สมุนไพรเถาผีเสื้อ(จีน)


ชื่อ
จีนเรียก     

ฮู่เติยบติ๊ง เตี่ยมเต๊  เซียงกำแต๊ ซัวกำแต๊ Missaenda pubescens  Ait.

ลักษณะ
ชอบเกิดตามเนินใกล้พุ่มไม้หรือริมหนองน้ำ เป็นพืชยืนต้น มีขนปุยขึ้นตามกิ่งใบคู่มีก้านใบแต่สั้น ใบรูปรีปลายแหลม ยาวประมาณ 2 นิ้วกว่าๆ ขอบใบเรียบ หลังใบมีขนขึ้นออกดอกเล็กๆ สีเหลืองในฤดูร้อน กลีบดอกห้ากลีบแยกบานเป็นช่อ มีกลีบหนึ่งลักษณะคล้ายไข่ สีขาว รูปคล้ายผีเสื้อ

รส
หวานแกมฝาด ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแก้ร้อนใน ดับร้อนในเลือด แก้พิษ ใช้ภายนอกไล่ความชื้น แก้คัน ฤทธิ์เข้าปอดและม้าม

รักษา
เป็นหวัดร้อน ลมแดด ปวดร้อนมีอาการไอ ปวดฟัน ผิวหนังเป็นผื่นคัน
ฝีแผลเด็กเล็กเนื่องจากไม่สะอาด ผิวหนังเป็นตุ่มหลังจากออกหัด หูเป็น นํ้าหนอง

ตำราชาวบ้าน
1. หวัดร้อน – เถาผีเสื้อ 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง หรือต้มกับขิงสามแว่น
2. กันเป็นลมแดด – เอาเถาผีเสื้อตากแห้ง ต้มกินแทนน้ำชา
3. ปอดร้อนมีอาการไอ – เถาผีเสื้อ 1 ตำลึง ต้มกวยแชะ
4. ปวดฟันเหงือกบวม – รากเถาผีเสื้อครึ่งตำลึงกับ 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน หรือต้มพร้อมหญ้าเกล็ดหอย  1 ตำลึง อมแล้วบ้วนทิ้ง
5. ผิวหนังผื่นคัน – ใช้เถาผีเสื้อต้มน้ำอาบ พร้อมด้วยเอารากเถาผีเสื้อครึ่งตำลึง ต้มน้ำตาลแดงรับประทาน ยานี้รักษาเด็กผิวหนังเป็นแผลเนื่องจากพิษในครรภ์ หรือออกหัดแล้วเกิดแผลฝีผิวหนัง
6. หูเป็นน้ำหนอง – ใบเถาผีเสื้อตำแหลกเอาน้ำ ผสมน้ำส้มหยอดหู (ครั้งละนิด)

ปริมาณใช้
ต้นใบหรือรากสดครั้งละไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง ใช้
ภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช