สารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคพืช

CHEMICALS USED IN DISEASE CONTROL
สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมโรคเป็นสารเคมีกลุ่มต่างๆ ที่จำแนกออกได้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ
1) ชนิดของสารเคมี
2) แบบของปฏิกิริยา และ
3) พื้นฐานของการใช้ประโยชน์กับพืช
ชนิดของสารเคมี
แบบของปฏิกริยา การแบ่งโดยอาศัยปฏิกริยาของสารเคมีสามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ
1. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อพืชเป็นกระจายทั่วต้น (systemis action) และไม่กระจายทั่วต้น (non-systemic action)
2. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อเชื้อโรค เป็นสารที่ใช้ป้องกัน (protectants) สารที่ใช้รักษา (therapeutants) และสารที่ใช้กำจัด (eradicants)
สารที่ใช้ป้องกัน จะใช้ได้ผลก่อนที่เชื้อเข้าสู่พืช สารที่ใช้ควบคุมเชื้อรา (fungicide) ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นสารในประเทศนี้ สารที่ใช้รักษาเป็นสารเคมีที่แทรกซึมเข้าไปฆ่าเชื้อภายในพืช ซึ่งสารเคมีส่วนมากเป็นพวกที่มีปฏิกริยาต่อพืชแบบกระจายทั่วต้น ส่วนสารที่ใช้กำจัดจะสามารถลดจำนวนของ inoculum ที่แหล่งเกิดได้ สารเคมีที่ปฏิกริยาแบบใช้ป้องกันและสารเคมีที่ใช้กำจัด จะเป็นสารที่มีปฏิกริยาต่อพืชแบบกระจายทั่วต้น
พื้นฐานของการใช้ประโยชน์กับพืช สามารถแบ่งออกได้จากการใช้ประโยชน์ที่ได้ผล คือ สารที่ใช้ป้องกันเมล็ด (seed protectants) สารที่ใช้ป้องกันผลไม้ (fruit protectants) สารที่ใช้ป้องกันใบ และดอก (foliage and blossom protectants) สารที่ใช้กับดินก่อนปลูกพืช และสารที่ใช้หลังปลูกพืช เป็นต้น
กลไกของสารเคมีที่มีปฏิกริยาต่อเชื้อโรค (Mechanism of action)
สารเคมี ซึ่งส่วนมากเป็นสารที่ควบคุมเชื้อรา จะมีฤทธิ์หรือขัดขวางต่อระบบการ metabolism ของจุลินทรีย์ การออกฤทธิ์ของสารเคมีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารในการเป็นพิษ และการซึมซาบของสารกับเชื้อ คุณสมบัติของสารดังกล่าวเป็นคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ได้แก่ขนาดของอนุภาค ความสามารถในการละลาย lipid การติดใบพืช ขนาดและรูปร่างของโมเลกุลและคุณสมบัติทางเคมี รวมถึงเสถียรภาพของสารและการแยกกันได้ของปฏิกริยาระหว่างส่วนประกอบของเซลพืชกับส่วนประกอบของเชื้อโรค สารเคมีจะต้องมีพิษต่อเชื้อโรคที่ระดับความเข้มข้นระดับใดระดับหนื่งของสาร แต่ไม่มีอันตรายต่อพืช ปฏิกริยาของสารเคมีมีดังนี้
ก. สารเคมีมีปฏิกริยาต่อกลไกหน้าทีของเซล โดยสารเคมีที่ควบคุมเชื้อราจะเกิดปกิกริยาเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้
1) ปฏิกริยาแบบ oxidation-reduction
2) ปฏิกริยากับการรวมของโครงสร้างสารอินทรีย์ กับโลหะในเซล 3) มีปฏิกริยาแทนที่การทำงานตามปกติ และ
4) มีปฏิกริยาควบคู่กันไป
ข. สารเคมีจะมีปฏิกริยาเฉพาะกับส่วนประกอบของสารบางชนิดของเซล สารเคมีส่วนมากจะมีปฏิกริยาไปต่อต้านการ metabolite และยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ รบกวนการสังเคราะห์โปรตีน และ nucleic acid ส่วนการที่สารมีพิษต่อพืชและเชื้อได้แตกต่างกันอาจเป็นเพราะ
1) สารเคมีแทรกซึมเยื่อหุ้มของเชื้อได้เร็วกว่าเยื่อหุ้มของพืช
2) เชื้อราไม่สามารถ metabolite สารที่เป็นพิษ แต่พืชสามารถทำ
ได้ และ
3) สารเคมีที่ใช้จะไปทำให้สารประกอบที่เกิดจากการ metabolism ในเซลของเชื้อเสื่อม แต่ไม่เกิดกับเซลพืช
คุณสมบัติของสารเคมีควบคุมโรค
สารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคได้ดี ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่สลายตัวง่าย
2. สามารถคลุมผิวพืชได้ดี ซึ่งอาจปรับปรุงได้โดยใส่สารที่ช่วยให้เปียกง่าย (wetting agenet) และสารช่วยกระจายยา (spreader) เพิ่มเติม และ
3. ไม่มีพิษต่อพืช และไม่ตกค้างที่ใบจนเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์
สารประกอบทองแดง (Copper compounds)
ยาบอร์โด (Bordeaux mixture) เป็นสารควบคุมโรคเกิดจากเชื้อราที่รู้จักกันดีมาช้านาน สูตรใช้กันทั่วไปประกอบด้วย จุนสี (copper sulphate) ปูนเผาและน้ำในอัตราส่วน 8 : 8 : 100 (จุนสี 8 ปอนด์ ปูนเผา 8 ปอนด์ และน้ำ 100 แกลลอน)
2CUS04 + Ca (OH)2     → Cu (OH)2 + CaS04
วิธีการผสมควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผสมจุนสีกับน้ำ ส่วนหนึ่ง (50 แกลลอน) และปูนเผากับนํ้าส่วนหนึ่ง (50 แกลลอน) เมื่อต้องการใช้ยาจึงนำทั้งสองส่วนมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน ยาที่ผสมกันแล้วควรใช้ทันที อย่าทิ้งไว้นานข้ามคืน เพราะจะทำให้ยาเสื่อมฤทธิ์มากขึ้นตามลำดับ ยานี้มักมีพิษต่อพืช ทำให้ใบและผลไหม้ โดยเฉพาะพืชอวบน้ำ การเพิ่มสัดส่วนของปูนจะช่วยลดการเป็นพิษต่อพืชได้บ้าง
ใช้ควบคุมโรคเกิดจากเชื้อรา บักเตรี เช่นใบจุด ใบไหม้ และราน้ำค้างต่างๆ ได้
Burgundy mixture เป็นสารควบคุมโรคที่เตรียมในลักษณะเดียวกับยาบอร์โด และสูตรที่เตรียมก็ใช้ในอัตราเดียวกัน เพียงแต่ใช้โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) แทนปูนเผา
สารประกอบทองแดงที่ไม่ละลายน้ำ (Fixed or insoluble copper compounds) ไอออนของทองแดงยึดแน่นอยู่กับโมเลกุลของสาร ทำให้มีคุณสมบัติละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย จึงมีพิษต่อพืชน้อยกว่ายาบอร์โด แต่ก็ให้ผลต่อการควบคุมโรคน้อยกว่าด้วย ใช้ได้ทั้งในรูปพ่นผงและในรูปผงละลาย้ำ เป็นทองแดงที่อยู่ในรูป copper oxychloride (CuCl2 . 3Cu (OH)2), cuprous oxide ฯลฯ การใช้ทั่วไปจะอยู่ในอัตรา 7% ของทองแดงในการพ่นผง และ 4 ปอนด์ในน้ำ 100 แกลลอน ในการฉีดพ่นเป็นผงละลายน้ำ
กลไกของปฏิกริยา ทองแดงเป็นโลหะที่มีพิษต่อเชื้อมากที่สุดตัวหนึ่ง ซึ่งสารโลหะที่มีพิษ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ Ag Hg and Cu กลุ่มที่ 2 คือ Cd, Cr, Ni, Pb, Co and Zn และกลุ่มที่ 3 คือ Fe and Ca มีพิษมากน้อยตามลำดับ การที่มีพิษต่อเชื้อเนื่องจากไปทำให้เอนไซม์เสื่อมฤทธิ์โดยไปตกตะกอนโปรตีน ซึ่งเอนไซม์เป็นโปรตีนทองแดงทำลายสปอร์ของเชื้อด้วยการรวมกับ sulphhydril group ของเอนไซม์
สารประกอบกำมะถัน (Sulfur Compounds)
สารประกอบกำมะถันที่ใช้ในการควบคุมโรคแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ กำมะถันที่เป็นอนินทรีย์สาร และกำมะถันที่เป็นอินทรีย์สาร สารประกอบกำมะถันสามารถควบคุมโรคเกิดจากเชื้อราได้ดีมาก ดัง รายละเอียด
กำมะถันที่เป็นอนินทรีย์สาร
ธาตุกำมะถัน (elemental sulfur) เป็นสารควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา มีทั้งแบบใช้พ่นผง และผงละลายน้ำ รวมทั้งเป็นของเหลวใช้ทา กำมะถันมีจำหน่ายในรูปของชื่อการค้าต่างๆ กัน แบบที่ใช้พ่นผง สารเคมีจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาคของผงกำมะถัน ประกอบกับวิธีการใช้ขนาดของอนุภาคโดยทั่วไปไม่เกิน 74 X 47 ไมครอน แบบใช้เป็นผงละลายน้ำ ส่วนมากมักใช้ในอัตรา 1-6 ปอนด์ต่อนํ้า 100 แกลลอน
กำมะถันอาจมีพิษต่อพืชขณะที่อากาศร้อน แห้ง ทำให้พืชใบไหม้ โดยเฉพาะพืชพวกมะเขือเทศ แตงต่างๆ และองุ่น สามารถใช้ควบคุม
โรคราสนิม ใบแห้ง และผลเน่าได้ดี
กำมะถันปูน (lime sulfur) กำมะถันปูนหรือ calcium polysulfide เป็นผลิตผลที่ได้จากการรวมกันของปูนกับกำมะถัน สัดส่วนที่ใช้เป็น ปูน : กำมะถัน : น้ำ = 20 : 15 : 50 (ปอนด์-ปอนด์-แกลลอน) จะทำให้ได้ polysulfide เข้มข้น 7-10%
กลไกของปฏิกริยา กำมะถัน ออกฤทธิ์มีพิษต่อเชื้อในรูปของกำมะถันที่ถูก oxidized (oxidized sulfur theory) เป็นกรดเพนตาไธโอนิค (pentathionic acid), SO2 และ SO3 ขณะอยู่ในอากาL และอาจ,uพิษต่อเชื้อในรูปของ H2S (hydrogen sulfide theory)
กำมะถันนอกจากจะมีพิษต่อพืชมีอาการไหม้แล้ว ยังยับยั้งการงอกของละอองเกสร และลดการติดผล หากใช้ในรูปกำมะถันปูนที่ใบ จะทำให้พืชมีการสังเคราะห์แสงน้อยลง
กำมะถันที่เป็นอินทรีย์สาร
สารควบคุมโรคกำมะถันอินทรีย์ อยู่ในรูปของ carbamate group เป็นอนุพันธุ์ของ dithiocarbamic acid

สาร dithiocarbamate สามารถแบ่งออกได้โดยอาศัยโครงสร้างทางเคมี และปฏิกริยาทางชีววิทยา ออกเป็น 2 พวก คือ
ก. Dialkyl – dithiocarbamates


ได้แก่ 1. Thiram ประกอบด้วย dithiocarbamic acid 2 โมเลกุลเชื่อมกัน

Thiram มีชื่อการค้าต่างๆ เช่น ไทแรม (THIRAM) อราแซน (ARASAN) เทอร์แซน (TERSAN) ไธเลต (THYLATE) สปอตตรีต (SPOTTRETE) ออร์โธลอน (ORTHO LAWN) ฯลฯ ส่วนมากใช้กับเมล็ดและหัวของผักและไม้ดอกไม้ประดับ แต่ก็ใช้ควบคุมโรคที่ใบด้วย เช่น โรคราสนิมของหญ้า ผลไม้ ผัก และใช้ได้ดีมากในดินเพื่อควบคุมโรคโคนเน่าระดับดินและใบแห้งของกล้าพืช
2. Ferbam ประกอบด้วย dithiocarbamic acid 3 โมเลกุล เชื่อมกับเหล็ก 1 อะตอม

Ferbam มีชื่อการค้าต่างๆ กัน เช่น เฟอร์แบม (FERBAM) เฟอร์เมต (FERMATE) คาร์บาเมต (CARBAMATE) โคโรเมต (COROMATE) คาร์แบม แบลค (CARBAM BLACK) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคที่ใบของไม้ผลเป็นส่วนมาก และไม้ดอกไม้ประดับ
3. Ziram

Ziram เป็นสารประกอบที่มี Zn ร่วมอยู่ด้วยโดยเชื่อม dithiocarbamic acid 2 โมเลกุลเข้าด้วยกัน มีชื่อการค้าเป็น เซอร์เลต (ZERLATE) คาร์แบม ไวท์ (KARBAM WHITE) โคโรเซต (COROZATE) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคที่ใบของผักต่างๆ และไม้ดอกไม้ประดับ
ข. Monoalkyl – dithiocarbamates

ได้แก่
1. Nabam เป็นอนุพันธ์ของ dithiocarbamic acid ที่มีโซเดียมอยู่ด้วย

Nabam มีชื่อการค้าว่า ไดเทน ดี-14 (DITHANE D-14) พาร์เซต ลิควิด (PARZATE LIQUID) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคที่ใบของไม้ดอกและผักต่างๆ
2. Zineb เป็นอนุพันธ์ของ dithiocarbamic acid ที่มีสังกะสีร่วมอยู่ด้วย

Zineb มีชื่อการค้าว่า ไดเทน แซด-78 (DITHANE Z-78) พาร์เซต (PARZATE) ฯลฯ ใช้ในการควบคุมโรคเกิดจากเชื้อราทางใบ และดินปลูกได้ดีมาก เช่นโรคใบจุด ใบแห้ง ผลเน่าของผักต่างๆ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้พุ่ม
3. Maneb เป็นอนุพันธ์ของ dithiocarbamic acid ที่มีแมงกานีสร่วมอยู่ด้วย

Maneb มีชื่อการค้าว่า แมนเซต (MANZATE) ไดเทน เอม-22 (DITHANE M-22) เทอร์แซน แอล เอส อาร์ (TERSAN LSR) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคเชื้อราที่ใบ ผล และผักต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมะเขือเทศ มันฝรั่ง ไม้ดอก ไม้เลื้อย ไม้ยืนต้นบางชนิด
ยาพวก dithiocarbamate ส่วนใหญ่ใช้ฉีดพ่นในอัตรา 2 ปอนด์ต่อนา 100 แกลลอน แต่ zineb และ thiram มักใช้ในอัตรา 1-1.5 ปอนด์ต่อน้ำ 100 แกลลอน
กลไกของปฏิกริยา สารประกอบเหล่านี้จะไปรบกวน Krebs cycle สารพวก monoalkyl dithiocarbamate จะไม่มีพิษต่อพืช หากไม่ถูกอากาศมาก่อน เพราะอากาศจะทำให้สารแตกตัวไปเป็น ethylene mono and disulfide, carbondisulfide และ sulfide ที่ก่อให้เกิด ethylene bis-dithiocarbamate เป็นพิษต่อพืช
สารประกอบปรอท (Mercury compounds)
สารปรอทที่ใช้ควบคุมโรค แบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือสารประกอบที่เป็นอนินทรีย์และอินทรีย์
สารปรอทอนินทรีย์
สารประกอบที่เป็นอนินทรีย์ mercuric chloride, HgCl2 หรือชื่อที่ทราบกันเป็น mercury bichloride และ mercurous chloride, Hg2 Cl2 หรือชื่อที่ทราบกันว่า CALOMEL, CALOGREEN ฯลฯ ใช้ในการควบคุมโรคเกิดจากบักเตรีและรา โดยใช้แช่ราก หัว ใช้ทำความสะอาดเครื่องมือตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ ความเข้มข้นที่ใช้ทั่วไป เป็นอัตรา 1 : 1,000
สารปรอทอินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์ของปรอทเป็นสารควบคุมเชื้อราและบักเตรีที่มีพิษสูงมากมีพิษต่อพืช คน และสัตว์ ส่วนมากจึงใช้ประโยชน์ในการคลุกเมล็ด มีเพียง 2-3 ชนิด ที่ใช้พ่นบนใบพืช พวกที่ใช้คลุกเมล็ดมี phenyl mercuryurea (AGROX), CERESAN, CERESAN M, NEW IMPROVED CERESAN ซึ่ง 3 ชนิดหลังนี้เป็นอนุพันธุ์ของ ethyl mercury อรีแตนและอกาลลอล (ARETAN AND AND AGALLOL) อนุพันธุ์ของ methoxy ethyl mercury chloride, MER-SOLS อนุพันธุ์ของ phenylmercury acetate,PANOGEN อนุพันธุ์ของ methylmercury dicyandiamide, ซีมีแซน (SEMESAN) อนุพันธุ์ของ hydroxymercury chlorophenol etc. และพวกที่ใช้พ่นใบในการควบคุมโรคของหญ้า เช่น PMAS (phenylmercuric acetate) เป็นต้น
กลไกของปฏิกริยา ปฏิกริยาของสารปรอทในการควบคุมโรค โดยสารจะระเหย หรือเป็นไอออน ไปทำให้ sulhydril group อิสระ (-SH) ของเอนไซม์เสื่อมฤทธิ์ สารอินทรีย์ของปรอทจะมีพิษต่อเชื้อได้ มากกว่าสารอนินทรีย์ ทั้งนี้เป็นเพราะสารอินทรีย์สามารถละลายใน lipid ได้ดีกว่า จึงแทรกซึมผ่านเยื่อหุ้มของสปอร์เข้าไปเกิดปฏิกริยาภายในได้ง่ายกว่า
การคลุกเมล็ดด้วยสารอินทรีย์ของปรอทใช้ควบคุมโรคที่เชื้อติดมากับภายนอกของเมล็ดเป็นหลัก โดยที่สารนี้จะสามารถกำจัด inoculum ที่เมล็ดได้ เช่นการคลุกเมล็ดกำจัดโรคเขม่าดำของธัญพืช เป็นต้น
สารควิโนน (Quinones)
ควิโนนมีอยู่ในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและเกิดขึ้นที่ oxidation ของสารประกอบฟีนอล ซึ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ ในการต่อต้านจุลินทรีย์โดยร่วมอยู่กับการต้านทานโรคของพืช สารประกอบควิโนนที่ นำมาใช้เป็นการค้าในการควบคุมโรค มี chloranil และ dichlone
1. Chloranil


Chloranil (tetrachloro-p-benzoquinone) มีชื่อการค้าว่าสเปอร์กอน (SPERGON) ใช้คลุกหรือแช่เมล็ด หัว ไม้ดอก ผัก หญ้าบางชนิด และใช้พ่นผง และฉีดพ่นโรคที่ใบ เช่นโรคราน้ำค้างของแตง โรคโคนเน่าระดับดิน เป็นต้น
การใช้คลุกเมล็ด ใช้ในอัตรา 3-12 ออนซ์ต่อเมล็ด 100 ปอนด์ และการฉีดพ่นใช้อัตรา 1.5-4 ปอนด์ต่อน้ำ 100 แกลลอน
2. Dichlone


Dichlone (2, 3-dichloro-l, 4-naphthoquinone) มีชื่อการค้าว่าพ่ายกอน (PHYGON) ฟายกอน เอ็กซแอล (PHYGON XL) ใช้คลุกเมล็ดผักและหญ้าบางชนิด เป็นส่วนใหญ่ และใช้ฉีดพ่นป้องกัน และะกำจัดโรคใบแห้ง ผลเน่า canker ของผักและไม้ผล
การคลุกเมล็ดจะใช้ในอัตรา 1-4 ออนซ์ต่อนํ้าหนักเมล็ด 100 ปอนด์ และการฉีดพ่นใช้อัตรา 0.5-1.5 ปอนด์ ต่อน้ำ 100 แกลลอน
กลไกของปฏิกริยา สารควิโนนไปยึดเกาะกับ SH และ NH2 groups ในเซลของเชื้อรา โดยอะตอมของ CI ถูกแทนที่และไปรบกวนระบบการเคลื่อนย้ายอีเลคตรอนป้องกันไม่ให้เกิด phosphorylation
การประกอบเบนซีน (Benzene Compounds)
สารประกอบเบนซีนที่มีพิษต่อจุลินทรีย์และพัฒนามาเป็นสารใช้ควบคุมโรค เกิดจากเชื้อราทางการค้า มีอยู่หลายชนิดดังนี้
1. Dinitro-o-cresol มีชื่อทางการค้าเป็นเอลเกทอล (ELGETOL), เครไนด์ (KRENITE) เป็นต้น

ใช้ควบคุมโรคของไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ โดยฉีดพ่นก่อนการงอก หรือทาแผลพืช
2. PCNB (pentachloronitrobenzene) มีชื่อการค้าว่า PCNB, เทอราคลอร์ (TERRACHLOR) ฯลฯ เป็นสารควบคุมเชื้อราในดินที่ออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ใช้ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราในดินของผัก ไม้ดอกไม้ประดับ หญ้าต่างๆ


3. Dichloran (2, 6-dichloro-4-nitroaniline) มีชื่อการค้าว่า โบแตรน (BOTRAN), DCNA etc ใช้ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ใบ และในดินของผัก ไม้ดอก และจุ่มผัก ผลไม้ ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว


4. Dinocap [2 (1-methylheptyl) -4-6-dinitro-henyl crotonate] มีชื่อการค้าว่าอะราเธน (ARATHANE),คาราเทน ( KARATHANE ) มิลเดกซ์ (MILDEX) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคราแป้งขาว


5. Dexon [p-(dimethylamino) benzene-diazosodium sulfonate] เป็นสารควบคุมโรคโคนเน่าระดับดิน โรครากเน่า ของไม้ดอกไม้ประดับ ผัก และไม้ผล ใช้กับเมล็ดและดิน


6. Daconil 2787 (tetrachloro isophthalonitrile) เป็นสารที่ใช้ได้กว้างขวาง ปลอดภัย ใช้ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราเช่นใบจุด ใบแห้ง ดอกแห้ง ผล เป็นจุดและเน่า โรคราแป้งขาว

สารประกอบ heterocyclic (Heterocyclic Compounds)
1. Captan (N-trichloromethylthiotetrahydrophthalimide) มีชื่อการค้าต่างๆ เช่น แคพแตน CAPTAN), ออร์โธไซด์ ORTHOCIDE) ฯลฯ เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคเกิดจากเชื้อราได้ดีใช้ได้กว้างขวางในการควบคุมโรคใบจุด ใบแห้ง ผลเน่าของผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สนามหญ้า


ใช้ป้องกันโรคที่เมล็ด โดยคลุกเมล็ดผัก ไม้ดอก หญ้าต่างๆ และย้งใช้จุ่มป้องกันโรคหลังการเก็บเกี่ยวกับผลไม้และผักต่างๆ
กลไกของปฏิกริยา
1) เข้าไปรบกวนขบวนการเกิดคาร์บอนไดอ๊อคไซด์จากพลายรูเวตในปฏิกริยา fecarboxylation
2) อาจเป็นปฏิกริยาของกำมะถันหรือคลอรีนที่เป็นส่วนประกอบของสาร เช่นกำมะถัน ทำปฏิกริยากับน้ำขณะใช้ ฉีดพ่น เปลี่ยนไปเป็น polysulfide ทำให้มีพิษต่อเชื้อ เป็นต้น
3) อาจมีปฏิกริยา เกี่ยวกับ sulhydril group หรือเป็นปฏิกริยาที่เกิดจากการปล่อยสารพิษ thiophosgene จาก captan ในเซลของเชื้อรา
4) เป็นการสูญเสียกำมะถันจากเซลของเชื้อซึ่งอาจเป็นไทโอล (thiols) ในเซล และ
5) ทำให้ขบวนการหายใจของสปอร์ชงัก โดยพบว่าสปอร์มีการสะสมอนินทรีย์ฟอสเฟต pyruvate, nucleic acid และ lipid ลดลง ยับยั้งการสังเคราะห์ citrate จาก acetate ซึ่งมีสัดส่วนกับการงอกของสปอร์อีกด้วย
2. Folpet (N-trichloromethylthiophthalimide) มีชื่อการค้าว่า ฟอล เปท (FOLPET), ฟาลแทน (PHALTAN) ออร์โธฟาลแทน (ORTHOPHALTAN )ฯลฯ เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคคล้าย captan แต่ใช้ควบคุมโรคราแป้งขาวได้ด้วย

กลไกของปฏิกริยา สารมีพิษต่อเชื้อโดยที่สารไปยึดเกาะกับสารที่ไม่ละลายในเอธิลแอลกอฮอล์ของเซลที่อะตอมของกำมะถันของสาร
3. Difolatan [N-(1, 1, 2, 2-tetrachloroethylsulfenyl) -cis-4-cycIohexene 1, 2-dicarboximide] มีชื่อการค้าเป็น ไดโฟลาแตน (DIFOLATAN) โฟลสิด (FOLCID) ออร์โธไดโฟลาแตน (ORTHO DIFOLATAN) ฯลฯ มีคุณสมบัติเหมือน captan และ folpet ใช้ควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่ง


4. Glyodin (2-heptadecylglyoxalidine acetate) มีชื่อการค้าว่า กลายโอดิน (GLYODIN) เครกกลายโอดิน (CRAG GLYODIN) ฯลฯ ใช้ควบคุมโรค scab ของแอปเปิล โรคของไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ

5. Dyrene (2, 4-dichloro-6-0-chloroanilo-s-triazene) มีชื่อการค้าเป็นดายรีน (DYREN เทอร์ฟต๊อกซ์ (TURFTOX) ฯลฯ ใช้ฉีดพ่นควบคุมโรคไม้ดอก ไม้ประดับ หญ้าและผักต่างๆ

สารประเภทดูดซึม
Oxanthiin Compounds
อนุพันธุ์ของสารประกอบ oxanthiin ที่พัฒนาเป็นการค้ามี DMOC (VITAVAX) และ DCMC (PLANTVAX)


สารประกอบทั้งสองละลายน้ำได้ดีพอสมควร มีคุณสมบัติเป็นแบบกระจายในต้นพืชสู่เบื้องบนมีพิษต่อเชื้อรา Basidiomycetes สูงใช้ในการควบคุมโรคราสนิม ราเขม่าดำ การใช้มีทั้งคลุกเมล็ดและฉีดพ่น สลายตัวได้ในดิน ให้ผลดีในการควบคุมโรค soreshin ของฝ้าย (Rhizoctonia solani)
กลไกของปฏิกริยา อาจเกี่ยวข้องต่อการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อโดยไปยึดเกาะ ribosome และอาจเกี่ยวกับการละลายของสารใน lipid
Benzimidazoles
1. Benomyl [methyl 1-(butylcarbamoyl) -2 benzimidazole carbamate] มีชื่อการค้าว่า (BANLATE, TERSAN 1991 ฯลฯ เป็นสารเคมีทีต่อต้านเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติกระจายทั่วต้นพืชโดยเคลื่อนสู่เบื้องบน ใช้ได้ผลดีแม้ในอัตราเข้มข้นตํ่า เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ เน่า scabs โรคที่เกิดกับเมล็ด และจากดิน โดยเฉพาะโรคราแป้งขาวของพืช ใบจุดดำของกุหลาบ ใบไหม้ของข้าว โรคเกิดจากเชื้อ Botrytis, Cercospora, Rhizoctonia, Thielaviopsis,Ceratocystis, Fusarium และ Verticillium แต่ใช้ไม่ได้ผลกับโรคที่เกิดจากเชื้อรา Phycomycetes, Imperfect fungi ที่มีสปอร์สีดำบางชนิด เช่น Helmin- thosporium และ Alternaria รา Basidiomycetes บางชนิด และบักเตรี ยานี้ใช้ได้ทั้งฉีดพ่นทางใบ คลุกเมล็ด ฉีดเข้าลำต้น จุ่มราก ผลไม้ โรยในแถวพืช

2. Thiabendazole [2-(4-thiazolyl) benzimidazole] มีชื่อการค้าเป็น MERTECT, TOBAZ ฯลฯ เป็นยาที่ปลอดภัย ใช้ได้กว้างขวาง ให้ผลดีในการควบคุมโรคที่เกิดจาก Imperfect fungi เช่น ใบจุด
ของสนามหญ้า และไม้ดอก ไม้ประดับ หัว ใช้ควบคุมโรค หลังการเก็บเกี่ยว เช่น โรคเน่าของส้ม กล้วย ฝรั่ง แพร์ เป็นต้น ตลอดจนโรคใบจุดของผักกาดหวาน (Cercospora beticola)
3. Thiophanate ethyl มีชื่อการค้าว่า TOPSIN, CERCOBIN และ CLEARY ใช้ควบคุมโรคจากเชื้อราที่รากได้มีหลายชนิด และโรคที่ใบของหญ้าในสนาม
4. Thiophanate methyl มีชื่อการค้าว่า FUNGO, TOPSIN M, CERCOBIN M, ZYBAN, HIPCO SPOT KLEAN ฯลฯ ใช้ควบคุมโรคในสนามหญ้า ฉีดพ่นทางใบควบคุมโรครานํ้าค้าง ราแป้งขาว โรคเกิดจากเชื้อ Botrytis โรคใบจุด ผลเป็นจุด scab เน่าต่างๆ สามารถใช้ผสมดินควบคุมเชื้อในดิน ในแปลงเพาะกล้า ในกระถางปลูก และฉีดพ่นทางใบทั่วไป
Pyrimidines
ประกอบด้วยสารประกอบ dimethirimol, ethirimol และ triarimol ซึ่งให้ผลดีในการควบคุมโรคราแป้งขาวและเชื้อราบางชนิด ยานี้เคยใช้คลุกเมล็ดและคลุกดินมาก่อน
การดูดซึมเบ็ดเตล็ด
1. Chloroneb (1, 4-dichloro-2, 5-dimethoxy-benzene) มีชื่อการค้าว่า DEMOSAN, TERSAN SP หรือ CHLORONEB ใช้คลุกเมล็ด และคลุกดิน ให้ผลดีในการควบคุมโรคเกิดจากเชื้อ Rhizoctonia spp.
2. Ethazole [5-ethoxy-3-(trichloromethyl) 1, 2, 4-thiadiazole] มีชื่อการค้าว่า TRUBAN TERRAZOLE, KOBAN ใช้คลุกเมล็ด คลุกดิน และในสนามหญ้า ควบคุมโรคโคนเน่าระดับดินและ ใบไหม้ กล้าพืชของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้เพาะชำต่างๆ ยานี้มักผสมขายร่วมกับ PCNB โดยมีชื่อการค้าว่า TERRACHLOR-SUPER-X, TERRA-COAT (6.1% ethazole + 23% PCNB) ใช้ควบคุมโรคใบไหม้ของถั่วลิสงที่เกิดจาก Rhizoctonia, Fusarium และ Thielaviopsis หรือผสมกับ thiophanate methy โดยให้ชื่อการค้าว่า BANROT เพื่อให้ควบคุมโรคกว้างขวางขึ้น
3. Triforine ใช้ควบคุมโรคที่ใบ ไม้ผล และไม้ดอก ไม้ประดับต่างๆ
สารประกอบอินทรีย์เบ็ดเตล็ด
สารประกอบเหล่านี้ เป็นสารควบคุมที่ใช้ป้องกันโรคเกิดจากเชื้อราบางกลุ่ม และบางโรคได้ดี
1. Dodine (N-dodecylguanidine acetate) มีชื่อการค้าว่า CYPREX ใช้ควบคุมโรค scab

ของแอปเปิลได้ดีที่สุด และยังใช้ควบคุมโรคที่ใบของสตรอเบอรี่ กุหลาบ เชอรี่ ยาสามารถควบคุมโรคอยู่นานและยังกำจัดได้อีกด้วย ยานี้มีปฏิกริยากระจายได้เฉพาะแห่ง เช่นในใบ เป็นต้น
2. Polyram เป็นสารเคมีที่ใช้คุมใบและเมล็ด มีส่วนผสมที่ซับซ้อนของ zinc polyethylet thiuram disulfide ใช้ควบคุมโรคราสนิม ราน้ำค้าง ใบจุด ใบแห้งของผัก ไม้ดอกไม้ประดับและไม้ยืนต้น มีชื่อการค้าว่า POLYRAM เช่นกัน
3. Fentin hydroxide มีชื่อการค้าว่า DU-TER ใช้ควบคุมโรคเกิดจากเชื้อราได้กว้างขวาง เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ scab และยังมีคุณสมบัติที่ช่วยระงับแมลงไม่ให้กัดกินพืชได้อีกด้วย
4. Oxyquinoline sulfate (รวมทั้ง benzoate และ citrate) ใช้ใส่ดินควบคุมโรคโคนเน่าระดับดิน และโรคจากเชื้อในดินอื่นๆ หากผสมกับยาที่เป็นสารประกอบทองแดงใช้คลุกเมล็ด ฉีดพ่นใบควบคุมโรคไม้ผล ผักบางชนิด และยังใช้รักษาไม้ที่ทำกล่องเก็บของ ตะกร้าต่างๆ ได้อีกด้วย
5. Cadmium chloride และ cadmium succinate มีชื่อการค้าว่า CADDY และ CADMINATE ตามลำดับ ใช้ควบคุมโรคในสนามหญ้า
6. Zinc naphthenate ใช้ฆ่าเชื้อและเก็บรักษาไม้ต่างๆ
สารปฏิชีวนะ
สารปฏิชีวนะเป็นสารที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น และมีพิษต่อจุลินทรีย์อื่นๆ ปฏิชีวนะสารที่รู้จักจนถึงปัจจุบันนี้ส่วนมากเป็นผลิตผลของ Actinomycetes และเชื้อราบางชนิด ปฏิชีวนะสารส่วนมากมีพิษต่อบักเตรี ริคเคทเซีย มายโคพลาสมา และเชื้อราบางชนิด ปฏิชีวนะสารมีสูตรทางเคมีซับซ้อน และที่ใช้ควบคุมโรคพืชทั่วไป จะดูดซึม เคลื่อนย้ายกระจายทั่วต้นพืช สารไปมีปฏิกริยาต่อเชื้อโรค หรือต่อพืชอาศัยโดยตรงหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพืชอาศัย ปฏิชีวนะสารที่สำคัญมากที่สุดในการควบคุมโรคพืช ได้แก่ streptomycin, tetracyclines และ cycloheximide
1. Streptomycin (สร้างโดย Streptomyces griseus) หรือ streptomycin sulfate มีชื่อการค้าว่า AGRI-MYCIN100.PHYTOMYCIN.ORTHO STREPTOMYCIN, AGRISTREP ฯลฯ ใช้ฉีดพ่นควบคุมโรคเกิดจากบักเตรี เช่น อาการจุด ไหม้ เหี่ยว เน่าต่างๆ ฯลฯ ตลอดจนอาจใช้จุ่ม หรือแช่ และราดดิน เช่น แช่เมล็ดควบคุมโรคบักเตรีของถั่ว ฝ้าย กระหลํ่าต่างๆ ฯลฯ
2. Tetracyclines (สร้างโดย Streptomyces spp.) มีพิษต่อบักเตรีมากมาย มายโคพลาสมา และริคเคทเซีย Tetracyclines ที่ใช้ควบคุมโรคพืช มี oxytetracycline (TERRAMYCIN), chlortetracycline (AUREOMYCIN) และ tetracycline (ACHROMYCIN).Tetracycline นี้ ใช้ฉีดเข้าในพืชเพื่อควบคุมโรคเกิดจากมายโคพลาสมาและริคเคทเซียได้ผลดี สามารถชงักการเจริญของโรค อาการของโรคจะหายไปในระหว่างที่ยายังออกฤทธิ์อยู่ในพืช การใช้ตามปกติหากฉีดเข้าในพืชตอนสิ้นฤดูปลูก ยาจะสามารถคุ้มครองให้พืชเจริญเติบโตได้ตามปกติตลอดฤดูถัดไป
3. Cycloheximide (สร้างโดย Streptomyces griseus) ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของการผลิต treptomycin มีจำหน่ายในรูปของ ACTI-DIONE, ACTI-SPRAY, ACTI-DIONE PM, ACTI- DIONE RZ ฯลฯ ใช้ได้ผลดีกับโรคที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น โรคราแป้งขาวของพืชหลายชนิด โรค ในสนามหญ้า และไม้ดอกไม้ประดับ ยานี้มีพิษต่อพืชค่อนข้างสูง จึงทำให้ใช้ได้ในขอบเขตจำกัด
ปฏิชีวนะสารที่จำหน่ายเป็นการค้า บางชนิดใช้ตัวยาซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ 2-3 อย่างผสมกัน เพื่อประสิทธิภาพควบคุมโรคสูงและใช้กับโรคต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น ปฏิชีวนะสารที่จำหน่ายมีดังนี้
AGRI-MYCIN 100 = 18.8%streptomycin sulfate + 1.5% oxytetracycline
AGRI-MYCIN 500 = 1.755% streptomycin sulfate + 0.176% oxytetracycline+ 42.4% metallic copper
AGRISTREP    = 37% streptomycin sulfate
PHYTOMYCIN = 20% streptomycin nitrate
ACTI-DIONE = 2.26% cycloheximide
ACTI-DIONE RZ = 5% cycloheximide + 75% pentachloronitrobenzene
ACTI-SPRAY = 7.7% cycloheximide
BLASTICIDIN-S = 2% benzylaminobenzenesulfate ซึ่งใช้ควบคุมโรคใบไหม้ของข้าว (Pyricularia oryzae)
STREPTOCHLOR = streptomycin + chloromycetin ใช้ควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าว (Xanthomonas oryzae) ฯลฯ
น้ำมันต่างๆ
ปัจจุบันได้มีการใช้นํ้ามันในรูปต่างๆ ควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากวิสา โดยมีปฏิกริยาเป็นแบบรักษา ใช้ได้ผลดี ราคาถูก ไม่มีพิษ และยังมีคุณสมบัติจับใบ และช่วยให้ยากระจายได้ดีอีกด้วย
ความต้านทานของเชื้อต่อสารเคมี
เชื้อสาเหตุโรคหลายชนิดที่เจริญได้ strains ใหม่ๆ ที่สามารถทนหรือต้านทานสารเคมีที่เคยใช้ได้ผลดีในการควบคุมโรคนี้มาก่อน สารเคมีที่ฉีดพ่นควบคุมโรค เช่น thiram, maneb หรือ captan สามารถใช้ได้ผลดีมาเป็นเวลานานปี เพราะสารเคมีเหล่านี้ไปมีปฏิกริยาทำลายเชื้อหลายขั้นตอน แต่ก็เป็นทางให้ทางให้หน่วยถ่ายพันธุ์ของเชื้อเปลี่ยนแปลงได้มากเกิด strain ที่ต้านทานยาขึ้น เช่นพบว่า Tilletia strains ทนต่อ hexachlorobenzene, Rhizoctonia strains ทนต่อ PCNB และ Venturia inaequalis strains ทนต่อ dodine เป็นต้น
ปฏิชีวนะสารซึ่งเป็นยาดูดซึมกระจายทั่วต้น พบว่า Erwinia amylovora strains ทนต่อยา streptomycin หลังจากมีการใช้ยาควบคุมโรคราประเภทดูดซึม เช่น benomyl กันอย่างแพร่หลาย พบว่ามี strains ของราใหม่ๆ มากมาย ที่ทนต่อยาสารใดสารหนึ่งหรือมากกว่าเกิดขึ้น ในบางท้องถิ่นพบว่าหลังการใช้ยาไปเพียง 2 ปีเท่านั้น เชื้อราที่พบมี strain ที่ต้านทานยาดูดซึมนี้ เช่น Cercospora, Fusarium, Sphaerotheca, Aspergillus, Penicillium และ Ustilago ยาประเภทดูดซึมเป็นยาที่มีปฏิภริยาเฉพาะ ในขบวนการ metabolism ของเชื้อ 1-2 ขั้นตอน การเกิดต้านทานยาจึงเกิดได้รวดเร็วโดย single mutation หรือ selection
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช