หญ้านั่งยี่เช่า (จีน)


ชื่อ
จีนเรียก    นั่งยีเช่า เต๊กหั่มเช่า Kummerowia striata (thb.) Schindl.

ลักษณะ
เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม่มีชื่อไทย ชอบเกิดในทุ่งหญ้าเนินดินในสวน เป็นพืชล้มลุก ต้นอ่อนเปราะ แตกกิ่งก้านสล้างไม่เป็นระเบียบ บ้างก็ยืนต้นบ้างก็ล้มติดดิน ยาวประมาณฟุตกว่าๆ ก้านมีข้อเป็นช่วงสั้นหลายข้อ ใบขึ้นพร้อมกัน 3 ใบในช่อเดียวกันเกือบจะไม่มีก้านใบ ใบเป็นรูปกลมรียาวประมาณ 3-4 หุน หักฉีกได้ง่าย เวลาหักฉีกทำช่องว่างเป็นรูปบั้ง ออกดอกในฤดูร้อนและฤดูฝน ดอกสีแดง แกมม่วงยาวประมาณ 2-3 หุน ก้านดอกสั้นมีขนปุย ออกผลเป็นเมล็ดฝักมีขนขึ้นรอบเมล็ด แต่มีเมล็ดเดียว เมล็ดนี้เป็นพันธุ์สืบต่อไป

รส
รสจืด ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถดับร้อนใน ขับปัสสาวะ ดับร้อนในปอด ฤทธิ์เข้าถึงปอดและไต
รักษา
แก้ไข้ เจ็บหน้าอก เนื่องจากความร้อนถูกสกัดไม่สามารถคลายออกได้ ไอเพราะปอดร้อน แก้ไอเนื่องจากปอดถูกกระทบกระแทกอย่างหนักจนชํ้าใน คอแห้ง ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะเป็นเลือด

ตำราชาวบ้าน
1. เจ็บหน้าอก มีอาการไอ-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้มใส่ปอดหมู
2. เจ็บหน้าอก เพราะร้อนใน-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้มใส่กวยแชะ
3. คัดหน้าอกไม่ปลอดโปร่ง-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
4. ไอเพราะปอดร้อน-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้มกวยแชะ
5. ไอเพราะถูกตีช้ำใน-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้ม
6. หน้าร้อนกระหายนํ้า-หญ้านั่งยี่เช่า และหญ้าขัดมอน อย่างละ 1 ตำลึง ต้ม
7. หวัดร้อนปัสสาวะไม่คล่อง-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้ม
8. ปัสสาวะเลือด-หญ้านั่งยี่เช่า 1 ตำลึง ต้ม

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช