หวายน้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Calamus godefroyi Becc.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น หวายพรวน (กระบี่) หวายกำพวน (ทั่วไป)หวายตะบอง บุ่น (สกลนคร)
ลักษณะทั่วไป พืชกึ่งเลื้อย ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน ผิวเรียบ เป็นมัน สีเขียวออกเหลือง มีกาบใบหุ้มซ้อนกันและมีหนามคมสีนํ้าตาลดำ ขนาดและความยาวต่างคละกันไป เรียงตัวแน่นทั้งกาบใบ ลำต้นใหม่ มักตั้งตรง และล้มพาดไปกับดินหรือต้นไม้อื่นยาว 8-10 ซม.


ใบ ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว 50-80 ซม. มีหนามโค้งทั่วไป ใบย่อยเป็นทางยาวคล้ายใบมะพร้าว ขอบใบขนาน แผ่นใบเรียงตาม ยาว 30-50 ซม.
ดอก สีขาวนวล ดอกเป็นช่อตามซอกกาบใบบริเวณยอด มีก้านยาว ออก 1 เมตร โดยมีดอกขนาดเล็ก เรียงตัวแน่นบนก้านดอกในแนวตั้งฉาก กับก้านดอกหลัก


ผล ทรงกลมรี เปลือกผลมีรอยแยกคล้ายเกล็ดปลา เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในสีนํ้าตาลมีรสฝาด เมล็ด ทรงกลมแป้น ขั้วและปลายผลบุ๋มลึก ข้างผลมีร่องฟันเฟืองโดยรอบ เมล็ดสีน้ำตาลไหม้
นิเวศวิทยา พบตามป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ดินร่วนระบายน้ำดี
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ต้มกะทิ รสมัน การใช้สอยอื่น ลำต้น ทำเครื่องเรือน เครื่องจักสาน
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย