หลุมพอทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น ประดู่ทะเล (กลาง) งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 20-40 ม. ทรงพุ่มทรงสูงถึงแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทาแกมเหลืองถึงสีนํ้าตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพูถึงส้มผิวเปลือกสีเขียว
ใบ ใบเดียวปลายใบมนหรือกลม เว้าเล็กน้อย โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยง มีปื้นขนเล็กน้อยด้านล่างใกล้โคนใบ ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.8 ซม.


ดอก สีชมพูหรือสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ออกดอกที่ปลาย กิ่งแบบช่อแยกแขนง มีขนสั้นนุ่มละเอียด ช่อดอกยาว 7-10 ซม. กลีบ เลี้ยงยาว 0.8 ซม. โคนกลีบติดกันเป็นหลอดมีกลีบดอก 1 กลีบ ยาว 1.3-2 ซม. ขอบกลีบดอกเป็นคลื่น มีขนสั้นนุ่ม แต่ละดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ออกดอกเดือน ธ.ค.-เม.ย.


ผล ฝักแข็ง แบน รูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-18 ซม. โค้งเล็กน้อย ขอบฝักหนา เรียบ ฝักอ่อนสีเขียว บางมาก คล้ายใบเมื่อแก่ฝักจะหนาขึ้น และเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อแก่จัดจะแตกออกตามรอย ตะเข็บตามยาวของฝัก 4-8 เมล็ดต่อฝัก สีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ปลายมน โคนตัดกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 3 ซม. ผลแก่เดือน ก.ค.-ก.ย.
นิเวศวิทยา พบตามพื้นที่น้ำกร่อย และชายฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทนทาน
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย