สรรพคุณของปรงทะเล

(Giant Leather Leaf)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum aureum Linnaeu
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรงไข่ ปรง (กระบี่). แสม (ใต้), ปรงแดง (สมุทรสาคร). ผักชล (อีสาน)
ลักษณะทั่วไป เฟิร์นขนาดกลาง มีเหง้าใหญ่เป็นเนื้อไม้แข็ง เหง้าเป็นแท่งสั้น ตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นแผ่นหนา


ใบ ใบอ่อนเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว รูปไข่ แกมรูปขอบขนานและใบแก่ เป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ โคนก้านใบมีเกล็ดบางๆ สีน้ำตาลคลุม ใบประกอบยาว 120-270 ซม.ใบย่อย 15-30 ใบ เรียงสลับใบย่อย มี 2 ชนิด คือใบย่อยตอนล่าง ไม่สร้างสปอร์แผ่นใบรูปหอก แกมขอบ ขนาน ปลายใบโค้งมน แผ่นใบกว้าง 2-4 ซม.ยาว 3-7 ซม. ส่วนใบที่อยู่ตอนบนๆ เป็นใบที่สร้างสปอร์ ลักษณะเหมือนใบที่อยู่ตอนล่างแต่มีขนาดเล็กกว่า ผิวใบด้านล่างมีอับสปอร์ติดอยู่เต็มใบ


นิเวศวิทยา พบตามป่าหลังป่าชายเลน และป่าน้ำกร่อย แต่บางครั้ง พบตามที่โล่งในป่าพรุ
การใช้ประโยชน์ ปลูกประดับสวน ริมน้ำ ริมบ่อ น้ำตก ลำธาร ทนดินเค็ม ยอดอ่อนกินสด ลวกจิ้มน้ำพริก


การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร หัว ฝนกับน้ำปูนใส หรือแช่น้ำหอยโข่ง ทาแก้ไฟลามทุ่ง ลำลาบเพลิง เริม งูสวัด
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย