สรรพคุณสมุนไพร:หญ้าดอกตูบ(จีน)


ชื่อ
จีนเรียก   ต้อไก้เก็ก  ซัวอิงตั่งเท้า  Carpesium divarcatum Sieb.et Zucc.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามที่สวน ริมคูนํ้า ริมทางเดินหรือคนปลูกไว้ทำยา เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขุนปุยขึ้นทั่ว ต้นขึ้นตรง แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก สูงประมาณ 2-3 ฟุต ใบขึ้นคู่ ก้านใบสั้น รูปใบบานยาวปลายแหลม ขอบใบเป็นฟันเลื่อย แต่ไม่ค่อยชัด ใบที่เกิดใกล้โคนต้นยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มักใหญ่กว่าใบที่เกิดที่ยอดต้น หน้าใบไม่เรียบ ออกดอกหน้าร้อนเข้าหน้าฝน ดอกที่ออกรูปคล้ายดอกเบญจมาศ แต่มักหลุบลงสู่ดิน สีเหลือง ลูกเป็นเม็ดบี้ดูมียางคอนข้างเหนียว

รส
รสขม ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถไล่ลม แก้ปวด แก้ร้อนในและดับพิษ ใช้ภายนอกแก้บวม แก้ อักเสบ ฤทธิ์เข้ากึงปอดและม้าม

รักษา
ไข้หวัดแดด หวัดแดดปวดท้อง ลงท้อง เจ็บคอ ใช้ภายนอกแก้พิษงูกัด
หมากัด ผิวเนื้อเป็นผื่นพิษ งูสวัด ฝีตะมอย คางทูม ผู้หญิงนมเจ็บ

ตำราชาวบ้าน
1. ไข้หวัดแดด-หญ้าดอกตูบหมากดิบนํ้าค้าง   อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
2. เด็กตัวร้อน – หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
3. หวัดแดดปวดท้อง ลงท้อง – หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ต้มกับนํ้าตาลแดง
4. เจ็บคอ – หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ต้มกับนํ้าตาลแดง รับประทาน และเด็ดเอาใบโขลกกับเกลืออมก็ได้
5. งูพิษกัด – หญ้าดอกตูบ 3 ตำลึงตำกับเหล้า คั้นเอานํ้าต้มให้อุ่น รับประทาน ส่วนกากพอกแผล
6. หมากัด – หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ตำกับเหล้า เอานํ้ารับประทาน ส่วนกากใช้พอกที่แผล
7. ผื่นฝีพิษบวมเจ็บ -หญ้าดอกตูบ ตำแหลกใช้พอก
8. ฝีตะมอย -หญ้าดอกตูบ ตำแหลกเอานํ้าผสมกับเหล้า
9. คางทูม -หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ตำเอานํ้าผสมเหล้าทา
10. ผู้หญิงเจ็บนม – หญ้าดอกตูบ 1 ตำลึง ตำเอานํ้าผสมเหล้ารับประทาน ตอนน้ำยังอุ่น ส่วนกากใช้ทา

ปริมาณใช้
รับประทานสดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอ ประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช