หลาวชะโอน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Oncosperma tigillaria (Jack) Ridl.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น ชะโอน นิบง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ปาล์มต้นเดี่ยวหรือแตกกอลำต้นขนาด 20-25 ซม. สูงได้ถึง 20 ม. คอยาว 60 ซม. สีเขียวอ่อนมีหนามสีดำที่ลำต้นและคอ


ใบ ใบประกอบแบบขนนกละเอียด กว้าง 50-100 ซม. ยาว 250-400 ซม. โค้งลง ใบย่อยรูปเรียวแคบ สู่ห้อยลง ที่ปลายใบย่อย มีเส้นใยเรียวเล็กยาวใบย่อยอยู่ชิดกันมีจำนวนมาก เรียงเป็นระเบียบ ก้านใบมีหนามแหลมยาว แข็ง สีดำ ยอดเป็นลำแหลมหุ้มด้วยกาบ ใบสีเขียวนวล
ดอก สีขาวถึงเหลืองนวล ช่อดอกมีขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แยกแขนงข้างลำต้นต่ำกว่ากาบใบ ช่อดอกห้อยลง ยาว 50-60 ซม. มีกาบหุ้มช่อดอกรูปเรือซ้อนกัน 2 กาบ ดอกออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก ดอกเพศเมียอยู่ตรงกลาง ขนาบข้างด้วยดอกเพศผู้


ผล ผลเนื้อนุ่ม ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.3 ซม. ผิวผลเรียบ ระยะแรกสีแดงแต่เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ และก้านช่อ ผลสีแดงอมม่วง 1 เมล็ดต่อผล ออกดอกและผลเดือน มี.ค.-ส.ค.
นิเวศวิทยา พบตามที่ลุ่มใกล้ชายฝั่ง ที่เป็นดินทราย มีการระบายน้ำดี และกระจัดกระจายในป่าพรุ
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย