หมอน้อยสมุนไพรรักษาโรค


ก้านธูป ฝรั่งโคก หญ้าละออง หญ้าสามวัน

ชื่อ
จีนเรียก    เซียวซัวโฮ้ว  Vernonia cinerea (L.) Less.

ลักษณะ
พืชนี้อยู่ในประเภทเบญจมาศ ชอบเกิดในทุ่งนา สวน ริมถนน ที่โล่ง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นขึ้นตรงไม่แยกกิ่งก้าน มีขนขึ้นตามลำต้นประปราย สูงประมาณ 1-2 ฟุต มีลายเส้นนูนขึ้นตามลำต้น ใบขึ้นสลับกันจากลำต้นโดยตรง รูปใบแคบ แหลมที่ส่วนปลาย ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ขอบใบเป็นคลื่นไม่เรียบ สังเกตุมีฟันประปราย หลังใบเห็นเอ็นเด่นชัด ออกดอกหน้าร้อนถึงหน้าฝน เป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ซองใบสีม่วงแดง ปลายดอกกลีบแยกบานออก เมล็ดพันธุ์ลีบสีขาว

รส
รสขมเฝื่อน ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถดับร้อนใน ทำให้เลือดเย็น คลายคัด ใช้ภายนอกดับพิษ ระงับบวม ฤทธิ์เข้าถึงตับและปอด

รักษา
ทรวงอกเจ็บเนื่องจากถูกตีหรือพลัดตกหกล้ม ใช้ภายนอกแก้พิษผิวหนัง
เป็นผื่น ฝีเกิดจากพิษบวมเจ็บ ตะมอยนิ้วมือนิ้วเท้า ผู้หญิงคัดนมหรือ นมเจ็บปวด

ตำราชาวบ้าน
1. ถูกตีหรือพลักตกหกล้มเจ็บทรวงอก – หม้อน้อย 1 ตำลึง ต้มนํ้าและกิน น้ำเยี่ยวเด็กเล็ก รับประทานติดต่อกัน 3-4 วัน
2. เป็นผื่นฝีเจ็บบวม – หมอน้อย ตำกับนํ้าตาลแดงแล้วพอก หรือใช้หมอน้อย โด่ไม่รู้ล้ม สายนํ้าผึ้ง   อย่างละ 5 เฉียน พร้อมกับเซี่ยติ่งเท้า1 ตำลึง ต้มด้วยกัน
3. เจ็บบวมตามผิวหนัง -หมอน้อย ตำแหลกแล้วพอก หรือหมอน้อย หูปลาช่อน ลักกักเอง หมากดิบนํ้าค้าง  ตำด้วยกันแล้วพอก
4. ตะมอยนิ้วมือนิ้วเท้า -หมอน้อย ตำแหลกแล้วพอก
5. ผู้หญิงเจ็บปวดที่นม – หมอน้อย 1 ตำลึง ต้มน้ำรับประทาน หรือตำใส่เหล้าขาวคั้นเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากใช้พอกหรือตำกับโด่ไม่รู้ล้ม 2 ตำลึง คั้นเอาน้ำผสมเหล้ารับประทาน ส่วนกากใช้พอก

ปริมาณใช้
สดใช้รับประทานไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกิน 3 เจียน ใช้ภายนอกกะพอ ประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช