึกษา

วิธีที่ดีอันดับ 6.      คือ     การได้ไปเยี่ยมชมงานนิทรรศการและการออกร้านต่าง ๆ

วิธีที่ดีอันดับ 7.      คือ     การชมรายการทางโทรทัศน์หรือภาพยนตร์

วิธีที่ดีอันดับ 8.      คือ     การฟังรายการทางวิทยุ เทปบันทึกเสียงและดูภาพนิ่ง

วิธีที่ดีอันดับ 9.      คือ     การดูหรืออ่านเครื่องหมาย สัญญลักษณ์และข้อความต่าง ๆ

วิธีที่ดีอันดับ 10.    คือ     การฟังคำพูดแต่เพียงอย่างเดียว