วิธีใช้ยาสมุนไพร

ประเทศเรายังขาดแคลนแพทย์อีกมาก ทำให้การดูแลรักษาประชาชนในท้องที่ห่างไกล หรือตามส่วนต่างๆ ของประเทศ แม้นกระทั่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแพทย์มาแออัดกันอยูเป็นจำนวนมาก ก็ตามก็ยังไม่สามารถเอื้ออำนวยการดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอยางยิ่งในภาวะที่จะต้องกระเสือกกระสน ทำงานจนแทบจะไม่มีเวลาที่จะไปนั่งรอคิว เพื่อตรวจโรค

วิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเหล่านี้ลงไปก็คือ ให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองเป็นเบื้องต้น ในโรคและอาการที่ไม่รุนแรงได้อย่างถูกต้องประหยัด และปลอดภัยที่สุด

ดังนั้น การไข้ยาสมุนไพรเคี่ยวในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงเกิดขึ้น ซึ่งได้จัดเอาตัวยาที่มีผลการรักษาแน่นอน มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยที่สุด นำมาใชในการรักษาโรค และอาการของโรคทั่วๆ ไปได้ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยจัดแยกตัวยาที่ใช้รักษาตามอาการของโรค

ข้อควรทราบในการใช้ยาสมุนไพร

เพื่อให้การใช้ยาสมุนไพรด้วยตนเอง เป็นไปอย่างถูกต้องปลอดภัย จึงได้รวบรวมข้อที่ควรทราบเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรแบบตัวเดียว ที่ใช้รักษาอาการโรคพื้นฐานเบื้องต้นหากใช้ไม่ได้ผล หรืออาการหนักขึ้น หลังใช้ยา 2-3 วัน ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง การใช้ยาอะไรก็ตาม ถึงแม้นจะได้ผลในการรักษา เมื่อหายป่วยีแล้วควรพักการใช้ยา ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ

อาการของโรคที่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพร ๒๔ อาการ ด้วยยาสมุนไพรเคี่ยว ๔๙ ชนิด

1. อาการท้องผูก

2. อาการท้องอืด เฟ้อ

3. อาการท้องเดิน

4. พยาธิในลำไส้

5. บิด

6. คลื่นไส้อาเจียน

7. ไอและเสมหะ

8. ไข้

9. ขัดเบา

10. กลาก

11. เกลื้อน

12. นอนไม่หลับ

13. เบื่ออาหาร

14. ฝี แผลพุพอง

15. เคล็ค ขัด ยอก

16. แพ้ อักเสบ

17. ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

18. เหา

19. ชันนะตุ

20. โรคกระเพาะอาหาร

21. เจ็บคอ

22. แผลถลอก ฟกช้ำ

23. ยุงกัด

24. ผื่นคัน

อาการที่ไม่ควรรักษาเอง

หากผู้ป่วย มีอาการข้างต้น แต่รุนแรง ควรไปหาหมอ หรือไปโรงพยาบาล และถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร หรือซื้อยามากินเอง ควรไปพบแพทย์ หรือโรงพยาบาล

1. ไข้สูง (ตัวร้อนมาก) ตาแตง ปวดเมื่อย ซึม บางทีเพ้อ จับไข้วันเว้นวันหรือสองวัน

2. ไข้สูง ตัวเหลือง (ดีซ่าน) อ่อนเพลีย อาจมีเจ็บ แถวๆ ชายโครง

3. ปวดท้องแถว ๆ รอบสะดือ หรือต่ำจากสะดือลงมาทางขวา เอามือกดเจ็บ ท้องแข็งอาจมีไข้ อาจมีท้องผูก อาจมีคลื่นไส้อาเจียนด้วย

4. เจ็บแปลบๆในท้อง ปวดท้องรุนแรง อาจมีตัวร้อน คลื่นไส้อาเจียนด้วย บางทีเคยปวดท้องบ่อยๆ แต่เพิ่งมาปวดแรงตอนนี้

5. อาเจียน หรือ ไอ มีเลือดออกมาด้วย ควรนำส่งโรงพยาบาล โดยด่วน

6. ท้องเดินอย่างแรง ถ่ายเป็นน้ำ บางทีเหมือนน้ำซาวข้าว บางที่พุ่งออกมา ถ่ายติดต่อกัน อ่อนเพลียมาก ตาลึก ผิวแห้ง ถ้าเป็นเด็กไม่ควรให้ถ่ายเกิน 3 ครั้ง ถ้าผู้ใหญ่ไม่ควรให้เกิน 5 ครั้ง ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ถ้าอยู่ไกลโรงพยาบาล ให้ไปแจ้งที่สถานอนามั ยอนามัย หรือ อสม. หาน้ำเกลือแห้งมาละลายน้ำให้กิน ถ้าหาไม่ได้ ให้เอาเกลือ ที่ใช้ในครัวมาละลายน้ำ ถ้ามีน้ำตาลผสมลงไปนิดหน่อยให้กิน ในระหว่างพาส่งโรงพยาบาล

7. ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด บางที่เกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อย อาจถึง 10 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง และเพลียมาก

8. ในเด็กอายุ 12 ปี ลงมา ไข้ตัวร้อนมากไอมากหายใจเสียงผิดปกติ หน้าเขียว หรือ ไมมีไอ แต่ซึม ไข้ลอย (คือไข้ไม่ลดตัวร้อนอยู่นาน ตัวร้อนตลอดเวลา)

9. มีเลือดสดๆ ออกมา จากทางใดก็ตาม อาจเป็นทางช่องคลอด เป็นต้น

10. โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคเรื้อรัง,โรคที่ดูอาการไม่ออกว่าเป็นอะไรแน่, งูพิษกัด, สุนัขบ้ากัด บาดทะยัก (ตื่นเต้นง่าย คอแข็ง ขากรรไกรแข็ง หนาวสะท้าน มีไข้เล็กน้อย ปวดหัว), กระดูกหัก, มะเร็ง, วัณโรค, กามโรค, ความดันเลือดสูงปอดบวม,โรคตา ฯลฯ

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

1. ใช้ให้ถูกต้น ต้องรู้จักตัวยาว่า ชื่อนี้สรรพคุณอย่างนี้ เป็นต้นแบบนี้จริงหรือไม่

2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้องดูให้แน่ชัดว่า ตำราให้ใช้ส่วนไหนทำยา

3. ใช้ให้ถูกขนาด ต้องดูให้แน่ว่า ตำราให้ใช้จำนวนมากน้อยเท่าใดจึงจะเหมาะสม

4. ใช้ให้ถูกวิธี ยาสมุนไพรแต่ละชนิด นำมาใช้ต่างกัน มีต้ม,บดเป็นผง,ดอง,ฝน,กิน,ทา,ถูนวด,อบ,รม หรือ สูดดม เป็นต้น

5. ใช้ให้ถูกกับโรค ต้องดูสรรพคุณให้แน่ชัด ว่าใช้แก้โรคอะไร

6. รักษาความสะอาด ต้องสะอาด ทั้งเครื่องใช้ตัวยา มือ และสิ่งประกอบอื่นๆ

การเตรียมยา

ยาต้ม

ยาต้มนั้น ไม่ควรใช้ยาจนจืด ปกติควรไม่เกิน 7 วัน ถ้าเป็นใบไม้ล้วน ควรใช้ยาเพียง 1 วันไม่ทิ้งไว้ค้างคืน

วิธีทำ

นำยาที่จะต้ม มาสับเป็นชิ้นเป็นท่อนเล็ก ๆ ใส่ในหม้อดินหรือภาชนะเคลือบ ไม่ควรใช้หม้อที่เป็นโลหะ เพราะจะทำให้สรรพคุณยาเสื่อม ใส่นํ้าสะอาดลงไป ให้ท่วมยา นำขึ้นตั้งไฟ ต้มให้เดือดประมาณ 15-20 นาที หรือกะให้น้ำเหลือประมาณ 1 ใน 3 เช่น ใส่น้ำไป 3 ขัน เมื่อต้มแล้วกะให้เหลือน้ำ 1 ขัน

ยาชง

ส่วนมากมักใช้กับพวก ใบไม้ เช่น หญ้าหนวดแมว,ใบชุมเห็ดเทศ,กระเจี้ยบ เป็นต้น

วิธีทำ

นำตัวยาที่จะใช้ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง หรือคั่วให้กรอบอย่าให้ไหม้ นำมาใส่ภาชะนะที่สะอาด เทน้ำต้มเดือดลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที รินเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ

ยาดองเหล้า

นำตัวยามาล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง ใส่ในขวดปากกว้าง เทเหล้าขาวลงไปให้ท่วมยา ปิดฝาให้สนิท คนยาทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน ก็ใช้ดื่มได้

สมุนไพร 59 ชนิดและวิธีใช้

1. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการท้องผูก

1. ต้นขี้เหล็ก แก่น สับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 2 กำมือ หรือทั้งห้า(ใบ,ดอก,ราก,แกน,ฝัก) ประมาณ 4 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหารเข้า หรือก่อนนอน ครั้งละ 1 ถ้วย

2. คูน ใช้เนื้อในฝัก เท่าหัวแม่มือ ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ

3. ชุมเห็ดเทศ ใช้ดอกสด 2-3 ช่อ ลวกนำร้อนรับประทาน หรือใช้ใบ 12 ใบ (นำมาคั่วให้กรอบก่อนจะทำให้ไม่ไซร้ท้อง) ต้มดื่ม ครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน

4. ชุมเห็ดไทย นำเมล็ดมาประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ คั่วให้เหลือง ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน

5. มะขาม นำมะขามเปียก มาจิ้มเกลือรับประทาน ประมาณ 10 ฝัก หรือนำมาต้มใส่เกลือนิดหน่อย รินเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน

6. มะขามแขก ใช้ใบแห้ง 2 กำมือ หรือฝักแห้ง 10 ฝัก ต้มดื่ม 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน

7. แมงลัก นำเมล็ดแมงลักมา 2-3 ช้อนโต้ะ แช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ให้พองเต็มที่ รับประทานก่อนนอน

2. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แนนจุกเสียด

1. กระชาย ใช้เหง้า หรือราก (นมกระชาย) สดหรือแห้ง นำมาฝานเป็นแผ่นบางๆ 1 หยิบมือ ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น หรือเวลามีอาการ

2. กระทือ ใช้เหง้าสด ขนาดเท่าสองหัวแม่มือ นำมาปิ้งไฟ ฝนกับน้ำปูนใสครึ่งแก้วดื่มก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น หรือเวลามีอาการ

3. กระเทียม ใช้กลีบจากหัว นำมาปลอกเปลือก รับประทานดิบๆ ครั้งละ 5 กลีบ เวลามีอาการ

4. กระวาน ใช้ลูก นำมาบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยกาแฟ หรือต้มเอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น หรือเมื่อมีอาการ

5. กะเพรา ใช้ใบหรือยอด สดหรือแห้ง 1 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น หรือเวลามีอาการ เหมาะสำหรับเด็ก

6. กานพูล ใช้ดอก 3-5 ดอก ต้มหรือทุบแช่น้ำเดือด ให้เด็กดื่มครั้งละครึ่งถ้วยเล็กๆ หรือ แช่ในน้ำเดือด 1 ขวดขาว ใช้ชงนมให้เด็ก ป้องกันท้องอืดเฟ้อ

7. ข่า ใช้เหง้าแก่ สดหรือแห้ง ขนาดขนาดหัวแม่มือ ทุบต้มเอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1-2 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

8. ขิง ใช้เหง้าแก่สด ขนาดหัวแม่มือ ทุบให้แตกต้มดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

9. ดีปลี ใช้ผล 10 ผล หรือเถา 1 กำมือ ต้มดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

10. ตะไคร้ ใช้ลำต้นแก่ สดหรือแห้ง 1 กำมือ ทุบให้แตก ต้มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

11. มะนาว ใช้ผิวของลูกมะนาว สดหรือแห้งครึ่งลูก ชงน้ำร้อน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

12. เร่ว นำผลแก่มาบดเป็นผง ใช้ครั้งละช้อนชา ละลายน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ รับประทานก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

13. แห้วหมู ใช้หัว 1 กำมือมาทุบ ต้มเอาน้ำดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ หรือใช้หัวสด 5 หัว นำมาโคลกให้ละเอียดผสมน้ำผงรับประทานกอนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

14. ขมิ้นชัน           ถ้าไม่มีใช้ขมิ้นอ้อย แทนได้ นำมาหั่นผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงปั้นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทาน ครั้งละ 3-5 เม็ด หรือเอาผงขมิ้น 1 ช้อนชาละลายน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ รับประทานก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน

3. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการท้องเดิน

1. กล้วยน้ำว้า ใช้ลูกดิบทั้งเปลือก นำมาหั่นเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผงปั้นเม็ดหรือชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต้ะ หรือเคี้ยวรับประทานที่แห้ง ครั้งละประมาณ 1 ลูก ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

2. ทับทิม ใช้เปลือกลูกทับทิมแห้งครึ่งลูก ต้มกับน้ำปูนใส ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารวันละ 3ครั้ง หรือเมื่อมีอาการท้องเดิน

3. ฝรั่ง ใช้ใบแก่ 10 ใบ นำมาปิ้งไฟชงน้ำร้อนดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ หรือใช้ลูกอ่อน 1 ลูก นำมาฝนกับน้ำปูนใส รับประทานวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร หรือ เมื่อมีอาการท้องเดิน

4. ฟ้าทะลายโจร ใช้ทั้งต้นตากเเห้ง 2 กำมือ ต้มดื่ม 1 แก้ว ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

5. มังคุด ใช้เปลือกลูกแห้งประมาณครึ่งลูก ต้มหรือฝนกับน้ำปูนใสรับประทานครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา หรือเมื่อมีอาการท้องเดิน

6. สีเสียดเหนือ ใช้แก่น นำมาต้มเคี่ยว ให้เหลือเป็นผง เรียกว่า สีเสียด ใช้ผงสีเสียด ครึ่งช้อนชาต้มกับน้ำ 2 ขันเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วก่อนอาหาร วันละ 3 เวลาหรือ เมื่อมีอาการท้องเดิน

7. ขมิ้น ใช้เหง้าแก่แห้งบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ หรือปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 5 เม็ด ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง

4. สมุนไพรที่ใช้ถ่ายพยาธลำไส้

1. ฟักทอง ใช้เมล็ดแก่แห้ง หนักครึ่งขีด (50 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย เติมน้ำ 2 แก้ว แบ่งรับประทาน 3 ครั้งห่างกัน 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ให้รับประทานยาระบาย เช่น น้ำมันละหุ่ง หรือ น้ำต้มมะขามเปียก หรือน้ำต้มสมอ

2. มะเกลือ ใช้ลูกดิบสด ๆ ที่มีสีเขียวสด (ถ้าแก่หรือมีสีด่างดำ ห้ามใช้) นำมาตำพอแหลก ผสมกับกะทิ มะพร้าวที่คั้นสดใหม่ ๆ รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังจากนั้น 3 ชม. ถ้ายังไม่ถ่าย ให้เอา ดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว ดื่มตามลงไป มะเกลือให้ใช้เท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ลูก

ข้อควรระวัง

1. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หญิงมีครรภ์ หลังคลอดใหม่ ๆ เป็นโรคหัวใจ เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไม่ควรใช้ยานี้

2. ห้ามรับประทานเกินขนาด

3. ถ้ากินยานี้แล้วมีอาการท้องเดิน ตามัว ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

3.มะขาม นำเม็ดมะขามมาคั่ว แช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเฉพาะเนื้อในครั้งละ 20-30 เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในเด็กได้ดี

4. มะหาด นำแก่นมาเคี่ยว จนเกิดฟอง ช้อนฟองขึ้นมาทิ้งไว้ให้แห้ง เรียกว่าปวกหาด นำปวกหาดมาบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ผสมกับน้ำเย็น 1 แก้ว (ถ้าใช้น้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้) รับประทานก่อนอาหารเช้า ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน

5. เล็บมือนาง ใช้เมล็ด เด็กใช้ 2-3 เมล็ด ผู้ใหญ่ใช้ 5-7 เมล็ด นำมาทุบให้แตก ต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มก่อนอาหารเช้า หรือหั่นผสมไข่เจียว รับประทานเป็นอาหารเช้า

6. สะแก ใช้เมล็ดแก่ 1 ช้อนโต้ะ ตำให้ละเอียด ผสมไข่เจียวรับประทานก่อนอาหารเช้า

5. สมุนไพรที่ใช้แก้บิด

(ท้องเสีย ปวดเบ่ง มีมูกอาจมีเลือด)

1. ทับทิม ใช้เปลือกผลแห้ง 1 กำมือ ต้มดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

2. มังคุด ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณครึ่งลูก ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใส ครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผงละลายน้ำสุก ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ รับประทานทุก 2 ชั่วโมง

6. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน

1. กะเพรา ใช้ใบและยอดสดหรือแห้ง นำมา 1 กำมือ ต้มดื่ม เวลามีอาการคลื่นไส้อาเจียน

2. ขิง ใช้เหง้าแก่สด ขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มดื่มเวลามีอาการ

3. ยอ ใช้ลูกดิบหรือห่าม ๆ สด นำมาฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างไฟให้เหลือง ใช้ 2 กำมือต้ม หรือชงกับน้ำร้อน กินเวลามีอาการคลื่นไส้อาเจียน

7. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ

1. ขี้เหล็ก ใช้ใบแห้ง 2 กำมือ หรือใบสด 3 กำมือ เติมน้ำ 3 ขัน เคี่ยวให้เหลือ 1 ขัน เอานํ้ากินครึ่งแก้ว ก่อนนอน

8. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการไอและขับเสมหะ

1. ขิง ใช้เหง้าแก่ สด นำมาฝนกับมะนาวแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

2. ดีปลี ใช้ผล(ดอก)แก่ แห้ง นำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

3. เพกา ใช้เมล็ด นำมา 1 กำมือใส่น้ำ 2 ขันต้มให้เดือดนาน 1 ชม. ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้งเช้า-กลางวัน-เย็น

4. มะขาม นำมะขามเปียกมาเท่าสองหัวแม่มือ จิ้มเกลือรับประทานเวลาไอ หรือมีเสมหะ

5. มะนาว ใช้ผลสด คั้นเอาน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ

6. มะแว้งเครือ หรือมะแว้งต้นใช้ผลสด 5-10 ผล ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำเติมเกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสด เคี้ยวกินทั้งน้ำและเนื้อ

9. สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการเจ็บคอ

1. ฟ้าทะลายโจร ใช้ใบสด นำมา 3-5 ใบ ล้างให้สะอาด เคี้ยวกลืนน้ำ กิน 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3-4 ชั่วโมง

2. มะนาว ใช้น้ำคั้นจากลูกสด 1 ลูก เติมเกลือ จิบบ่อยๆ

10. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการไข้

1. บอระเพ็ด ใช้เถาสด ยาว 3 คีบ ตำคั้น หรือต้มดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น หรือ เมื่อมีอาการไข้

2. ปลาไหลเผือก ใช้รากแห้ง 1 กำมือ ต้มดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือ เมื่อมีอาการไข้

3. ฟ้าทะลายโจร ใช้ทั้งต้น นำมา 1 กำมือ ต้มดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-เย็น หรือเวลามีไข้

4. ย่านาง ใช้รากแห้ง 1 กำมือ ต้มดื่มก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น หรือเวลามีไข้

11. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการผื่นคัน

1. ขมิ้นชัน ใช้เหง้าสดโขลกให้ละเอียดหรือใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง ผสมน้ำต้ม ทาบริเวณที่เป็น เช้า-เย็น

2. พลู ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงทาบริเวณที่เป็น เช้า-เย็น

12. สมุนไพรที่ใช้เป็นยาเจริญอาหาร

1. บอระเพ็ด ใช้เถาสด ครั้งละ 2 คีบ ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

12. สมุนไพรที่ใช้แก้อาการขัดเบา

1. กระเจี๊ยบแดง ใช้กลีบดอก แห้งหรือสด ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต้ะ กับน้ำ 1 แก้ว ดื่มก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

2. ขลู่ ใช้ทั้งต้น สดหรือแห้ง หั่นเป็นท่อนเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่ม 1 แก้ว ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

3. ขุมเห็ดไทย ใช้เมล็ดแห้ง นำมาคั่วให้หอม ใช้วันละ 2 ช้อนโต้ะ ใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มให้เหลือครึ่งเดียว แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

4. ตะไคร้ ใช้ลำต้นหรือเหง้าสดหรือแห้ง หั่นเป็นท่อนเล็กๆวันละ 1 กำมือ ต้มดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟก่อนอาหาร เช้า-เย็น

5. สับปะรด ใช้เหง้า สดหรือแห้ง หั่นเป็นแว่นบางๆ ใช้วันละ 2 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง

6. หญ้าคา ใช้ราก สดหรือแห้ง นำมาสับเป็นท่อนสั้นๆ ใช้วันละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น

7. หญ้าหนวดแมว (พยับเมฆ) ใช้ใบแห้ง วันละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

8. อ้อยแดง ใช้ลำต้น สดหรือแห้ง สับให้เป็นท่อนเล็กๆ ใช้วันละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

14. สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร

1. ขมิ้นชัน ใช้เหง้าแก่ แห้ง นำมาบดเป็นผง ละลายนำร้อนรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา หรือทำเป็นเม็ดขนาดเท่าลูกมะแว้ง รับประทานครั้งละ 3-5 เม็ด ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น

15. สมุนไพรที่ใช้รักษากลาก,เกลื้อน

1. กระเทียม ใช้กลีบหัว ขูดตรงที่เป็นกลาก,เกลื้อนให้ถลอก แล้วเอากระเทียมบี้ให้แตก ถูทาบ่อยๆ

2. ชุมเห็ดเทศ ใช้ใบสด (รักษากลาก) ใช้ใบสดขยี้ ถูทาบริเวณที่เป็นกลากนานๆ บ่อยๆ

3. ทองพันชั่ง ใช้ใบหรือราก สดหรือแห้ง (รักษาได้ทั้งกลากและเกลื้อน)ตำแช่เหล้าโรง 7 วัน จึงนำน้ำยามาทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ

4. ข่า ใช้เหง้าแก่สดหรือแห้ง(รักษาเกลื้อน)ตำแช่เหล้าโรง 7 วัน นำน้ำยามาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ

16. สมุนไพรที่ใช้รักษาฝี, แผลพุพอง

1. ขมิ้นชัน ใช้เหง้าแก่ นำมาฝนกับน้ำสะอาดหรือใช้ขมิ้นผง ทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง

2. ขุมเห็ดเทศ ใช้ใบสด มีวิธีใช้ 3 วิธี เลือกใช้ตามความเหมาะสม คือ

1. ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำพอกบริเวณที่เป็น เช้า-เย็น

2. ใช้ใบสด 10 กำมือ ต้มเอาน้ำอาบ วันละครั้ง

3. ใช้ใบสด 1 กำมือ ต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ใน 3 เอาน้ำชะล้างแผล วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

3. เทียนบ้าน ใช้ใบและดอกสด จำนวนพอเหมาะ ตำพอก หรือ คั้นเอาน้ำทา เช้า -เย็น

4. ว่านหางจระเข้ ใช้วุ้นจากใบ ปลอกเปลือกออกให้เกลี้ยงจะได้วุ้นใสๆ นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดทา หรือแปะ เช้า-เย็น

17. สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการแพ้, อักเสบ, แมลงสัตว์กัดต่อย

1. ขมิ้นชัน ใช้เหง้าแก่ นำมาฝนกับน้ำสะอาด ทาบริเวณที่เป็น

2. ตำลึง ใช้ใบสดด 1 กำมือ ตำคั้นเอาน้ำทา หรือพอกบริเวณที่มีอาการ

3. ผักบุ้งทะเล ใช้ใบและเถาสด ประมาณ 1 กำมือ ตำให้ละเอียดเติมน้ำสะอาดเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นทุก 4 ชั่วโมง (ใช้ได้ดีกับพิษที่เกิดจากแมงกะพรุน)

4. เสลดพังพอนตัวเมีย ใช้ใบสด จำนวนพอเหมาะ ตำให้ละเอียดเติมน้ำเล็กน้อย คั้นทาบริเวณที่เป็น

5. พลู ใช้ใบสด จำนวนพอเหมาะ ตำผสมเหล้าโรง ทาบริเวณที่เป็น

6. เสลดพังพอนตัวผู้ ใช้ใบสด จำนวนพอเหมาะ ตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น

18. สมุนไพรที่ใช้รักษาไฟไหม้, น้ำร้อนลวก

1. มะพร้าว ใช้น้ำมันมะพร้าว กับน้ำปูนใส อย่างละเท่าๆ กัน เติมน้ำปูนใสลงไปในน้ำมันมะพร้าว ทีละน้อย คนให้เข้ากันจนหมด ใช้ทาแผล เช้า-เย็น

2. บัวบก ใช้ต้นสด จำนวน 1 กำมือ ตำให้ละเอียด พอกหรือคั้น เอาน้ำทาแผล

3. ว่านหางจระเข้ ใช้วุ้นจากใบ ปลอกเปลือกออก ล้างให้หมดยางสีเหลือง แปะตรงแผล ในสองวันแรก ให้แผลชุ่มตลอดเวลา(เมื่อแห้งเปลี่ยนใหม่ทันที) ต่อจากนั้น ให้เปลี่ยนวันละ 1 ครั้ง

19. สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการเคล็ดยอก

1. ไพล ใช้เหง้าแก่ นำมาปลอกเปลือก ตำให้แหลกเติมน้ำเล็กน้อย ใช้ทาถูนวด บริเวณที่เป็น

20. สมุนไพรที่ใช้รักษาแผลถลอก,ฟกช้ำ

1. บัวบก ใช้ใบสด ล้างให้สะอาดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น

21. สมุนไพรที่ใช้ไล่ยุง

1. ตะไคร้หอม ใช้ทั้งต้นสด ถอนมาทั้งต้น ทุบให้แตก นำมาวางไว้ใกล้ๆตัวยุงจะไม่มารบกวน

22. สมุนไพรที่ใช้ฆ่าเหา, หิด

1. น้อยหน่า ใช้ใบสด 10-15 ใบ หรือเนื้อในเมล็ดสด 10-15 เมล็ด ตำให้ละเอียดนำไปผสมน้ำมันมะพร้าว พอแฉะ ๆ ชะโลมบนศีรษะให้ทั่ว เอาผ้าโพกผมทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วสระผมให้สะอาด หรือทาตรงที่เป็นหิด

หมายเหตุ 1. อย่าให้เข้าตา

2. อย่าทิ้งไว้นานเกินไป หรือค้างคืน สารพิษจะซึมเข้าไปทำลายประสาทได้

3. ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง วันละ 1 ครั้ง ถ้าผมยาวอาจใช้ยามากขึ้นได้

23. สมุนไพรที่ใช้รักษาชันตุ

1. มะคำดีควาย ใช้ลูก 3-5 ลูกทุบให้แตกต้มกับน้ำ 1 ถ้วย ทาที่เป็น เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา, อย่าใช้นานเกินไป ผมจะร่วง, ต้องล้างยาออกให้หมด)