หลักเกณฑ์ในการตัดไผ่

วิธีตัด : — โดยทั่วไปมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

ก. ตัดหมด :- วิธีนี้ตัดลำไม้ไผ่ออกหมดทั้งกอโดยไม่เหลือลำไว้ในกอเลย

ข. แบบเลือกตัด :- วิธีนี้จะเลือกตัดเฉพาะลำที่ต้องการเท่านั้น และคาดว่าเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับชนิดพันธุ์ไม้ไผ่ในประเทศไทยทั้งหมด เพราะวิธีตัดแบบแรกนั้นทำให้ต้องใช้รอบหมุนเวียนในการตัดฟันยาวนานมาก อย่างน้อย ๆ ไม่ตํ่ากว่า 10 ปี จึงจะทำการตัดได้ใหม่ และข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า กอที่ได้ทำการตัดลำออกหมดแล้ว เหลือเพียงตอนั้น มักจะตายเสียส่วนมากในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเคยทดลองมาแล้ว ปรากฎว่าไม่ประสบผลดีแต่อย่างใด

หลักเกณฑ์ในการตัดไผ่ : —

1. ในการตัดทุกครั้ง จะต้องคำนึงถึงจำนวนลำที่ควรจะเหลือไว้ในกอแต่พอเหมาะ ไม่ควรเลือกตัดเฉพาะลำที่มีลักษณะดีเท่านั้น และไม่ควรจะตัดลำจนกระทั้งเปิดโล่งทั้งกอ เพราะจะทำให้ลำใหม่คดงอได้ง่ายเนื่องจากไม่มีลำพี่เลี้ยง คอยประสานคํ้าจุนเอาไว้

2. ลำคดงอไม่สมบูรณ์ซึ่งเหลือตกค้างมาจากรอบตัดฟันก่อน ควรจะได้ตัดฟันออกเสียในคราวเดียวกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ลำใหม่ได้เจริญอย่างเต็มที่ เว้นเอาไว้เฉพาะลำอ่อนที่สมบูรณ์เท่านั้น

3. การเลือกตัดควรจะได้กระทำให้ทั่วทั้งกอ ไม่ควรจะตัดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะอาจจะทำให้ผลผลิตที่ได้ในรอบตัดฟันต่อ ๆ ไปลดลงก็ได้

4. ถ้าเป็นไปได้ควรตัดลำให้ชิดดินที่สุด อย่างตํ่าควรจะเหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 30-50 ชม.ก็พอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการขาดแคลนไม้ไผ่ในอนาคต เพราะเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะพวกไผ่ที่มีลำขนาดใหญ่ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ป่า ฯลฯ นั้นราษฎรมักจะตัดเหลือตอสูงมากถึง 3-4 เมตรก็มี ส่วนไม้รวกก็ยังคงตัดเหลือตอสูงถึง 1 เมตรเศษ ทำให้เสียเนื้อไม้โดยใช่เหตุ ควรจะนำส่วนที่เหลือไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆให้มากกว่านี้

5. หากไม่จำเป็นเพื่อการศึกษาหรือด้วยประการอื่นใดแล้ว ก็ไม่ควรตัดแบบถอนรากถอนตอ เพราะเราใช้ประโยชน์จากลำเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น จึงไม่ควรขุดเหง้าและ ตอออกมาด้วย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตตํ่าลง และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อมโดยใช่เหตุอีกด้วย

6. ถ้าเป็นระยะที่ไม่ไผ่กำลังออกดอก และเมล็ดก็ไม่ควรตัดในระยะนั้นเป็นอย่างยิ่งเพื่อผลในการขยายพันธุ์ต่อไป และหลังจากเมล็ดร่วงลงดินหมดแล้วจึงค่อยทำการตัด

รอบหมุนเวียนในการตัดฟัน :-

ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าไม้อ่อนที่มีอายุ 1-2 ปีนั้นสำคัญที่สุด ไม่ควรตัดออก เพื่อผลในด้านการปรับปรุงและสะสมอาหารสำหรับนำไปเลี้ยงหน่อใหม่และยังช่วยประคับประคองลำที่แตกใหม่ไม่ให้โอนเอนหรือคดงอได้ ด้วยเหตุนี้เองโดยทั่วๆไปแล้วสำหรับไผ่พวกที่ขึ้นเป็นกอแม้แต่ในอินเดียและประเทศอื่น ๆ ก็นิยมใช้รอบตัดฟัน 3 ปีทั้งสิ้น เพราะถ้าใช้รอบตัดฟันยาวกว่านี้ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ประการแรกก็คือ จะมีไม้ตายแห้งอยู่ในกอเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วลำไม้ไผ่จะแก่เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 3 ปี และจะเริ่มตกกระแห้งตายเมื่ออายุประมาณ 6-10 ปี ประการที่สอง เราไม่อาจจะทราบได้ว่าลำใดอายุ 5, 6 หรือ 7 ปี เพราะลักษณะในช่วงอายุระยะนี้แทบจะแยกกันไม่ออก ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่นิยมใช้รอบตัดฟันยาวกว่า 3 หรือ 4 ปี ดังกล่าวแล้ว

ผลผลิตรายปี :- จากผลการค้นคว้าทดลองที่สถานีทดลองปลูกไม้ไผ่หินลับ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ไผ่รวก ใน 1 ไร่ (ปลูก 4X4 เมตร) ตัดครั้งแรกโดยตัดลำอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปได้ 1,900 ลำ นํ้าหนัก 1,900 กก. ตัดครั้งที่สอง (หลังจากครั้งแรก 3 ปี) ตัดลำอายุ 3 ปีขึ้นไปได้ 2,000 ลำ นํ้าหนัก 2,250 กก. และจากการสำรวจของ ดร. อูเอดะ ผู้เชี่ยวชาญไม้ไผ่ชาวญี่ปุ่นและคณะได้ให้ข้อคิดเห็นว่าแม้ว่าในประเทศไทยจะมีป่าไผ่ธรรมชาติอยู่มากมายเพียงใดก็ตาม แต่ในปัจจุบันนี้ก็หาได้มีการดำเนินการส่งเสริม หรือเข้าจัดการแต่อย่างใดไม่ จึงทำให้ผลผลิตที่ได้จากป่าไผ่ธรรมชาติลดต่ำลงไป ซึ่งอย่างน้อยควรจะได้ผลผลิต 3 ตัน ต่อไร่ แต่ในปัจจุบันนี้เท่าที่สำรวจปรากฏว่าไผ่รวกในเนื้อที่ 1 ไร่ จะให้ผลผลิตเพียงตันเศษ ๆ เท่านั้น หากมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 100-150 กก.ต่อไร่ มีการดายวัชพืช บ้าง และมีการให้น้ำอย่างสมํ่าเสมอ ผลผลิตควรจะเพิ่มขึ้น เป็น 3 ตันต่อไร่ รายได้ต่อไร่จะสูงขึ้นมากควรแก่การลงทุน และปลูกกันเป็นลํ่าเป็นสัน ทำรายได้ให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ ถ้ายังปล่อยปละละเลย ไม่มีการปลูกป่าไผ่ทดแทน และไม่เข้าจัดการป่าไผ่ที่ยังคงสภาพดีไว้อย่างรีบด่วนแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ไม้ไผ่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้ก็จะเริ่มขาดแคลน ฉะนั้นทุกหน่วยงานจึงควรร่วมมือกันชักชวนประชาชนให้มาช่วยกันส่งเสริมการปลูกไม่ไผ่ เพื่อที่จะได้อนุรักษ์ทรัพยากรดังกล่าวแล้ว ให้คงอยู่ตลอดไป โดยไม่มีสิ้นสุด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ไผ่กาบแดง

พบขึ้นในท้องที่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก

ลักษณะทั่วไป ขึ้นเป็นกอขนาดกลาง ลำตรงสูง ประมาณ 6-8 ม. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-9 ชม. ไม่มีหนาม ปล้องยาวประมาณ 55-85 ซม. ใบมีขนาดใหญ่

ประโยชน์ ชาวบ้านนิยมใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เพราะมีเยื่อหอมและเปื่อยยุ่ย ชวนรับประทาน และใช้ทำเครื่องจักสานได้ดีพอควร

หน่อ ประกอบอาหารได้ดี

ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble)

พบมากทางภาคกลางและภาคเหนือ มีน้อยในภาคใต้ มีทั่วไปในที่สูงบนภูเขา เนินสูงอากาศร้อน ไม่ชอบนํ้าขัง ดินเป็น Silt loam ก็ขึ้นได้ดีมีมากที่สุดที่ จ.กาญจนบุรี

ลักษณะ ขึ้นเป็นพุ่มเตี้ย ส่วนใหญ่ลำต้นเล็ก ขึ้นชิดทึบแน่น

  • ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ 2-7 ซม. แต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก จากการศึกษาใน จ.กาญจนบุรี เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 2.5 ซม. แต่ถ้าพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี ขนาดก็ใหญ่ได้ ความสูงอยู่ระหว่าง 5.20-10.80 ม.
  • ใบ เล็กยาวเรียวรูป lancielate หน้าใบมีขนเล็ก ๆ
  • กาบ กาบหุ้มลำบางแนบชิดกับลำไม่หลุดร่วงเมื่อแก่
  • ดอก คล้ายรวงข้าว
  • หน่อ แตกหน่อในเดือนสิงหาคม-กันยายน ขนาดเล็ก กาบหน่อสีขาว
  • ปล้อง ปล้องยาวจาก 7-23 ชม. จำนวนปล้องมีประมาณ 35-48 ปล้อง

ประโยชน์

  • ทำเยื่อกระดาษ
  • ทำรั้วบ้าน วัสตุประกอบการก่อสร้าง เพื่อการประมง ฯลฯ
  • หน่อ รับประทานไต้

ไผ่รวกที่มีอายุ 4 ปี ถือว่าเป็นอายุสูงสุดควรตัดออก ถ้าอายุแก่กว่านี้ไม่มีประโยชน์อีกแล้ว

ไผ่หลอด (Schizostachyum acicuiare Gamble) ไผ่ชนิดนี้ไม่มีผู้ใดปลูกตามบ้าน มักขึ้นเองตามภูเขา เช่น เขาใหญ่ เขาสอยดาว เขาบรรทัด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

ลักษณะทั่วไป เป็นไผ่เล็กมาก ลำต้นเล็กสีเขียวเป็นมัน ลำปล้องสั้นประมาณ 10-15 ซม. ไม่มีหนามสูงประมาณ 3-4 เมตร ขึ้นเป็นกอเป็นพุ่มแขนงสั้น ใบสีเขียวเรียวเล็ก

หน่อ เล็ก มีขนหน่อสีเทา มีกาบสีขาว

ประโยชน์ ลำต้น ใช้ทำหลอดด้ายสำหรับทอผ้า แต่ปัจจุบันวิชาการก้าวหน้าสามารถใช้วัตถุอื่นแทนดีกว่า ลำต้นของไผ่หลอดจึงหมดความหมายไป

หน่อ ใช้รับประทานไม่ได้

ประโยชน์ที่พอจะมีก็คือ ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะเท่านั้น

ไผ่ซาง ไผ่นวล ไผ่ซางนวล ไผ่ซางดอย

(Dendrocalamus membranaceus Munro) ขึ้นอยู่ทุกภาค มีมากทางภาคกลางและภาคเหนือ

ลักษณะ เป็นประเภทชนิดขึ้นเป็นกอ ไม่หนาแน่นเหมือนไผ่ป่า ไม่มีหนาม สีของลำต้นเป็นสีเขียวอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นระหว่าง 3-12 ซม. สูงเต็มที่ระหว่าง 10-25 ม. ลำปล้องยาวประมาณ 30 ชม. เนื้อไม้หยาบอ่อนกว่าไม้สีสุก

ใบ เล็กยาว เนื้อที่ใบโดยเฉลี่ยประมาณ 14.2 ตร.ซม. ท้องใบมีขนบาง ๆ

หน่อ สีเทาแก่ปนแดง ข้างในขาว

กาบ สีขาวนวล

ภูมิประเทศที่ขึ้น ขึ้นได้ในดิน Loam ถึง Clay เช่น พวก Sandy clay loam, Clay loam และ Silt loam.

ประโยชน์ ลำต้น ทำเครื่องจักสานของใช้ในครัวเรือน เยื่อใช้ทำกระดาษ และใช้ในการก่อสร้างชั่วคราว

หน่อ ใช้ประกอบอาหารไต้ทั้งสดและดอง รสขม เล็กน้อย นิยมรับประทานกันทั่วไป

ไผ่บง (Bambusa tulda Roxb)

พบตามป่าดิบ ริมนํ้าทั่วไป พบมากทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะ เป็นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อลำหนา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-18 ซม. แต่ที่พบส่วนใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ 4-6 ซม. ความยาวของปล้องประมาณ 30 ซม. เนื้อหนาประมาณ 1.3 ซม. สูงประมาณ 9-12 ม. ขึ้นเป็นกอ ใบเล็ก เนื้อที่ใบประมาณ 5 ตร.ซม.

ดินที่ขึ้น พวก Sandy clay loam และ Clay loam ชอบความชุ่มชื้น

ประโยชน์ ทำรั้วบ้าน ทำเสื่อรำแพน เครื่องจักสาน เป็นของใช้ต่าง ๆ ทำเยื่อกระดาษ ฯลฯ

หน่อ รับประทานได้ มีรสขมเล็กน้อย ควรต้มสองนํ้าเป็นที่นิยมรับประทานเช่นกัน ไผ่บงนี้ยังมีอีกหลายพันธุ์ เช่น ไผ่บงนํ้า หรือบงหวาน (B. burmanica), ไผ่บงเล็ก (B. nutans) และ ไผ่บงใหญ่ (D. brandisii) ส่วนใหญ่พบ ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ไผ่ปล้อง, ไผ่นวล, ไผ่สีนวล

(Dendrocalamus strictus Nees)

ลักษณะทั่วไป ขึ้นเป็นกอ ลำต้นตรง แยกกันเป็นลำ ๆ กอโปร่ง ลำต้นสีเขียวนวล ปล้องยาวมาก เข้าใจว่าจะเป็นไผ่ที่มีปล้องยาวที่สุดในเมืองไทย คือมีปล้องยาวประมาณ 100-150 ซม. ความสูงของต้นประมาณ 8-10 ม. ไม่มีหนาม

ใบ ใหญ่และยาวสีเขียว

หน่อ สีนํ้าตาลปนส้ม ขนหน่อสีน้ำตาล กาบห่าง ขนยาว

ประโยชน์ ใช้ทำงานจักสานประเภทฝีมือละเอียดอ่อนได้ดีมาก เนื้ออ่อนและเหนียว สามารถจักเป็นเส้นเล็กๆได้ นิยมทำเป็นของใช้ ของชำร่วย

หน่อ ใช้ประกอบอาหารได้

ภูมิประเทศที่ชอบขึ้น ชอบขึ้นในที่ที่เป็นเนินสูง หรือภูเขา และในดินที่มีความชุ่มชื้นมากพอควร ส่วนใหญ่ขึ้นเองตามบริเวณป่าทึบแถบภูเขาต่าง ๆ ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด เช่น เขาใหญ่ เขาสอยดาว และทิวเขาบรรทัด ติดเขตแดนเขมร ฯลฯ

ไผ่ชนิดนี้เข้าใจว่าจะเป็นชนิดเดียวกันกับ ไผ่ปล้องห่าง ซึ่งชอบขึ้นตามป่าลึก ชายเขา หุบเหว ในท้องที่ จังหวัด กาญจนบุรี

ไผ่นํ้าเต้า

เข้าใจว่านำมาจากประเทศจีน

ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีปล้องสั้นๆ สีเหลือง มีแถบเขียวตามปล้อง มีลักษณะโป่งตรงกลางปล้องและกิ่วตามข้อ มองดู คล้าย ๆ นํ้าเต้า ลำต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นสะอาด ไม่มีคาย แขนงสั้น และจะออกแขนงเมื่อมีลำต้นสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ 4-8 ซม.

ใบ เล็ก สีเขียว

หน่อ สีเหลือง ขนของหน่อเป็นสีนํ้าตาลแก่

ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับที่สวยงาม และแปลกตา

ใช้ประโยชน์ในทางจักสานไม่ได้ แต่ประดิษฐ์เป็นของชำร่วยได้ เช่น ทำแจกัน

หน่อ รับประทานไม่ไต้

ภูมิประเทศที่ชอบขึ้น ชอบดินร่วนหรือดินเหนียวปนทราย การระบายนํ้าดี ไม่ชอบอากาศร้อน มีปลูกกันมาก ใน ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ต้นเล็กชำใส่กระถางเอาไว้ขายต้นละประมาณ 50 บาท

ไผ่สร้างไพร ไผ่เซียงไพร

ไผ่ชนิดนี้เข้าใจว่าจะเป็นชนิดหนึ่งของพันธุ์ไผ่เลี้ยง (Bambusa nana) ซึ่งพบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ไผ่สร้างไพรเล็กและไผ่สร้างไพรใหญ่

ลักษณะ ไผ่สร้างไพรเล็กขึ้นเป็นกอ ไม่แน่นทึบ สวยงาม ลักษณะทั่วไปเหมือนไผ่เลี้ยง ไม่มีหนาม

ลำต้น ผิวสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. ลำตรงสวยงาม ปล้องยาวประมาณ 20-25 ซม. เนื้อหนา สูงเต็มที่ประมาณ 5-8 ม.

ใบ สีเขียวอ่อนขนาดเล็ก เรียวยาว กว้างระหว่าง 1-2 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม.

กาบ สีนํ้าตาลอ่อน หลุดร่วงง่าย

หน่อ ขนาดเล็ก

ประโยชน์ ลำต้นตรงแข็งแรง นิยมใช้ทำไม่บันได ทำที่ดักนํ้าในบ่อแทนเชือก ด้ามสอยผลไม้ ใช้ทำแคร่สำหรับ นั่งนอน ม้านั่ง คํ้ายัน โครงหลังคาบ้านมุงแฝก ทำรั้ว ทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ด้ามมีด จอบ เสียม เสริมคอนกรีตแทน เหล็ก ฯลฯ

หน่อ รับประทานได้ แกงใส่ใบหญ้านาง เป็นที่นิยมกัน

ทั่วไป

ไผ่ชนิดนี้ปลูกขึ้นง่าย โตเร็ว เช่นเดียวกับไผ่เลี้ยง สำหรับไผ่สร้างไพรใหญ่นั้น จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-8 ซม. ลำตรง สูงประมาณ 10-14 ม.

ไผ่เหลือง (Bambusa vulgaris) หรือไผ่งาช้าง หรือไผ่บงคำ หรือจันคำ และมีลักษณะเหมือนไผ่บางชนิด คือ ไผ่พุทธ (Bambusa Ventricasa) และไม้ผิ่ว ไผ่ซางคำ (Bambusa pallida) ซึ่งบางตำราว่าเป็นชนิดเดียวกัน

ถิ่นกำเนิดเดิม ไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่า นำมาจากประเทศจีน โดยนำเข้ามาทางแหลมมลายู แต่ไม่ขยายพันธ์มากเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะนำมาปลูกตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ ตามวัด ตามโรงเรียน เพื่อเป็นทุ่มกอ เป็นไม้ประดับเท่านั้น

ภูมิประเทศที่ชอบขึ้น ไผ่พันธ์นี้ขึ้นในดินทุกชนิด ปลูกง่าย โตเร็ว

ลักษณะ ลำต้นสีเหลือง และมีแถบสีเขียวตามยาวของปล้องเป็นริ้ว ผิวเกลี้ยง ไม่มีคาย ขนาดใหญ่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-12 ซม. ปล้องระหว่างข้อยาวประมาณ 20-25 ซม. ความสูงของพุ่มโตเต็มที่ประมาณ 10-15 ม. ความหนาของเนื้อประมาณ 1-1 ½  ซม. เนื้อไม้อ่อน ภายในปล้องกลวง หน่อ หน่ออ่อน จะมีสีเหลืองอ่อน ตาหน่อสีน้ำตาลอ่อน

ประโยชน์ ลำต้น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำแจกัน ทำที่เขี่ยบุหรี่ และใช้ทำเครื่องเรือน หน่อใช้ประกอบอาหารได้ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสีเหลืองของลำต้นแปลกกว่าไผ่ชนิดอื่น