ว่านนางคำ

ว่านนางคำ

ในปัจจุบันว่านชื่อนี้มีอยู่ 3 ชนิด คือ

ลักษณะ ต้นแดง ก้านแดง หรือครีบแดง หัวมีเนื้อเป็นสีเหลืองดังหัวขมิ้นเน่า ใบเรียวงามสีเขียว

สรรพคุณ ใช้ปลูกไว้ประจำบ้าน เป็นเสน่ห์แก่บ้านยิ่งนัก ทางยามีรสร้อน มีคุณกระทุ้งพิษต่างๆ และแก้ฟกบวมตามเนื้อตามตัว ในร่างกาย แก้พิษว่านร้ายต่างๆ อีกด้วย

ลักษณะ ตันเขียวใบเขียว เนื้อในหัวมีสีขาว

สรรพคุณ ใช้แก้อิทธิฤทธิ์ว่านทั้งปวงได้ เพราะเป็นพญาว่าน

ลักษณะ ชนิดต้นเขียว กลางใบแดง เนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสฝาด ใบโต ขนาดใบว่านคันทมาลา มีปลูกกันทั่วไป เป็น ว่านนางคำอย่างธรรมดาที่ใช้ผสมยาทาแก้เคล็ดบวมหรือใช้ย้อมผ้า

สรรพคุณ หัวใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคันและโรคผิวหนัง กินเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำและข้อเคล็ด

รากใช้เป็นยาขับเสมหะ และใช้เป็นยาสมาน, แก้โรคลงท้องหรือท้องร่วง, แก้โรคหนองในเรื้อรัง, ผลของการแยกธาตุว่านนางคำมีดังนี้ นํ้ามันหอมเรซิน 4.47 นํ้าตาล 1.21 ยางกรด 10.10 แป้ง 17.75 ใยไม้ 25.40 เก้า 7.57 ความชื้น 9.76

วิธีปลูก ใช้หัวว่านปลูกทั้ง 3 ชนิด โดยใช้ดินร่วนๆ หรือดินร่วนปนทรายบ้างเป็นดินปลูก เอาหัวว่านมากลบด้วยดินพอมิดหัวว่าน หรือพอหัวว่านหัวโผล่พ้นดินนิดหน่อย เอานํ้ารดให้ดินเปียกทั่ว