สรรพคุณสมุนไพรขี้ครอก


ขี้คาก กระชัง เม็ดตะนอย หญ้าผมยุ่ง

ชื่อ
จีนเรียก    สักบ๋อเท้า  เอี้ยงไช่กุย  กาตังเกี้ย ตือบอตั่ว   Xanthium strumanum, Linn.

ลักษณะ
มักเกิดในทุ่งนาเป็นพืชล้มลุก มีขนปุยทั้งต้น ลำต้นสูงตรงประมาณ 2-3 ฟุต ออกใบสลับ ฐานใบกว้างปลายแหลม ริมใบเป็นหยักๆ เกสรตัวผู้กับ เกสรตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ออกลูกรูปกลมรี ปลายมีหนวดแหลมเกาะติดกับคนและสัตว์ได้ง่าย

รส
รสขม ธาตุปานกลางไม่ร้อนไม่เย็น มีพิษนิดหน่อย

สรรพคุณ
สามารถแก้ลม แก้หวัดร้อน ใช้ทาแก้คันลมพิษ ฤทธิ์เข้าตับและปอด

รักษา
ใช้รักษาเป็นหวัดร้อน, ตัวร้อน, ปวดลม, ปวดศีรษะเพราะลมขึ้นเบื้องสูง
ผิวหนังผื่นคัน โรคเรื้อน

ตำราชาวบ้าน
1. เป็นหวัดปวดเมื่อยตามร่างกาย – ใช้รากต้นขี้ครอก 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดง
2. เป็นหวัดตัวร้อน – ใช้รากต้นขี้ครอก 1 ตำลึง และปีกแมลงวัน 1 ตำลึง ต้มกิน
3. ปวดเมื่อยเป็นรูมาติสม์ – รากต้นขี้ครอก 1 ตำลึง ต้มกับกระดูกหมู
4. ปวดหัวเพราะลมขึ้นเบื้องสูง – รากต้นขี้ครอก 1 ตำลึง ต้มเนื้อหมูรับประทาน
5. ผื่นคัน – รากต้นขี้ครอก 5 เฉียน ต้มกับถั่วดำและนํ้าตาล รับประทาน
6. โรคเรื้อน – เอาต้นขี้ครอกทั้งต้นเคี่ยวเป็นเปียก กินครั้งละ 5 เฉียน เป็นประจำ
7. รักษาโรคผิวหนังคัน – เอาต้นขี้ครอกทั้งต้นหนัก 1 ตำลึง ต้มน้ำตาลแดง รับประทาน ใช้น้ำต้มเฉยๆ ล้างผิวหนังก็ได้

ปริมาณใช้
ใช้รับประทานทั้งต้นหรือรากไม่เกินครึ่งตำลึง ถึง 2 ตำลึง แห้งใช้ไม่เกิน 3 เฉียน ถึง 1 ตำลึง ใช้ใบและกิ่งกะประมาณตามสมควร

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช