สรรพคุณของกฤษณา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria agallocha Roxb.
ชื่ออื่นๆ กายูการู กายูกาฮู (ปัตตานี) ไม้หอม (ตะวันออก)
ชื่ออังกฤษ Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe. Wood, Calambac, Aglia, Akyaw.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 8-12 เมตร ลำต้นกิ่งก้านมักคดงอ เนื้อไม้อ่อนมีสีขาวเป็นเสี้ยน ใบเดี่ยวยาวเรียวรูปวงรีแกมขอบขนาน ใบกว้าง 5-6 ซ.ม. ยาว 10-12 ซ.ม. ผิวใบมัน ใบออกสลับกัน ดอกเป็นช่อยาว ช่อดอกชนิด umbel ออกดอกดกเต็มต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวมีกลิ่นหอม ผลเป็น capsule เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบรองดอกยังคงอยู่เมื่อเป็นผล
ส่วนที่ใช้ เนื้อไม้ ชัน
สารสำคัญ นํ้ามันหอมระเหยในอัสสัมเรียก Agaratar และ Chuwah นํ้ามันหอมระเหยประกอบด้วย agaroletrol, agarol, sesquiterpenes และอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา ใช้เนื้อไม้เป็นยาบำรุงหัวใจ ผสมกับยาหอมแก้วิงเวียนศีรษะ แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง แก้กระหายนํ้าในคนที่เป็นไข้
อื่นๆ ทางอุตสาหกรรมทำเครื่องหอม ผสมลงในธูป นํ้าอบไทย ไม้กฤษณาที่ดีชั้นหนึ่งราคาแพงมาก กิโลกรัมละเป็นหมื่นๆ บาท ประเทศแถบตะวันออกกลาง นิยมซื้อเอาไปเผาให้มีกลิ่นหอม โดยเฉพาะในโบสถ์ฮินดู กฤษณาที่ดีต้องมีสีดำ และมีกลิ่นหอม โดยการนำเนื้อไม้ไปฝังไว้ในดิน เนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำ
การตรวจคุณภาพของไม้กฤษณา ถ้าทิ้งท่อนกฤษณาลงในนํ้า ท่อนที่จมนํ้า มีคุณภาพดีเลิศเรียก “Gharki” ชนิดนี้เนื้อไม้จะเป็นสีดำมีกลิ่นหอม นิยมใช้ทางยา ถ้าท่อนใดลอยปริ่มนํ้ามีสีนํ้าตาลอ่อนหรือนํ้าเงินเข้ม จะเป็นกฤษณาชนิดกลางเรียก “Neem Gharki” สำหรับท่อนที่ลอยนํ้าเป็นกฤษณาชนิดเลว เรียก “Samaleh” พบอยู่ทั่วๆ ไป เมื่อเผาเนื้อไม้เกือบไม่มีกลิ่นหอม
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ