สีจากสมุนไพร

ปกติคนเรารับประทานอาหารเพื่อบำบัดความหิวกระหายความอยาก และอาหารนั้นควรมีคุณค่า มีประโยชน์ไปบำรุงร่างกายให้เจริญเติบโตแข็งแรง แต่อาหารที่เรารับประทานทุกวัน

นั้นมีทั้งเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ บางครั้งอาจเกิดโทษแก่ร่างกาย ฉะนั้นเราจึงเลือกรับประทานแต่อาหารที่เป็นประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย ถ้า

อาหารที่เรารับประทานนั้นเป็นอาหารที่มีคุณค่าแก่ร่างกาย แต่ขาดรสชาดก็คงจะทำให้ความอยากรับประทานอาหารลดลง ดังนั้นจึงต้องมีการปรุงแต่งอาหารให้มีรสถูกปาก มีสีสันชวนรับ ประทาน

การที่ต้องใช้สีปรุงอาหารเพื่อประโยชน์ของผู้ผลิตเพื่อล่อตาล่อใจผู้บริโภค ถ้ารู้จักเลือกใช้ชนิดของสีที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย รวมทั้งใช้ในปริมาณที่จำกัด เราก็เชื่อได้ว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค แต่การที่ผู้ผลิตหรือผู้ปรุงนำเอาสารบางอย่างที่ต้องห้ามมาใช้ในการปรุงอาหาร อาจจะโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมักง่าย เห็นแก่ตัว เช่น การใช้สีย้อมมาปรุงแต่งอาหารนั้น นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง สีย้อมผ้าหรือสีสังเคราะห์นั้นเป็นพิษต่อร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เสื่อมความสามารถทางเพศ ลดความอยากอาหาร และเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยหลายอย่าง ท่านผู้บริโภคอาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร เนื่องจากผู้บริโภคได้รับสีสังเคราะห์วันละเล็กวันละน้อย จึงไม่เกิดอาการปัจจุบันทันด่วนจนเกิดความตื่นตระหนกตกใจกลัว แต่สารพิษเหล่านจะสะสมในร่างกายและจะเจ็บบํวย กระเสาะกระแสะโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจสะสมจนมีปริมาณมากจนถึงขั้นเป็นอันตรายเข้าสักวันจนได้ เพราะอาหารผสมสีย้อมผ้านั้นมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ดังตัวอย่างที่ได้จากการศึกษา ทดลองเกี่ยวกับสีผสมอาหาร โดยการนำของอาจารย์ เกษร นันทจิต ร่วมกับนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าอาหารต่างๆ ที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ที่มีสี ใช้สีที่ไม่เข้ามาตรฐานผสม เช่น กะปิ น้ำราดหมูแดง แหนม กุ้งแห้ง ซ๊อสมะเขือเทศ ไส้กรอก หัวน้ำเขียว หัวน้ำส้มที่นำมาผสมน้ำดื่มเป็นเครื่องดื่ม แยม สังขยา น้ำตาลรูปพริกเป็นแท่งๆ มะเขือเทศแช่อิ่ม ท๊อฟพี่ แม้กระทั่งปูนแดงที่นำมาทาใบพลูเคี้ยวกับหมากก็ยังผสมสีย้อม ซึ่งถ้าจะใช้เปลือกไม้ที่มีรสฝาดผสมลงไปในปูนขาวที่ชื้นก็จะได้ปูนแดงตามต้องการ เช่น เปลือกต้นกรรณิการ์ผสมในปูนขาวจะได้ปูนสีแดง เราก็ยังพยายามเอาสีย้อมผ้ามาผสมให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายเราอีก

อันตรายที่ได้จากสีย้อมผ้าหรือสีที่ไม่เข้ามาตรฐาน คือ

-เกิดจากตัวสีเอง เนื่องจากการเป็นพิษของสีพบในหนู ทำไห้เป็นมะเร็ง

-เกิดจากโลหะหนักที่ปนอยู่ในสี สีที่ไม่เข้ามาตรฐานทุกชนิดจะประกอบด้วยโลหะหนัก เนื่องจากไม่สามารถขจัดออกไปให้หมดได้ในขบวนการผลิต ส่วนมากพบในสีย้อมผ้า เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมี่ยม ปรอท

ตะกั่ว มีพิษต่อระบบเลือด ระบบอาหาร ระบบประสาท ทำให้มีการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตกใจง่าย ประจำเดือนหยุด หมดสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ

ปรอท มีพิษต่อระบบประสาท ทางเดินอาหารและการทำงานของไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน มือสั่น นอนไม่หลับ มีอาการทางจิต

สารหนู มีพิษต่อสมอง ตับ ไต ทำให้มีอาการทางผิวหนัง ตาอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ปวดศีรษะ วิงเวียน

โครเมี่ยม มีพิษต่อเยื่อบุจมูก ปอด ทางเดินอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน

พิษของโลหะหนักเหล่านี้ถ้าได้รับมากๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอาหารหลายชนิดใช้สีที่ไม่เข้ามาตรฐานปนอยู่มาก เนื่องจากยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สีในการปรุงแต่งอาหาร

ข้อแนะนำในการใช้สีผสมอาหาร คือ

๑. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สี หรือไม่ใช้เลยดีที่สุด

๒. ถ้าจำเป็นต้องใช้สี ควรใช้สีผสมอาหารที่กระทรวงอนุญาตให้ใช้ และควรใช้ในปริมาณที่จำกัดที่ระบุไว้บนฉลาก ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้ทำสีผสมอาหารออกจำหน่ายซึ่งยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตราย

๓. ควรใช้สีที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติที่ปู่ย่าตายายใช้กันมาแต่ดั้งเดิม และให้คุณค่าทางยาอีกด้วย คือสีที่ได้จากสมุนไพร เช่น

สีแดง จากแก่นฝาง, ครั่ง

สีเหลือง จากหัวแครอท, ดอกคำฝอย, ลูกพุด, หญ้าฝรั่น

สีแสด จากเมล็ดคำเงาะ, ดอกกรรณิการ์

สีม่วง  จากดอกอัญชัน, ดอกดิน (ม่วงแดง)

สีเขียว จากใบเตย

สีจากสมุนไพรเหล่านี้ยังไม่มีรายงานว่าเป็นพิษภัยต่อผู้บริโภค นอกจากจะให้สีที่น่ารับประทานแล้วยังมีกลิ่นและรสชวนรับประทานอีกด้วย ดังรายละเอียดของสีที่ใช้จากสมุนไพร