หนามแน่แดง

ช้องนาง

วงศ์ทุนเบอร์จิเอซีอี (THUNBERGIACEAE)

ในประเทศไทยพบพืชวงศ์นี้เพียงสกุลเดียว คือ Thunbergia มีประมาณ 10 ชนิด ซึ่งมีทั้งที่เป็นพืช พื้นเมืองของไทยและที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ช้องนาง (Thunbergia erecta T. Anders.) รางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.) และสร้อยอินทนิล (Thunbergia grandiflora Roxb.) ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ แต่ละดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ 2 อัน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กเชื่อมติดกันคล้ายวงแหวน ขอบเรียบหรือหยักเว้าตื้นหรือแยกเป็น ริ้วเล็กๆ 10-18 อัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อันติดที่โคนกลีบดอกยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่บนจานฐานดอก รังไข่อยู่เหนือชั้นต่าง ๆ ของดอก ผลค่อนข้างกลม มีจงอยขนาดใหญ่เมื่อแก่จะแตกตามยาว

หนามแน่แดง

Thunbergia coccinea Wall.

หนามแน่แดง

หนามแน่แดงเป็นไม้เลื้อย ดอกออกเป็นช่อยาว 40-50 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับสีแดงเลือดหมู ขนาดใหญ่ 2 อันประกบกัน ส่วนของกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นหลอดค่อนข้างแบน ดอกสีปูนหรือแดงอมส้ม พบตามภูเขาสูง ออกดอกราวเดือนตุลาคม-ธันวาคม