ว่านกาบหอย

ว่านแสงพระอาทิตย์ ว่านหอยแครง

ชื่อ
จีนเรียก      อ่อเปาลั้ง อั่งเต๊กเฮียะ Rhoeo discolor (L. Her.) Hance.

ลักษณะ
พืชจำพวกว่าน มักปลูกตามบ้าน เป็นพืชล้มลุกหลายปี สูง 1-2 ฟุต เยื่อไม้นุ่ม หักง่าย ใบเกิดจากลำต้นโดยตรง อมนํ้ามาก ใบหนายาวคลายดาบ ยาวประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ใบสีแดงแกมม่วง หลังใบสีเขียวเข้ม ออกดอกหน้าร้อน และหน้าฝน ออกดอกที่กาบใบ มักออกดอกคู่กัน 2 ข้างใบ ดอกออกเป็นพวงมีกลีบห่อ บางทีก็โผล่ออกมานอกกลีบสีแดงเมื่อแก่มีเมล็ดเล็กๆ ปรากฏ

รส
จืด ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถประสะเลือดให้เย็น แก้ปวดร้อนใน ละลายเสมหะ ฤทธิ์เข้าถึงปอด และม้าม

รักษา
บิดมูกบิดเลือด อุจจาระเป็นเลือด ไอเพราะปอดร้อน ไอเป็นเลือด ไอกรน เลือดกำเดา

ตำราชาวบ้าน
1. บิดขาวบิดเลือด บิดมูก – ว่านกาบหอย 2 ตำลึง ต้มกับนํ้าใส่น้ำตาลแดง รับประทาน
2. อุจจาระเป็นเลือด – ว่านกาบหอย 2 ตำลึง ต้มกับกวยแชะหรือน้ำตาลกรวด รับประทาน
3. ไอเพราะปอดร้อนเป็นเลือด – ว่านกาบหอย 2 ตำลึง ต้มกับกวยแชะหรือน้ำตาลกรวด รับประทาน
4. ไอกรนไอหอบ    -ว่านกาบหอย 2 ตำลึง ดอกบานไม่รู้โรย 1 ตำลึง ต้มกับน้ำตาลกรวด รับประทาน
5. เลือดกำเดา – ว่านกาบหอย 2 ตำลึง ต้มน้ำรับประทาน

ปริมาณใช้
ใบสดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง หรือ 3-5 ใบ ถ้าใช้ดอกไม่เกิน 7 ดอก

ข้อควรรู้
ร่างกายอ่อนแอผอมแห้งแรงน้อย ไม่ควรรับประทาน หญิงมีครรภ์ห้าม รับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช