สรรพคุณของชานํ้าเต้า(จีน)

ชื่อ
จีนเรียก      โห่โล่เต๊ เล่งจิอั้ง เล่งจีเต๊ อัวทั่งเช่า Pteroloma triquetrum (L.) Desv.

ลักษณะ
พืชประเภทถั่วขึ้นตามเนินใกล้ตีนเขา เป็นพืชยืนต้นหลายปี ลำต้นสามเหลี่ยม เนื้อไม้เหนียว แตกกิ่งมากและยาวพอสมควร สูง 2-3 ฟุต ใบคู่ ก้านใบยาว 2-3 นิ้ว ฐานก้านมีใบเล็กสำรองยาวประมาณ 6-7 หุน รูปคล้ายน้ำเต้า ที่โคนใบมีกลีบใบเล็ก 2 กลีบ รูปไข่แต่ปลายแหลม หน้าร้อนแตกดอกสีม่วง รวมกันเป็นช่อ ออกลูกเป็นฝักแบน ยาวประมาณ 1 นิ้ว

รส
รสฝาดแกมหวาน ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ไล่ลม ฆ่าตัวพยาธิ ฤทธิ์เข้าปอดและม้าม

รักษา
ไอเนื่องจากหวัดลม ไอเนื่องจากปอดร้อน กระหายนํ้า เป็นลมแดด เดินทางไกลคอแห้ง เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื่องจากลม ปวดเอว บวมนํ้า
โรคทรางเด็ก

ตำราชาวบ้าน
1.ไอเนื่องจากหวัดลม – ลิ้นมังกร 2 ตำลึง ต้มนํ้าตาลกรวด หรือเอาราก 1 ตำลึง ต้มนํ้ากิน
2. กระหายนํ้าเพราะหวัดแดด – ชานํ้าเต้า 1 ตำลึง ต้มกินหรือใส่น้ำอ้อย หรือต้มกับหญ้าเฉาก๊วย 1 ตำลึง
3. เดินทางไกลคอแห้ง – ใบชานํ้าเต้าไว้ในปากสัก 2-3 ใบ ดับกระหาย
4. เจ็บคอ – ชานํ้าเต้า เถาผีเสื้อ  อย่างละ 1 ตำลึง กับกวยแชะ หรือใช้รากและรากเนียมหูเสือ  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกวยแชะ
5. ปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากรูมาติสม์ – ใช้ราก 1 ถึง 2 ตำลึง ต้มข้อขาหมู ชงด้วยเหล้า รับประทาน
6. ปวดเอว – ใช้ใบ 1 ตำลึง ต้มกับถั่วเขียว
7. บวมน้ำ – ใบ 1 ถึง 2 ตำลึง ต้มน้ำ
8. โรคทรางเด็ก – ใบ 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมู

ปริมาณใช้
ใบหรือรากสดไม่เกิน 1 ถึง 2 ตำลึง แห้งครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามใช้

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช