สรรพคุณทางยาของดอกแก้วเมืองจีน


ดอกแก้ว

ชื่อ
จีนเรียก     จิงจูฮวยไฉ่  เตียงจูไฉ่   Artemisia lactiflara Wall.

ลักษณะ
โดยมากมักปลูกกันในบ้าน เพราะเป็นผักใช้เป็นอาหารประจำ เป็นพืช ยืนต้นหลายปี ลำต้นขึ้นตรง ขึ้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 2 ฟุต ใบสลับ ใบเป็นแฉกลึก หลังใบสีเชียวคล้ำ หน้าใบสีเขียวซีด ใบมักขึ้นจากรากโดยตรง ใบใหญ่ ถ้าเกิดจากต้นใบค่อนข้างเล็ก ใบปลายต้นยิ่งเล็กลง ใบเกิดจากรากโดยตรงจะมีก้านยาว ถ้าเกิดจากต้นก้านใบจะสั้น ออกดอกสีขาวในหน้าฝนใกล้ฤดูหนาว ขึ้นเป็นพวงกลม วัดได้ประมาณ 1-2 หุน

รส
รสขมนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ประสะเลือดให้เย็น ดับพิษ ทำให้ตาสว่าง ใช้ภายนอกดับพิษแก้อักเสบ ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด

รักษา
แก้ผิวหนังเป็นฝี สายตาฝ้าฟาง ผู้หญิงระดูไม่ปกติ เด็กเป็นตุ่มเป็นแผล
ไข้ภายนอกแก้ผื่นฝีพุพอง

ตำราชาวบ้าน
1. ผิวหนังเป็นพิษ – ดอกแก้ว 2 ตำลึง ต้มเลือดหมูรับประทาน สามารถ ประสะเลือดให้เย็นดับพิษ แก้เจ็บคอเป็นต้น เป็นอาหารประจำของคนจีน
2. ตาฝ้าฟาง – ดอกแก้ว 2 ตำลึง ต้มกับตับหมู รับประทาน
3. ผู้หญิงประจำเดือนไม่ปกติ – ดอกแก้ว 2 ตำลึง ต้มกับไข่เป็ด รับประทาน
4. ผู้หญิงประจำเดือนไม่มาเพราะร้อนใน – ดอกแก้ว 2 ตำลึง ต้มเลือดหมู หรือต้มกับม้ามหมู รับประทาน
5. เด็กเป็นตุ่มแผลพิษ – ดอกแก้ว ครึ่งตำลึง ตำเอานํ้าชงนํ้าผึ้งรับประทาน หรือต้มกับกวยแชะ รับประทาน
6. ทารกแรกเกิด ลูกอัณฑะหดเล็กผิดปกติ – ดอกแก้ว ต้มแล้วล้าง
7. เด็กเนื้อตัวพุพองเพราะพิษในครรภ์ไม่หมด – ตำดอกแก้ว เอานํ้าทาหรือผสมน้ำผึ้งทาก็ได้

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 2 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช