หลักการปลูกและการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ประดับ

การรู้หลักในการปลูกและการบำรุงรักษาต้นไม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกไม้ประดับ การรู้จักการเลือกต้นไม้มาปลูกจะต้องให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอาการในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น จะต้องรู้ว่าการที่นำเอาต้นไม้ที่เกิดในท้องถิ่นหนาวมาปลูกในท้องถิ่นร้อน หรือต้นไม้ที่ปลูกในท้องที่มีฝนมาก นำมาปลูกในท้องที่แห้งแล้ง ย่อมทำให้ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตงอกงาม เพราะดินฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน เหล่านี้เป็นต้น การที่ต้นไม้จะเจริญงอกงามสมบูรณ์ดีนั้น ก็ต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายฝ่าย คือ

1. ดิน ต้นไม้จะเจริญงอกงามได้ดีนั้นต้องอาศัยดิน เพราะดินเป็นแหล่งอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ และอินทรีย์วัตถุอัน เกิดจากการเน่าเปื่อยของสัตว์และจากซากพืช ดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จะทำให้เจริญเติบโต ในทาง ตรงกันข้าม ถ้าเราปลูกต้นไม้แล้วไม่เจริญเติบโต ก็แสดงว่าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ย ปูนขาว หรือพืชวัตถุอื่น ๆ ดินที่พืชต้องการคือดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชวัตถุ อาจจะเป็นหญ้า ฟาง ใบไม้ หรือพืชอื่น ๆ ที่ผุเปื่อย มูลสัตว์ต่าง ๆ ที่ผสมอยู่ในดิน เพื่อให้เกิดความร่วนซุย รากของพืชจะได้ชอนไปหาอาหารได้สะดวก และทำให้น้ำไหลซึมได้ง่าย และลักษณะของดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

ดินเหนียว คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดจับกันเป็นก้อนเหนียว มีช่องที่จะทำให้อากาศและน้ำผ่านไปได้น้อยมาก ดินชนิดนี้ไม่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้ เพราะรากหาอาหารได้ยากและทำให้เกิดโรครากเน่า ต้นไม้ไม่เจริญเติบโต ดัง นั้น ถ้าดินที่จะปลูกไม้ประดับนั้นเป็นดินเหนียวจำเป็นจะต้องทำดินเหนียวนั้นให้ร่วนซุยเสียก่อน โดยการผสมกับทรายถมที่และอินทรีย์วัตถุ ได้แก่พืชวัตถุหรือมูลสัตว์อย่างละเท่ากัน

ดินทราย เป็นดินที่อากาศผ่านได้สะดวก อุ้มนํ้าได้น้อย ไม่พอกับความต้องการของพืช อาหารของพืชมีน้อย เมื่อปลูกไม้ประดับก็จะทำให้ไม้ประดับนั้นไม่เจริญเติบโต จำเป็นจะต้องปรับปรุงดินทรายนั้นให้ดีขึ้นโดยใส่ดิน เหนียวและอินทรีย์วัตถุลงไป

ดินร่วน เป็นดินที่เหมาะสมแก่การปลูกต้นไม้ เพราะมีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่แล้ว

2. อุณหภูมิ คือความร้อนหรือความเย็นของอากาศในวันหนึ่ง ๆ อุณหภูมิสูง หมายความว่าอากาศในวันนั้นร้อนมาก อุณหภูมิต่ำ หมายความว่าอากาศในวันนั้นหนาวเย็น อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคืออุณหภูมิที่ไม่หนาวและร้อนเกินไป ประมาณ 15-40 องศาเซ็นเซียส อุณหภูมิที่สูงหรือตํ่าไปพืชจะไม่เจริญงอกงามตามที่ควร เพราะเมื่ออุณหภูมิต่ำลง ๆ รากของพืชจะดูดน้ำได้น้อย และในทำนองเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ๆ รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อุณหภูมิสูงขึ้น ๆ รากของพืชก็จะดูดน้ำได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อุณหภูมิสูงหรือตํ่าเกินไปไม่เหมาะต่อการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของพืช ก็เกิดผลทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ หรือชะงักการเจริญเติบโตในชั่วระยะเวลานั้น ๆ ปัญหาที่ว่าอุณหภูมิตํ่าเกินไป ทำให้ดินเย็นนั้น คงจะไม่เป็นปัญหา เพราะประเทศเราเป็นประเทศร้อน แต่มีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนในดิน หรืออุณหภูมิสูงเสียมากกว่า ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนต่อต้นอ่อนของพืช เพราะจะทำให้ต้นอ่อนของพืชเฉา เนื่องจากความชื้นในดินระเหยไปหมด ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทำได้โดยการหาวัตถุคลุมดิน เช่นหญ้าหรือฟางคลุมดินไว้

3. แสงสว่าง มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่จะทำให้พืชเจริญเติบโต ประโยชน์ของแสงสว่างที่มีต่อพืชมีดังนี้

  • เป็นพลังงานที่พืชใช้ในการปรุงอาหาร แสงสว่างที่ส่องลงมาจะต้องมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของพืชแต่ละชนิด เพราะพืชต่าง ๆ ใช้แสงสว่างไม่เท่ากัน แสงน้อยเกินไป พืชจะปรุงอาหารไม่ได้ ดังนั้นในการดูแลรักษาต้นไม้ จำเป็นจะต้องตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องลงให้ทั่วถึงทั้งต้น เพื่อให้ใบทุกใบทำหน้าที่ปรุงอาหารให้เต็มที่
  • เกี่ยวกับความงอกงามของเมล็ดพืช เพราะแสงแดดมีแสงอินฟราเรด เป็นแสงที่ช่วยให้พืชงอกงามเร็ว นอกจากเกี่ยวกับการงอกงามของเมล็ดแล้ว แสงสว่างยังช่วยทำให้ลำต้นเจริญรวดเร็วด้วย ดังจะเห็นได้จากต้นไม้ มักจะเอนเข้าหาแสงสว่างอยู่เสมอ ถ้าที่ถูกแสงสว่างมาก มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ถูกแสงสว่างมาก มักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ไม่ถูกแสงสว่าง
  • เกี่ยวกับทางสรีระภายใน พืชบางอย่างจะออกดอกในเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ แสงมากไปหรือน้อยไปก็ไม่ออกดอก ดังนั้นในการปลูกต้นไม้ ผู้ปลูกจะต้องทราบว่า ต้นไม้แต่ละชนิดนั้น ต้องการแสงสว่างมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าแสงแดดมากเกินไปก็จะเผาใบไม้ไหม้ ใบไม้นั้นก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่ปรุงอาหารได้ เมื่อปรุงอาหารไม่ได้ต้นไม้ก็ชะงักการเจริญเติบโต และในทางตรงกันข้าม ถ้านำต้นไม้ที่ชอบกลางแจ้งไปปลูกในร่มที่ไม่ได้รับแสงแดด ต้นไม้ก็ไม่เจริญเติบโต เพราะไม่มีแสงแดดสำหรับ เป็นพลังงานในการสังเคราะห์แสง (ปรุงอาหาร)

4. ความชุ่มชื้น ความชุ่มชื้น หมายถึง ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน และความชุ่มชื้นที่อยู่ในอากาศ ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน สำหรับละลายแร่ธาตุต่าง ๆ แล้วรากก็ดูดส่งไปตามลำต้นถึงกิ่งและใบ เมื่อได้รับแสงสว่างก็ปรุงแต่งให้เป็นอาหารบำรุงโครงร่างของต้นไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป ดินที่อุดมสมบูรณ์หากขาดน้ำเสียแล้ว รากก็ไม่สามารถจะดูดเอาแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืชมาจากดินได้ ดินที่สมบูรณ์นั้นก็หาประโยชน์มิได้ นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็มีความจำเป็นต่อต้นไม้ เพราะทำให้ต้นไม้สดชื่นอยู่เสมอสีไม่เหี่ยวเฉา

5. อากาศ ในอากาศมีก๊าซสคาร์บอนไดออกไซด์ (co2) และก๊าซอ๊อกซิเจน (o2) พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปทางใบ เพื่อนำไปสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12o6) ส่วนก๊าซอ๊อกซิเจนที่ต้นไม้หายใจเข้าไป เพื่อนำไปทำให้น้ำตาลกลูโคสสลายตัว ก่อให้เกิดกำลังงานสร้างความชื้นเพื่อถ่ายเทให้แก่ต้นไม้ การถ่ายเทของอากาศจะช่วยให้น้ำในใบของต้นไม้ระเหยได้เร็ว ซึ่งเรียกว่า “การคายน้ำ” เมื่อต้นไม้คายน้ำ ทำให้น้ำในต้นไม้น้อยลงไป รากก็จะดูดน้ำจากที่ละลายปุ๋ย หรือมีอาหารของพืชขึ้นมาแทนน้ำที่ระเหยไป ไปตามกิ่งก้านของต้นไม้ ส่งไปยังใบปรุงแต่งเป็นอาหาร ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้น

6. ปุ๋ย หรืออาหารของพืช พืชต้องการอาหาร ซึ่งเป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในดิน ในอากาศ หรือในน้ำ เพื่อไปสร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืช แร่ธาตุที่พืชต้องการนั้นมีด้วยกันหลายชนิด ธาตุแต่ละชนิดทำให้เกิดประโยชน์แก่พืชไม่เหมือนกัน พืชแต่ละชนิดก็ต้องการแร่ธาตุที่เป็นอาหารไม่เหมอนกัน ปุ๋ยหรืออาหารของพืชนี้ จะกล่าวในเรื่องการใช้ปุ๋ยต่อไป

7. ปราศจากศัตรูและโรค ต้นไม้แม้จะมีอาหารดี ถ้าถูกศัตรูรบกวนก็จะทำให้ต้นไม้นั้นไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาศัตรูของต้นไม้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

  • สัตว์ต่าง ๆ ได้แก่สัตว์ที่มารบกวนหรือทำลายต้นพืช แต่ส่วนใหญ่ได้แก่ตัวแมลงต่าง ๆ
  • โรค โรคของพืชแบ่งออกเป็น 2 พวก ย่อย ๆ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อได้แก่ เชื้อรา บัก­เตรี และเชื้อวิสา (Virus) พวกหนึ่งกับโรคที่ ไม่มีเชื้ออีกพวกหนึ่ง โรคเหล่านี้ได้แก่โรคที่เกิดจากสภาพทางฟิสิกส์ เช่น สภาพของดิน หรือการขาดอาหารบางอย่าง หรืออาหารเป็นพิษ

เมื่อพืชต่าง ๆ เป็นโรค ก็ต้องพิจารณาดูว่าโรคนั้นเกิดจากอะไร แล้วจึงใช้ยากำจัดโรคและกำจัดแมลงนั้น ๆ

การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ

ไม้ดอกไม้ประดับที่จะนำมาปลูกสำหรับจัดสวนนั้น อาจจะปลูกลงดินเป็นต้นเดียว เป็นกอ เป็นแถว หรือปลูกลงในแปลง แต่ถ้าต้องการจะปลูกไว้ตกแต่งอาคารก็ใช้ปลูกในกระถาง การปลูกลงในกระถางนั้นจะต้องพิจารณาดูว่า ควรจะใช้กระถางขนาดใด รูปทรงกระถางเป็นอย่างไรจึงจะสวยงามและเหมาะสมกับต้นไม้

1. การปลูกต้นไม้ลงในหลุม ควรปฎิบัติดังนี้

  • ก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงในหลุม จะต้องพิจารณาดูเสียก่อนว่าต้นไม้ที่จะนำมาปลูก เป็นเป็นต้นไม้ที่ชอบดินมีลักษณะอย่างไร เช่น ต้นไม้ที่ชอบที่ลุ่มมีน้ำขัง ถ้าเอาต้นไม้ที่ไม่ชอบน้ำชื้นแฉะมาปลูกแล้ว ต้นไม้นั้นก็ไม่เจริญเติบ โตหรืออาจตายได้ หรือต้นไม้ที่ชอบขึ้นในเลน น้ำเค็ม หากเอาต้นไม้ที่ไม่ชอบน้ำเค็มไปปลูกแล้ว ต้นไม้ก็อาจตายได้ดังนี้ เป็นต้น
  • เมื่อเลือกต้นไม้ที่ชอบสภาพดินและลักษณะดินได้แล้ว ก็จะต้องเตรียมดินปลูกในหลุมนั้น โดยการขุดหลุมตามขนาดของต้นไม้ ถ้าเป็นต้นไม้เล็กก็ขุดหลุมเล็ก ถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่ก็ควรขุดหลุมกว้างและลึกไม่ต่ำกว่า 50 ซม. หรือลึกเท่ากับความยาวของรากแก้ว เมื่อขุดดินแล้วก็ตากดินนั้นไว้ที่ปากหลุมประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าวัชพืชที่ไม่ต้องการ เมื่อตากดินไว้ 1 สัปดาห์แล้วก็นำปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 1 ส่วน ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย 1 ส่วน หรือจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ย กทม.) แทนปุ๋ยคอกก็ได้ผสมกับดินให้เข้ากันแล้วนำใส่ก้นหลุม
  • นำต้นไม้ที่เตรียมไว้ปลูกวางลงบนดินที่ผสมไว้
  • ปักหลักแล้วผูกต้นไม้นั้นไม่ให้ล้ม ถ้าเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นแข็งแรง อาจจะไม่ต้องปักหลักก็ได้
  • เอาดินที่ขุดตากไว้ใส่ลงในหลุมดิน ตอนบนควรใส่ลงไปข้างล่าง ส่วนดินล่างก้นหลุมควรกลบไว้ข้างบนกดดินให้แน่น เพื่อมิให้ต้นไม้เอนไปมาหาวัตถุพวกหญ้าแห้ง ฟาง แกลบ คลุมดิน เพื่อรักษาความชิ้นไว้เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  • ถ้าต้นไม้นั้น เป็นต้นไม้ที่ถอนกล้า ต้นเล็กมาปลูก ก็ต้องทำที่กำบังแดดจนกว่าต้น ไม้จะทรงตัวได้จึงเอาออก
  • การปลูก ควรจะปลูกในตอนเย็น

2. การปลูกต้นไม้ในแปลง ควรปฎิบัติดังนิ้

  • ก่อนปลูกจะต้องทำแปลงขนาดกว้างยาวตามพื้นที่ แต่ความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ถ้าแปลงกว้างเกิน 1 เมตร ทำให้ดูแลรักษายาก การทำแปลงนี้กระทำโดยการขุดดิน ตามความกว้างยาวของแปลงนั้น เก็บวัชพืชที่อยู่ในดินออกแล้วตากไว้ให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อตากดินแห้งแล้วก็ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ผสมดินนั้นด้วยปุ๋ยคอก ปูนขาว และปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเทศบาลกทม. อย่างละ 1 ส่วนบนดินนั้น เมื่อผสมได้ที่แล้วก็ทำเป็นรูปแปลง เตรียมที่จะปลูกต้นไม้ต่อไป
  • ก่อนที่จะปลูกต้องพิจารณาดูว่าต้นไม้ที่จะนำมาปลูกนั้นจะปลูกเป็นแถวติดกันหรือห่างกัน ถ้าห่างก็ขุดดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ไว้ตามระยะที่เห็นสมควร ถ้าจะปลูกเป็นแถวก็ทำดิน ให้เป็นรางติดต่อกัน
  • การถอนกล้ามาปลูก ควรใช้ไม้งัดให้มีดินติดมาด้วย อย่าให้รากขาด ถ้ารากขาดจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า เมื่อถอนกล้ามาแล้ว ก็นำมาปลูกลงในร่องหรือหลุมนั้น การถอนย้ายกล้ามาปลูก ควรทำในตอนเย็น ๆ
  • เมื่อตั้งต้นกล้าลงในหลุมได้ที่แล้ว ก็เอาดินกลบกดดินให้แน่น เพื่อให้รากเกาะกับ ดิน
  • หาหญ้าหรือฟางคลุมดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  • ถ้าต้นไม้นั้นยังเล็กไม่แข็งแรง ก็จะต้องทำร่มให้ต้นไม้จนกว่าต้นไม้จะทรงตัว

3. การปลูกต้นไม้ลงกระถาง ควรปฎิบัติดังนิ้

  • ก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงในกระถาง จะต้องเลือกกระถางให้มีขนาดพอเหมาะกับต้นไม้นั้น ๆ เมื่อได้กระถางมาแล้วก็หากระเบื้องแตกประมาณ 2-3 ชิ้น วางปิดรูก้นกระถาง ทุบอิฐมอญเป็นก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงก้นกระถางสูงขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว เพื่อช่วยในการระบายน้ำได้ดีขึ้น
  • ผสมดินสำหรับปลูกต้นไม้ทั่ว ๆ ไป ดังนี้ ดินร่วน 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ปุ๋ยเทศบาล 1 ส่วน ใส่ลงไปประมาณครึ่งกระถาง เอาต้นไม้วางลง แล้วเอาดินที่ผสมไว้ใส่ลงเกือบเต็มกระถาง เหลือไว้ประมาณ 1 นิ้ว กดดินให้แน่นเพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้ม
  • รดน้ำให้ชุ่มแล้วยกวางในที่ร่ม หรือพักไว้ในเรือนต้นไม้จนกว่าต้นไม้จะทรงตัวแล้ว จึงออกวางเป็นไม้ประดับได้
  • ในการปลูกต้นไม้ประดับชนิดไม้ใบ อาจจะปลูกรวมกันหลายชนิด ในกระถางเดียวกันก็ได้ โดยเลือกความสูงของต้น สีของต้นและใบให้ต่างกัน ก็จะแลดูสวยงามยิ่งขึ้น
  • ถ้าเป็นต้นไม้สำหรับตกแต่งอาคาร เช่น นำมาปลูกไว้ภายในบ้าน ต้องเลือกกระถาง ที่สวยงามพอสมควรหรือนำต้นไม้ที่ปลูกไว้ ในกระถางแล้วมารวมลงในกระถางที่สวยงามนั้นก็ได้ ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง กระถางนั้นต้องมีจานสำหรับรองน้ำเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลออก มาภายนอกเมื่อเวลารดน้ำ
  • สำหรับต้นไม้ที่นำมาไว้ในอาคาร บางชนิดจะต้องเปลี่ยนอยู่เสมอ กล่าวคือ เมื่อนำมาไว้สัก 1 สัปดาห์แล้วต้องเปลี่ยนออกเอา ต้นอื่นมาแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ต้นไม้โทรม

ส่วนผสมของดินที่ใช้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ

1. ดินสำหรับปลูกต้นไม้ทั่วไป

ดินร่วน 1 ส่วน, ใบไม้ผุ 1 ส่วน ปุ๋ย หมักหรือปุ๋ยเทศบาล 1 ส่วน

2. ดินสำหรับปลูกเฟิร์นต่าง ๆ

ดินเผาหรือดินร่วน 1 ส่วน, ใบไม้ผุเช่น ใบจามจุรี 1 ส่วน, ทราย 1 ส่วน, อิฐทุบก้อนเล็ก ๆ 1 ส่วน และปูนขาว 1/4 ส่วน

3. ดินสำหรับปลูกเบญจมาศ โกสน ปาล์ม ดินร่วน 4 ส่วน, ทรายหยาบ 2 ส่วน, ปุ๋ยคอกเก่า ๆ 1-2 ส่วน, ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเทศบาล 2 ส่วน, กระดูกป่นเล็กน้อย

4. ดินสำหรับปลูกบอน ว่านต่างๆ, ดาดตะกั่ว ดินร่วน 6 ส่วน, ทราย 4 ส่วน, ปุ๋ยคอก 1 ส่วน

5. ดินสำหรับปลูกกระบองเพชร, และพืชอวบ น้ำ เช่น กุหลาบหิน โคมญี่ปุ่น

ดินร่วน 1 ส่วน, ทราย 1 ส่วน, ปุ๋ยหมัก 2 ส่วน

6. ดินสำหรับปลูกไชแครนเยีย พิทูเนีย คริสต์มาส

ดินร่วน 4 ส่วน, ทรายหยาบ 2 ส่วน, ปุ๋ยหมัก 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 2 ส่วน

วิธีการขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ไม้ คือการทวีปริมาณจำนวนต้นพืชให้มากขึ้น โดยยังคงรักษาคุณลักษณะเดิม ไว้มิให้เปลี่ยนแปลงเป็นการสืบพันธุ์ของต้นไม้ ตามธรรมชาติที่มนุษย์ใช้วิธีการต่าง ๆ ช่วยทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธรรมชาติเมล็ด ออกงอกขึ้นมาเป็นเอง หน่อ (suckers) หาง ไหล (runners or stolons) เหง้า (rhizomes) หรือตา (buds) เหล่านื้แตกหน่อแทงออกมา ของมันเอง เพียงแต่หาวิธีทำให้แพร่พันธุ์มากขึ้นกว่านั้น

การขยายพันธุ์พวกไม้ดอกไม้ประดับที่ใช้กันมากนั้น ได้แก่

1. การเพาะเมล็ด ใช้กับไม้ดอกมากกว่าไม้ประดับ

2. การแยกหน่อหรือลำต้น ใช้กับไม้ประดับมากกว่าไม้ดอก

3. การตัดชำ ใช้กับไม้ประดับมาก

4. การตอน ใช้กันมากกับพวกไม้ประดับ นอกจากการขยายพันธุ์ทั้ง 4 แบบนี้แล้ว ยังมีการขยายพันธุ์โดยการทับกิ่ง นิยมใช้กับต้นตีนตุ๊กแก ผกากรองแคระ ฯลฯ การติดตา ใช้กับกุหลาบ ชบา การต่อกิ่งและการทาบกิ่งก็ใช้กันบ้างเหมือนกัน แต่มีที่ใช้น้อย จึงจะขอกล่าวเฉพาะ 4 แบบที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งมีวิธี การดังนี้ คือ

1. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้นั้นเอง ปัจจุบันมีการผสมพันธุ์ช่วยได้ลูกผสมใหม่ ๆ ขึ้นมา ดังนั้นจึงทำให้มีพันธุ์แปลก ๆ และมีคุณภาพดีกว่าที่ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แก่ ไม้ดอกล้มลุกต่าง ๆ เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย เทียนดอก บานชื่น บานไม่รู้โรย หงอนไก่

เบญจมาศ พีทูเนีย แอสเทอร์ เป็นต้น ต้นไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ราชพฤกษ์ แคฝรั่ง จามจุรี กระถินณรงค์นนทรี เป็นต้น สำหรับไม้ยืนต้น ไม้พุ่มมีหลายชนิดที่ไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เพราะโตช้า นอกจากต้องการปริมาณมากจึงขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์นั้นต้องเป็นเมล็ด ที่แก่ ไม่เก่า ไม่ลีบ

การเพาะเมล็ด

ก่อนที่จะเพาะเมล็ดจะต้องเตรียมภาชนะ ที่ใช้เพาะและเตรียมดินเพาะดังต่อไปนี้ คือ

1. การเตรียมดินที่เพาะ อุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเมล็ดมีด้วยกัน 3 อย่างคือ

ก. การเพาะลงบนกะบะเพาะ ซึ่งอาจจะใช้ลังนม ลังใส่น้ำอัดลม หรือจะต่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ นอกจากลังหรือกะบะแล้วควรมีกระจก หรือแผ่นพลาสติค สำหรับปิดด้วย การเพาะแบนนี้เหมาะสำหรับที่จะเพาะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือพันธุ์ไม้ดี ๆ

ข. การเพาะลงในแปลง โดยยกเป็นร่องสูงประมาณ 30 ซม. กว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร ถ้าจะทำเป็นการถาวร อาจก่อเป็นขอบอิฐหรือซีเมนต์บล็อคให้สูงขึ้นก็ได้ ควรมีหลังคา ซึ่งอาจจะใช้พลาสติคคลุมกันฝน การเพาะแบบนี้ เหมาะที่ต้องการพันธุ์ไม้มาก ๆ

ค. การเพาะลงในภาชนะ เช่น กระถาง ดินเผา ถุงพลาสติค วิธีนี้สะดวกดี เมื่อเมล็ดงอกแล้วไม่ต้องย้ายเพาะชำอีกครั้งหนึ่ง พอต้นไม้โตได้ขนาดแล้วไม่ต้องย้ายเพาะชำอีกครั้งหนึ่ง นำไปปลูกได้เลย การเพาะเมล็ดแบบนี้ เหมาะที่เพาะเมล็ดเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ เช่นไม้ยืนต้น หรือไม้ดอกบางชนิด

วัตถุที่ใช้เพาะ ได้แก่ ถ่าน แกลบ ทราย หยาบ และดินปนทราย ถ่านแกลบเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้เพาะ เพราะมีคุณสมบัติโปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแข็ง ระบายน้ำ และอุ้มน้ำได้ดี ถอนแยกชำในแปลงได้ง่าย รากไม่ขาดมาก

วิธีเพาะ

ก. ถ้าเพาะในกระบะ ควรใช้อิฐหักรอง ก้นกระบะหนา 1-2 นิ้ว ใช้หญ้าแห้งหรือฟางรองทับบนอิฐหัก แล้วใส่วัตถุที่ใช้เพาะ เช่น ถ่านแกลบ ทรายหรือดินปนทรายลงบนหญ้า ให้ต่ำกว่าขอบกระบะ 4-5 นิ้ว ถ้าเพาะลงบนถุงพลาสติค ต้องเจาะรูหรือตัดมุมที่ก้นถุงให้น้ำไหล แล้วจึงใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติค เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบโดยใช้น้ำรดกระบะให้เปียกโชก เพื่อล้างถ่านแกลบให้หมดด่างเสียก่อน

ข. ล้างเมล็ดให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อรา เช่น คูปราวิท ประมาณ 30 นาที ถ้าเมล็ดมีเปลือกเมล็ดแข็ง ควรกระเทาะ หรือฝนกับกระดาษทราย หรือแช่น้ำเสียก่อน

ค. ใช้ไม้กดทำเป็นร่องบนกระบะแล้ว ใช้เมล็ดปักลงไปลึกพอควร เรียงเป็นแถว แล้วเกลี่ยถ่านแกลบกลบ รดน้ำ ถ้าเพาะลงในแปลงจะใช้ดินผสมโดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน, ทรายหยาบ 1 ส่วน, ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมกันก็ใช้ได้เมื่อกลบเมล็ดแล้ว จะใช้ยาฆ่าแมลงด้วยก็ได้

ง. ควรดูแลรักษาอย่าให้ถูกแดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง ถ้าฝนตกมากต้องใช้แผ่นพลาสติคคลุม อย่าให้ดินชุ่มมาก เมล็ดจ เน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วจึงค่อยให้ถูกแดดบ้าง

จ. เมื่อต้นโตพอประมาณก็แยกไปปลูกได้

2. การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ การขยายพันธุ์แบบนี้เป็นการขยายพันธุ์กับต้นไม้ที่มีหน่อหรือต้นใต้ดิน เช่น พุทธรักษา บอน ว่าน ปาล์ม หมากเหลือง หมากแดง ช่อนกลิ่น เฟิร์น ฯลฯ การแยกกระทำดังนี้

ก. ก่อนแยกจะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรงมีใบประมาณ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่ว เพื่อให้ดินอ่อน แล้วใช้เสียมหรือมีดคม ๆ ขุดแยกออกมา การแยกจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย

ข. นำหน่อที่แยกออกมาตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกเสียบ้าง เช่นรากหรือใบที่ช้ำ เสร็จแล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่ได้เตรียมไว้ กดดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงในแปลงต้องบังร่มกันแดด (บังไพร) ให้จนกว่าต้นไม้จะตั้งตัว การรดน้ำควรห่างประมาณ 7-10 วัน จึงจะรดน้ำอีก

ค. การแยกกอ การแยกต้นเฟิร์น เฟิร์นเป็นพืชที่มีรากมาก รากมักจะลอยอยู่เหนือดิน ในการแยกเพื่อขุดออกมาแล้วแยกออกเป็นกอ ย่อย ๆ ตัดรากที่เสียทิ้ง แล้วจึงค่อยนำไปปลูก

3. การขยายพันธุ์โดยการตัดชำ การขยายพันธุ์แบบนี้เป็นอีกแบบหนึ่งที่ทำได้ง่ายและให้ผลเร็ว ไม่กลายพันธุ์ แต่กระทำได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น การปักชำแบบนี้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชไปปักชำเช่น

ก. ใช้กิ่งหรือลำต้นตัดชำ ได้แก่พวกเฟื่องฟ้า ทองหลาง ลั่นทม พวงคราม พวงแสด ชบา กุหลาบ เข็มต่างๆ ผกากรอง อินทนิน แคฝรั่ง ฯลฯ

ข. ใช้ใบตัดชำ ได้แก่พืชอวบน้ำ เช่น โคมญี่ปุ่น กุหลาบหิน ดาดตะกั่ว ลิ้นมังกร ไทรต่างๆ เป็นต้น

ค. ใช้รากตัดชำ พืชจำพวกนี้ได้แก่พวก สาเก มันเทศ ฯลฯ

ในการตัดชำนั้นจะต้องเตรียมดิน ภาชนะ ที่ตัดชำ แบบเดียวกับการเพาะเมล็ด คือจะปักลงกระบะในแปลง หรือถุงพลาสติคก็ได้ ส่วนวัตถุที่ใช้ในการปักชำนั้นใช้ถ่านแกลบ ทราย หยาบ หรือดินผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ดก็ได้

การตัดชำกิ่งหรือลำต้น

1. เลือกกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งไม้ตัดเฉียงใต้ข้อด้านล่างและเหนือข้อตาด้านบนยาวประมาณ 4-6 นิ้ว หากข้อยาวต้องตัดประมาณ 12 นิ้ว ข้อสำคัญให้มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา ตัดแล้วลดใบ ออกให้เหลือน้อย ใช้ปูนแดงหรือยากันราทาตรงรอยตัด

2. ต้นไม้ที่มียางมาก เช่นลั่นทม ชวนชม ยางอินเดีย ควรวางผึ่งไว้ให้ยางแห้งเสียก่อน สัก 3-4 วัน ก่อนปักจะใช้ฮอร์โมนทาหรือจุ่มรอยที่ตัดส่วนล่างเสียก่อนก็ได้ แล้วจึงนำไปปักลงในกระบะหรือแปลงที่เตรียมไว้

3. ควรปักกิ่งให้เอนทำมุมประมาณ 45 องศา ให้ปลายชี้ไปทางทิศตะวันตก เพื่อตาที่แตกออกจะได้มาอยู่ทางทิศตะวันออก ไม้ใหญ่ควรปักให้ห่าง ไม้เล็กปักให้ถี่ ดูให้เป็นแถวเป็นแนว สะดวกแก่การที่จะแยกไปปลูก กดดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน

4. การรดน้ำ ต้องรดให้ชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้ถึงแฉะ ไม่ควรใช้สายยางฉีดเพราะจะทำให้กิ่งโยกคลอน ควรพ่นเป็นฝอยหรือรดด้วยฝักบัว อย่าชำกลางแดดควรอยู่ในร่มเงาแดด หรือชำในเรือนเพาะชำ

5. เมื่อรากแตกจนใบแก่แล้ว ก็ขุดย้ายไปปลูกในภาชนะหรือปลูกลงดินได้เลย การขุดระวังอย่าให้รากขาด ควรปลูกลงในภาชนะเสียก่อน วางไว้ในที่ร่มรำไร เมื่อต้นไม้ตั้งตัวดีแล้ว จึงนำออกปลูกได้ ถ้าจะปลูกในแปลงเลยต้องบังแดดจนกว่าต้นไม้จะตั้งตัวดี

การตัดชำใบ

การชำแบบนี้เป็นการชำโดยใช้ใบ เช่น ดาดตะกั่ว (Begonia) โคมญี่ปุ่น เป๊ปเปอโรเมีย ฯลฯ ใช้ก้าน หรือใบปักชำลงในกระบะทราย หรือถ่านแกลบ ถ้าใช้ใบปักใบนั้นใหญ่จะแบ่งขวางตามเส้นใบก็ได้ การรดน้ำจะต้องรดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้ขังแฉะและอย่าให้อากาศร้อนมาก เมื่อรากและใบออกแล้วจึงแยกไปปลูก

การตัดชำราก

การชำรากแบบนี้ เป็นการใช้รากของต้นไม้ประเภทที่แตกต้นจากราก เช่น แคแสด สาเก ฯลฯ ในการตัดชำจะต้องเลือกรากที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/4-1/2 นิ้ว แล้วตัดด้วยกรรไกร หรือมีดเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณท่อนละ 2-4 นิ้ว นำรากนี้ไปชำในกระบะทรายหรือถ่านแกลบ วางตามแนวนอน กลบให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว กดทรายหรือถ่านแกลบให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อรากแตกเป็นต้นแล้ว จึงจะแยกไปปลูกได้

4. การขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง

การขยายพันธุ์แบบนี้นิยมทำกันมาก เพราะได้ต้นโต และเจริญเร็วกว่าใช้เมล็ด หรือแบบอื่น ๆ นอกจากนั้นยังได้พันธุ์แท้ไม่กลาย แต่ในการปฎิบัติมีความยุ่งยากพอควร

1.  การเตรียมเครื่องใช้แทนการตอนกิ่ง

ก. มีดที่ใช้ตอนต้องคมและสะอาด มีลักษณะโค้งเพื่อสะดวกในการควั่นกิ่ง เมื่อใช้แล้วต้องล้างให้สะอาด

ข. กาบมะพร้าวสำหรับหุ้มกิ่งตอน ต้องแช่จนยุ่ยและอิ่มตัว ตัดหัวท้ายให้เหลือท่อนกลางยาว 4-5 นิ้ว หรือแล้วแต่ขนาดของกิ่งตอน ทุบให้เป็นแผ่นยาวแล้วม้วนเก็บไว้

ค. ใบตองแห้งหรือแผ่นพลาสติค สำหรับหุ้มกาบมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ กาบมะพร้าวมีความชื้นอยู่เสมอ

ง. ตอกหรือเชือกสำหรับมัดกิ่งตอน

จ. ดินสำหรับหุ้มกิ่งตอนเป็นดินร่วนซุย หรือดินผสมกากพืชที่เน่าเปื่อย เช่นใบ ก้ามปู ใบทองหลาง กับมูลโคกระบือด้วย

2. การเลือกกิ่งตอน

ก. ต้องเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค

ข. ต้องเลือกกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป คือเป็นกิ่งที่แตกจากลำต้น หรือส่วน ยอดของลำต้น ซึ่งใบยอดคลี่เต็มที่แล้ว ใบที่ยอดคลี่ไม่เต็มที่ หรือยังอ่อนอยู่ไม่ควรตอน หากกิ่งแก่เกินไปจะลอกเปลือกยาก และรากก็ออกยาก

3. วิธีตอน

ก. การควั่นกิ่ง เมื่อเลือกกิ่งได้ขนาดแล้ว ควั่นรอบกิ่ง 2 รอบ (รอยล่างและรอยบน) การควั่นรอยบนจะต้องควั่นใต้ตาหรือข้อประมาณ 1/4 นิ้ว ส่วนรอยล่างห่างจากรอยบนความยาวประมาณ 1/2 ของเส้นรอบวงของกิ่งไม้ตรง นั้น ควั่นเสร็จแล้วใช้มีดกรีดระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกออกให้หมด เอาสันมีดขูด เมือกออก

ข. การหุ้มกิ่ง ใช้ดินร่วนดังกล่าวแล้ว ปั้นเป็นก้อนให้พอเหมาะกับกิ่ง หุ้มกิ่งให้มีดรอยควั่นด้านบนและด้านล่าง แล้วบีบดินให้กระชับกับกิ่ง แล้วนำกาบมะพร้าวที่ทุบเตรียมไว้แล้วหุ้มดิน โดยให้กาบมะพร้าวยาวกว่าตุ้มดินเล็กน้อย ใช้ตอกหรือเชือกมัดหัวท้ายกาบมะพร้าวให้แน่น อย่าให้กาบมะพร้าวหมุนได้ ต่อจากนั้น ก็นำใบตองแห้งหุ้มกาบมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง มัดหัวท้ายอีกครั้งหนึ่ง รดน้ำให้ชุ่มระวังอย่าให้แห้ง จนกระทั่งออกราก

ในการตอนกิ่งไม้ประดับบางชนิดที่ออกรากง่าย ๆ เช่นยี่โถ ช่อม่วง กุหลาบ ฯลฯ จะใช้วิธีดังต่อไปนี้ก็ได้ผลเหมือนกัน คือหลังจากควั่นกิ่ง ลอกเปลือก ที่จะตอนแล้ว แทนที่จะหุ้มด้วยดินกลับใช้มอส (Sphagnum moss) ที่ แช่นํ้าจนอิ่มตัวหุ้มแทนดิน ใช้แผ่นพลาสติคหุ้มให้แน่น มัดด้วยเชือกหัวท้าย (ฤดูฝนไม่ต้องรดน้ำ) ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน รากจะออก การตอนด้วยมอสนี้ง่ายมาก เคยทดลองมาแล้วได้ผลดีพอใช้ และไม่ยุ่งยากเหมือนการตอนด้วยกาบมะพราว

ค. การตัดกิ่งตอน เมื่อตัดกิ่งตอนมาแล้ว ควรแช่กิ่งตอนนั้นลงในน้ำให้กาบมะพร้าว ดูดน้ำให้อิ่มตัวประมาณ 30 นาทีก่อนชำ ควรแก้ใบตองหรือ

แผ่นพลาสติคออกเสียก่อน แล้วจึงชำลงในภาชนะหรือกระถาง ซึ่งผสมดินสำหรับปลูกไว้แล้ว รดน้ำและวางไว้ในที่รำไร จนกระทั่งเห็นว่าต้นไม้เจริญงอกงามดีแล้ว จึงนำออกให้ถูกแสงแดด หรือนำไปปลูกลงดินต่อไป

การให้น้ำให้ปุ๋ย

การรดน้ำ ต้องรดน้ำให้ดินเกิดความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และต้องให้พอแก่ความต้องการของพืช ตามธรรมดาควรจะรดวันละ 1 ครั้ง รดตอนเช้าหรือเย็น วันใดฝนตกไม่ต้องรด ถ้าอากาศ แห้งแล้งจัดจะต้องรดทั้งเช้าและเย็น ในการรดน้ำตอนเย็นควรรดเวลาใกล้คํ่า ไม่ควรรดขณะที่มีแดดจัด ใบจะไหม้ พืชที่ปลูกใหม่ ๆ ไม่ควรใช้สายยางฉีดรด ควรใช้บัวรด ถ้าจำเป็นจะต้องใช้สายยางก็ให้ฉีดเป็นฝอยรดน้ำมากไป รากจะเน่า

การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้นั้น สามารถ แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย และวิธีการให้ปุ๋ย

1. เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย

ปุ๋ยจะมีประโยชน์แก่ต้นไม้ต้องมีแสงสว่าง มีอุณหภูมิเหมาะสม และมีความชื้นดี แสงสว่างที่เหมาะกับต้นไม้ ได้แก่แสงแดดในตอนเช้า จนถึงเวลา 10.00 – 11.00 น. ต่อจากนั้นแสงแดดจะแรงกล้ามีความร้อนสูงขึ้น และอาจเป็น อันตรายต่อต้นไม้บางชนิดได้ ดังนั้นเพื่อให้แสงแดดช่วยทำให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่ต้นไม้ ควรจะรดปุ๋ยในตอนเช้า และแดดจะผลิตกำลังงาน อันที่จะทำให้รากต้นดูดปุ๋ยขึ้นมา สร้างความเจริญเติบโตแก่ต้นไม้ นอกจากตอนเช้า อาจจะรดในตอนบ่าย แต่ไม่ค่อยดีนัก เพราะแดดชักเริ่มหมด ถ้าแสงแดดหมดปุ๋ยคงแฉะอยู่ในกระถาง ทำให้รากเน่าหรือเกิดโรคราได้ง่าย และถ้าวันไหนครึ้มฟ้าครึ้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เพราะไม่มีแสงแดดที่จะเป็นพลังงานให้แก่ต้นไม้ นอกจากนั้นฝนอาจจะชะเอาปุ๋ยไปหมดเสียก่อน

2. วิธีการให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง มีวิธีปฎิบัติดังนี้

ก. คลุกผสมปนกับดิน ปุ๋ยจำพวกนี้ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุ เช่น มูลสัตว์ ใบไม้ผุ ผักหญ้า ปุ๋ยแผ่น หรือปุ๋ยเทศบาล ตามส่วนที่ต้องการ ถ้าเป็นดินเหนียว ตากดินให้แห้งแล้วทำให้ร่วนโดย ใช้น้ำราด เมื่อดินเหนียวร่วนแล้ว ใช้ทรายถมที่ก้นปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ 1 ส่วน ผสมเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การปลูก ไม้ประดับ

ข. ปุ๋ยแต่งหน้า วิธีใส่ปุ๋ยแบบนี้ ต้องพรวนดินผิวหน้ารอบ ๆ โคนต้นเสียก่อน แล้วโรยปุ๋ยรอบ ๆ โคนห่างกันพอควร หรือคะเนดู บริเวณที่รากแผ่ออกไป แล้วจึงพรวนกลบอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ทั้งต้นไม้ที่ปลูกลงดินหรือ กระถาง การใส่ปุ๋ยต้องใส่เป็นประจำ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้

ค. ปุ๋ยเร่ง คือปุ๋ยน้ำที่ใช้เร่งให้ต้นไม้โตเร็วขึ้นทันใจ การใช้ปุ๋ยน้ำนี้จะต้องมีปุ๋ยของพื้นอยู่แล้ว จะใช้ปุ๋ยน้ำอย่างเดียวไม่ได้ การราดปุ๋ยน้ำ ต้องราดรอบ ๆ ต้น เวลามีแสงแดด แต่อย่าให้ปุ๋ยถูกใบ

การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขัดขวางความเจริญเติบโตของต้นไม้ก็คือศัตรูของต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ

1. แมลงต่าง ๆ ได้แก่พวกแมลงที่ใช้ปากดูด และปากกัด แมลงจำพวกปากดูดพวกนี้ทำอันตรายต่อพืช โดยใช้ปากเจาะเข้าไปในใบ ในลำต้น ในผล ในหัว แล้วดูดเอาอาหารออกมาจากแผลที่มันเจาะ ได้แก่ พวกเพลื้ยต่าง ๆ เช่น เพลื้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และแมงมุมแดง ในการกำจัดแมลงพวกนี้ต้องใช้ยาฉีดชนิดถูกต้องตาย

แมลงอีกพวกหนึ่ง ได้แก่ จำพวกปากกัด แมลงพวกนี้ทำลายพืชโดยใช้ปากเคี้ยวกัดกินใบ กินดอก และส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่ แมลงเต่าทอง หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข็ง การกำจัดแมลงพวกนี้ ใช้ยาฉีดพ่นไว้ตามใบตามต้น ของพืช เมื่อแมลงกินใบหรือส่วนต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าไป ก็จะทำให้แมลงตาย ยาจำพวกนี้เรียกว่า “ยากินเข้าไปตาย”

2. โรคของพืช เป็นศัตรูของพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา บักเตรี และเชื้อวิสา (Virus)

ชนิดของยากำจัดแมลงศัตรูพืช

ยากำจัดแมลงมีด้วยกันหลายชนิด แต่ถ้าแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ ๆ ตามลักษณะการฆ่าแมลงแล้ว ก็แบ่งออกเป็น 3 พวกคือ

1. ชนิดแมลงกินเข้าไปแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้ ใช้กำจัดแมลงที่กัดกินใบ ตา กิ่ง ผล ตา ดอก และลำต้น

2. ชนิดถูกตัวแมลงแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้ ใช้กำจัดพวกเพลี้ยต่าง ๆ

3. ชนิดได้กลิ่นแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้และราคาสูงมาก

ยากำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ผลิตจะทำมาในแบบน้ำมันละลายน้ำได้ แบบยาละลายได้ในน้ำนี้มีเปอร์เซ็นต์ของตัวยาสูง เมื่อจะนำมาใช้ต้องผสมกับน้ำตามส่วนที่ได้แจ้งไว้ นอกจากจะมีแบบละลายได้ในน้ำแล้วก็ยัง มีแบบผงแบบนี้ไม่ละลายน้ำ เมื่อจะใช้ก็ใช้พ่นความแรงของตัวยาออกฤทธิ์ประมาณ 1-2% เป็นส่วนมาก

ประเภทของยากำจัดแมลง

ยากำจัดแมลงศัตรูพืชแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. ประเภทสารประกอบของคลอริเนเต็ต ไฮโดรคาร์บอน มีสูตรต่างๆ กันหลายอย่าง ได้ แก่ ดี.ดี.ที., พาราไดคลอไรเบซีล, ดิลดริน, เพนตาคลอโรฟินอล, มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงปานกลาง ก่อนใช้ต้องผสมตามส่วนที่ได้ แนะนำไว้ใช้ฉีดทุก ๆ 15 วัน

2. ประเภทที่มีสารประกอบคาร์บาเมท มีสูตรต่าง ๆ กัน แต่ที่แพร่หลายคือเซวิน ยาพวกนี้ ใช้กำจัดแมลงปีกแข็ง ตัวหนอนหรือตั๊กแตน เป็นยาที่กำจัดแมลงได้กว้างขวาง มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงน้อย ผสมตามส่วนที่กำหนด ใช้ตามฉลากข้างขวดหรือกระป๋อง ฉีดทุก ๆ 15 วัน

3. ประเภทสารประกอบออแกนโนฟอสเฟต ได้แก่ พาราไธออน, มาลาไธออน, โคซินอน, ดี.ดี.วี.พี. รอนเนล, ดิพเทอเรกช์ ยาพวกนี้ใช้กำจัดแมลงที่ดูดใบเลี้ยงจากใบ ตา กิ่ง ยอด ได้แก่พวกเพลี้ยต่าง ๆ รวมทั้งหนอนผีเสื้อบาง ชนิด ยาประเภทนี้มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงสูงมาก การใช้ต้องระวังอันตรายจากยาประเภทนี้

4. ประเภทเนเจอรัล ออแกนนิค สกัดจากดอกเบญจมาศได้ไพเรททรัม ใช้ผสมไปในยากำจัดแมลง

5. ประเภทอคาริไซด์ เช่น อราไมท์, คลอโรเบนซิเลท, เคลเลน ยาประเภทนี้ใช้กำจัดแมงมุมแดงโดยเฉพาะ

การฉีดยาหรือพ่นยากำจัดแมลง

เนื่องจากยากำจัดแมลงบางชนิดเป็นยามีพิษ ดังนั้นการฉีดยากำจัดแมลงศัตรูพืชจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าประมาทเผลอเรอ อาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถึงแม้จะไม่ตาย แต่มันจะเข้าไปสะสมในร่างกายของเรา ซึ่งอาจจะทำลายระบบประสาทต่าง ๆ ได้ การพ่นยากำจัดแมลงควรทำดังนี้

1. ก่อนจะใช้ยากำจัดแมลงศัตรูพืช จะต้องพิจารณาดูก่อนว่าพืชนั้นเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ถ้าถูกแมลงทำลายก็ต้องทราบเสียก่อนว่า แมลงที่ทำลายพืชนั้นเป็นเพลี้ยชนิดดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ตากิ่ง ตาดอกและลำต้น หรือเป็นแมลงชนิดกัดกินใบ ตากิ่ง ตาดอก หัวหรือลำต้น เพื่อทราบแล้วจึงหายากำจัดศัตรูพืชตามชนิดของศัตรูนั้น ๆ

2. เมื่อได้ยากำจัดแมลงศัตรูพืชตามความต้องการแล้ว ควรอ่านวิธีใช้จากฉลากที่ปิดไว้ข้างขวดว่า เป็นชนิดน้ำมันละลายน้ำหรือชนิดผงละลายน้ำ และใช้ส่วนผสมอย่างไร ตวงตามส่วนที่ได้แนะนำ การผสมด้วยน้ำควรผสมแต่ น้อยก่อน กวนให้เข้ากันด้วยไม้ ห้ามใช้มือเป็นอันขาด แล้วเติมน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการแล้วใส่ในเครื่องฉีด

3. ก่อนฉีดควรใช้ผาปิดจมูก เพื่อกันยาไม่ให้เข้าไปในร่างกายในขณะฉีดควรหันหัวฉีดไป ตามลมอย่าฉีดทวนลม

4. เวลาฉีดยากำจัดศัตรูพืช ควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็นใกล้ค่ำ ไม่ควรฉีดในขณะที่มีแสงแดดจัด หรืออากาศร้อนจัด เพราะจะทำให้ยาระเหยเร็ว หรือฉีดก่อนที่ฝนจะตก จะทำให้ฝนชะน้ำยาไปหมด

5. ในขณะฉีดไม่ควรสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหาร เมื่อเลิกฉีดแล้วต้องล้างมือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำมาก ๆ น้ำยาและเครื่องมือที่ใช้ก็ต้องล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้ให้เรียบร้อยและปลอดภัย

6. เมื่อจะทำการฉีดยา อย่านำเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหารเครื่องดื่ม เข้าใกล้ที่ฉีดยา เพราะจะทำให้เกิดอันตราย

7. เมื่อเสร็จจากการฉีดยา ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ ฟอกสบู่หลายๆ ครั้งให้สะอาด เสื้อผ้าที่ใช้แล้วก็ต้องฟอกให้สะอาดและตากให้แห้ง อย่าเอาเสื้อผ้าเก่าที่ยังไม่ได้ซักมาใช้อีก เพราะจะเป็นที่สะสมยา เป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ได้

8. ไม่ควรเข้าไปที่บริเวณฉีดยาใหม่ต้องให้หมดกลิ่นเสียก่อนจึงเข้าไปได้