สรรพคุณของขี้เหล็ก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Brill.
ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง สุราษฎร์ธานี) ขี้เหล็กหลวง (เหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (กลาง) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (ปัตตานี)
ชื่ออังกฤษ Cassod Tree. Thai Copper Pod, Siamese Cassia.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-12 เมตร เปลือกไม่เรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยประมาณ 16-20 ใบย่อย ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 ซ.ม. ยาวประมาณ 3-4 ซ.ม. ใบอ่อนสีนํ้าตาลอมเขียว ใบแก่จัดสีเขียว อมเทาเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีเหลือง มีลักษณะการจัดช่อดอกและดอกย่อยคล้ายดอกแสมสาร ดอกตูมกลม ดอกบานใหญ่ประมาณ 1.5-2.5 ซ.ม. ผลเป็นฝักแบนยาว กว้างประมาณ 1-2 ซ.ม. ยาว 20-30 ซ.ม. เมื่อแก่จัดฝัก จะมีสีน้ำตาลดำ แตกได้
ส่วนที่ใช้ ดอก ยอดอ่อน ใบ แก่น เปลือก
สารสำคัญ พบ toxic alkaloids ในเมล็ดและใบ จะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง สมอง ไขสันหลัง ทำให้มีอาการซึมในสัตว์ทดลอง ใบอ่อน ดอก พบสารพวก chromone ชื่อ barakol มีสารพวกที่ทำให้มีรสขม ใบ เปลือก แก่น พบ 2, 2-dianthraquinone derivatives ชื่อ cassiamin นอกจากนั้นพบ rhein, saponin และอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา ยาขมเจริญอาหาร แก่น เปลือก ยาระบาย ใบและดอกใช้เป็นยาทำให้หลับสบาย เนื่องจากออกฤทธิ์ไปกดประสาทส่วนกลาง
อื่นๆ ดอก ยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร ใบแก่ใช้ทำปุ๋ยหมัก (manured)
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ