องุ่นป่า


ชื่อ
จีนเรียก    ซัวพู่ท้อ เจียวชุ่ยพู้ พั๋วโปวติ้ง Vitis thunbergu Sieb, et Suce.

ลักษณะ
ขึ้นตามทุ่งนาในป่า เป็นพืชยืนต้น ต้นคล้ายองุ่นแต่เล็ก ลำต้นสีเขียว นํ้าตาล มีขนขึ้นตามลำต้น ตามข้อมีหนวด ใบคู่ มีก้านใบรูปใบเป็นแฉกลึก ใบยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ปลายแหลมฐานกว้างกลม หน้าใบมีขนหลังใบเกลี้ยง ออกดอกหน้าร้อน สีเหลืองและเขียว ดอก 5 กลีบ ออกลูกกลมเม็ดเล็กสีดำ

รส
รสเปรี้ยว ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานขับลม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม ฤทธิ์เข้าปอดและกระเพาะปัสสาวะ

รักษา
แก้ปวดเมื่อยเนื่องจากหวัดแดด ท้องร่วง บวมนํ้าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คันตามผิวหนัง

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดเมื่อยเนื่องจากหวัดแดด-องุ่นป่า 1 ตำลึง ต้มน้ำเติมนํ้าตาลแดง หรือต้มกับขี้หนอนเถา  อย่างละครึ่งตำลึง
2. ลงท้องเนื่องจากหวัดแดด-องุ่นป่า 1 ตำลึง ต้มนํ้าชงกับนํ้าตาลแดง
3. บวมน้ำ-องุ่นป่า 1 ตำลึง แปะมิ่งหง ครึ่งตำลึง ต้มนํ้า ห้ามกินเค็ม หรือใช้องุ่นป่า 1 ตำลึง ไคร้หางหมา  ครึ่งตำลึง ต้มกับปูน้ำ หรือองุ่นป่าและลูกเดือย อย่างละ 1 ตำลึง พร้อมกับ แปะมิ่งหง ถั่วแดง มะละกอ  อย่าละ 3 เฉียน ต้มนํ้ารับประทาน
4. เด็กบวมนํ้า-องุ่นป่าครึ่งตำลึง แปะมิ่งหง 3 เฉียน ต้มนํ้า
5. ปวดเมื่อยตามข้อ-องุ่นป่า 1 ตำลึง ต้มน้ำ
6. ผื่นตามตัว-องุ่นป่าครึ่งตำลึง แปะมิ่งหง 3 แยน เปลือกถั่วดำ 1 ตำลึง ต้ม 2 เฉียน หรือองุ่นป่าครึ่งตำลึง ต้มกับดอกเงินทอง หรือสายน้ำผึ้ง

ปริมาณใช้
ดิบใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งใช้ไม่เกิน 1 ตำลึง

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช