ประโยชน์ของหมากดิบน้ำค้าง


ชื่อ
จีนเรียก      แปะฮวยจั่วจิเช่า เซียวแปะฮวยเกี้ย กิมเจาะลิ้ว จั่วจำเช่า  Oldenlandia diffusa (Willd) Roxb.

ลักษณะ
พืชจำพวกหญ้า ชอบขึ้นตามทุ่งนา ริมคูนํ้าหรือที่ดินใกล้นํ้าที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอ่อนลีบสีเขียวอ่อน กิ่งก้านมักขึ้นแผ่ไม่เป็นระเบียบ ยาวฟุตกว่า ปล้องยาวพอสมควร ใบคู่ ไม่มีก้านใบ ใบเป็นเส้นเรียวยาว ประมาณ 7-8 หุน กว้างประมาณ 1 หุน โคนใบลีบ ออกดอกในหน้าร้อน ถึงหน้าฝน กิ่งดอกขึ้นจากโคนใบ บ้างก็ดอกเดียว บ้างก็สองดอก ฐานดอกสีขาว เป็นรูปปากแตรบานออกเป็นสี่กลีบ ออกผลเป็นเมล็ด ปลายเมล็ดมีกลีบแหลมสี่กลีบ

รส
รสเผ็ดขมนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถดับร้อนใน ดับพิษ ทำให้เลือดและลำไส้เย็น ใช้ภายนอกดับพิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด

รักษา
ลำไส้อักเสบ ไทฟอยด์ ร้อนในตัวร้อน ไอเพราะปอดร้อน เจ็บคอร้อนใน
ปวดฟัน กระดูกก้นกบอักเสบ ใช้ภายนอกดับพิษผิวหนัง เป็นฝีเนื้อร้าย ฝีตะมอยที่นิ้วมือ งูกัด

ตำราชาวบ้าน
1. กระดูกก้นกบอักเสบ – หมากดิบนํ้าค้าง 4 ตำลึง ผสมน้ำผึ้ง รับประทาน หรือต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดงรับประทาน และเอาหมากดิบนํ้าค้างตำแหลกผสมเหล้าพอก รู้สึกร้อนก็เปลี่ยนพอกใหม่
2. ไข้ไทฟอยด์ – หมากดิบนํ้าค้าง 2 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้าผสมน้ำผึ้ง รับประทาน หรือต้มนํ้าแล้วใส่นํ้าตาลแดงรับประทาน
3. ลำไส้อักเสบ -หมากดิบนํ้าค้าง 2 ตำลึง และผักเบี้ย 2 ตำลึง ต้มนํ้า
4. หวัดร้อนตัวร้อน -หมากดิบนํ้าค้าง และขี้ครอก อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดง
5. ไอเพราะปอดร้อน เจ็บคอ – หมากดิบนํ้าค้าง 1 ตำลึง ต้มใส่กวยแชะ
6. ปวดฟัน – หมากดิบนํ้าค้าง 1 ตำลึงและชะเอม 5 หุน ต้มนํ้า
7. ผิวหนังพุพองบวมเป็นแผล – หมากดิบนํ้าค้าง ตำกับนํ้าตาลแดงใช้พอก หรือทา
8. ฝีตอมอยที่นิ้วมือ – หมากดิบนํ้าค้าง ตำกับเหล้า ผสมเหล้ากิน ส่วนกากใช้พอก
9. งูกัด – หมากดิบนํ้าค้างครึ่งชั่ง ตำเอานํ้าผสมเหล้ากิน ส่วนกากใช้พอก

ปริมาณใช้
รับประทานสดไม่เกิน 3 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอ
ประมาณ

ข้อควรรู้
ผู้ที่ไฟธาตุอ่อนแอ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช