หยีทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris indica Bennet
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE-PAPIUONOIDEAE
ชื่ออื่น กายี (ภาคใต้), ขยี้ (ชุมพร), เพาะดะปากี้ (มลายู-สงขลา), ปารี (มลายู-นราธิวาส) มะปากี (มลายู-ปัตตานี), ราโยด (ปัตตานี), หยีน้ำ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 5-15ม.ทรงพุ่มกว้างแผ่เป็นพุ่มลำต้น มักคดงอ แตกกิ่งตา เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลถึงน้ำตาลเทาคลํ้า เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ผิวเปลือกสีเขียว
ใบ ใบประกอบชั้นเดียว ยาว 10-20 ซม. เฉพาะก้านใบยาว 3-5ซม. เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับใบย่อย 5-7 ใบ เรียงตรงข้ามกัน และที่ปลายก้านอีก 1 ใบใบย่อยรูปไข่ รูปขอบขนาน แกมรี หรือรูปขอบขนานขนาดกว้าง 3-10 ซม. ยาว 5-15 ซม. เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ทั้งสองด้าน มีเส้นใบ 8-10 คู่ ก้านใบย่อยยาว 0.7-1 ซม.


ดอก สีขาวและเปลี่ยนเป็นสีชมพู ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ แบบช่อกระจะ แต่ละช่อยาว 10-20 ซม. ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก วงกลีบเลี้ยงรูปถ้วย วงกลีบดอกรูปกลม ยาว 1-1.5 ซม. ออกดอกเดือน ม.ค.-พ.ค.
ผล ฝัก หนา โป่งออก รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ขนาดกว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 5-7.5 ซม. ปลายฝักมีจะงอยสั้นๆ ผลเกลี้ยง เมื่อผลแก่สีน้ำตาลไม่แตก มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีแดงคล้ำ รูปขอบขนาน แกมรูปโล่ ยาว 1.5-2 ซม. ผลแก่เดือน ก.ค.-ธ.ค.
นิเวศวิทยา พบตามริมชายฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล บริเวณที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก ต้มผสมเกลือให้มาก อมบ้วนปากแก้ปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน รำมะนาด แผลในปาก ต้มอาบน้ำให้เด็ก แก้โรคพยาธิ แก้หิดด้าน แก้โรคขาดสารอาหาร
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย