สะท้อนรอก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus robustus Roxb.
ชื่อวงศ์ ELAEOCARPACEAE
ชื่ออื่น ทอนรอก ทะรอก ลูกกระรอกบานด่าน สมอพัน
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำถึงค่อนข้างกลม โคนต้นเป็นพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนทั่วไป


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-13 ซม. ยาว 8-25 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมนกลม ขอบใบหยักมน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาปกคลุม ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นแดงเข้ม ก้านใบยาว 2-9 ซม.


ดอก สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ด้านข้างกิ่ง ช่อดอกห้อยลง ยาว 6-21 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกจักเป็นริ้วละเอียด เกสรเพศผู้จำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1 ซม. ออกดอกเดือน เม.ย.-พ.ค.
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลมรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-4.5 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเขียวอมน้ำตาลมีขนสีเทาปกคลุมหนาแน่น เมล็ด มีเปลือกแข็ง รูปรีแกมรูปขอบขนานสีน้ำตาล จำนวน 1-3 เมล็ดต่อผล ติดผลเดือน มิ.ย.-ธ.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าพรุและป่าดิบชื้น ที่ความสูงระดับตํ่าจนถึง 800 ม. จากระดับน้ำทะเล
การใช้ประโยชน์ ผล เป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างภายใน อาคารบ้านเรือน
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย