หญ้าเปลือกหอย


ส้มสามกำ   ผักแว่น

ชื่อ
จีนเรียก   เกี่ยมซึมเกี๊ย   เกียมซึงเตี๊ยม  จุยเกียมซึง  Oxalis repens Thunb.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามสวน ริมคูนํ้า ที่รกร้าง เป็นพืชล้มลุกขึ้นได้หลายปี รากเรียวเล็ก ต้นมีขนประปราย มักขึ้นตามหน้าดิน แตกกิ่งก้านมาก ข้อที่ติดดินจะเกิดรากขยายต้นใหม่ ใบขึ้นสลับ ใบกลมรูปหัวใจ ก้านใบยาว แต่ละก้านออกใบ 3 ใบ ออกดอกเกือบตลอดปีเว้นหน้าหนาว ก้านดอกมักขึ้นจากฐานก้านใบ เกสรดอกแตกเป็นห้าแฉก ส่วนดอกขึ้นเป็นรวง ออกลูกเป็นเม็ดกลม เมื่อสุกเมล็ดแตกร่วงออกเป็นต้นต่อไป ต้นและใบมีรสเปรี้ยว

รส
เปรี้ยว เค็มแกมหวานนิดๆ ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานสามารถห้ามเลือด ไล่ลม ใช้ภายนอกแก้บวมระงับปวด ฤทธิ์ เข้าถึงตับและม้าม

รักษา
พลัดตกหกล้ม ถูกตีฟกช้ำ ปวดท้องหวัดร้อน ปวดเมื่อยเพราะรูมาติสม์
ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด มือเท้าเคล็ดยอก เจ็บคอ ปวดฟัน เด็กปากนกกระจอก

ตำราชาวบ้าน
1. พลัดตกหกล้มถูกตีฟกช้ำ – หญ้าเปลือกหอย 1 ตำลึง ตำกับเหล้า ตุ๋นรับประทาน ใช้กากพอกที่แผล ถ้าเจ็บหน้าอกด้วยตำกับกระต่ายจันทร์ ครึ่งตำลึง รับประทาน
2. ปวดท้องหวัดร้อน -หญ้าเปลือกหอย 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
3. ปวดเมื่อยเพราะรูมาติสม์ – หญ้าเปลือกหอย 1 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้าตุ๋นเหล้า
4. ปัสสาวะเป็นเลือด – หญ้าเปลือกหอย 1 ตำลึง ตำเอานํ้าตุ๋นใส่นํ้าผึ้งรับประทาน หรือต้มหญ้าเปลือกหอยเฉยๆ ก็ได้ ตำรานี้รักษาอุจจาระ เป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือดก็ได้
5. เจ็บคอ ปวดฟัน – หญ้าเปลือกหอยตำกับหญ้าเกล็ดหอย  ใส่เกลืออม
6. ปากนกกระจอกเด็ก –หญ้าเปลือกหอยตำกับหญ้ากะเม็ง  ใช้นํ้าทา

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช