สรรพคุณของสีง้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Scyphiphora hydrophyllacea Gaertn. f
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่น จีง้ำ (กรุงเทพฯ), ซีฮำ (มลายู-ภูเก็ต. สตูล) รังแค (ชุมพร), ซีง้ำ (ตรัง)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1.5-4 ม. เปลือกต้นบาง สีเหลืองถึงเทา
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบอ่อนมียาง แผ่นใบอ่อนนุ่มคล้ายหนัง รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบป้านมนหรือกลม ขอบใบเรียบโคนใบแหลม ก้านใบยาว 1-2 ซม. หูใบระหว่างก้านใบกลม กว้าง 0.3 ซม.


ดอก สีขาวออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุกแน่น ก้านดอกย่อยสั้นมาก หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.3-0.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก
4-5 แฉก หลอดกลีบดอกยาว 0.3-0.4 ซม. สีขาวและเปลี่ยนเป็นสีชมพู ออกดอกเดือน พ.ค.-ส.ค.


ผล ออกเป็นกระจุก ผลเกลี้ยง สีขาว รูปทรงกระบอก ยาว 0.7-1 ซม. มีร่องลึกตามยาว ผลอ่อนนุ่ม 2-4 เมล็ดต่อผล
นิเวศวิทยา พบตามพื้นที่โล่ง ริมชายฝังแม่น้ำ ที่เป็นเลนอ่อน หรือชายฝั่งทะเลที่ดินเป็นทราย
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ มีสีน้ำตาลดำใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ขนาดเล็ก ดอกใช้ในการสกัดเป็นสารทำความสะอาด ช่วยในการซักล้าง
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบ น้ำสกัดจากใบช่วยในการลด อาการปวดท้อง
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย