อาการโรคพืชที่เกิดจากบักเตรี

อาการของโรคเกิดจากเชื้อบักเตรี คล้ายกับโรคที่เกิดจากเชื้อรา อาการที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับพืชอาศัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ อาการของโรคอาจแบ่งออกได้ดังนี้

1. ใบแห้งหรือไหม้ (blight) เชื้อเข้าทำลายพืชทำให้เกิดอาการ necrosis อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

2. เน่าเละการเละของเนื้อเยื่อ เนื่องจากเชื้อสร้างเอนไซม์มาย่อยสารที่เชื่อมระหว่างเซลพืช (middle lamella) และผนังเซลทำให้เซลหลุด ของเหลวต่างๆ ในเซลไหลออกมา (bacterial ooze) ต่อมาส่วนที่ถูกทำลายนั้นอาจเปลี่ยนสีไป

3. ใบจุด เป็นอาการที่เกิดจากการ necrosis ของเนื้อเยื่อที่เชื้อเข้าทำลาย จุดอาจเป็นสีน้ำตาลชุ่มปกติจุดจะมีขอบเขตของแผลจำกัด

4. ปม ก้อน เป็นอาการที่เนื้อเยื่อทีถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดการแบ่งเซลในอัตราที่มากกว่าปกติและแต่ละเซลมีขนาดใหญ่กว่าปกติที่เรียกว่า hyperplasia และ hypertrophy ตามลำดับ

5. Canker เป็นอาการเกิดหย่อมของเนื้อเยื่อโตออกมา บนใบ กิ่งก้าน ลำต้น และผล เนื่องจากการเกิด necrosis ของเนื้อเยื่อและปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เป็นเซลเสก็ดแข็ง (cork cell)

6. โรคกลุ่มท่อลำเลียงน้ำอาหาร (vascular disease) เชื้อสาเหตุบางโรคเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มท่อลำเลียงของพืช และทำให้เชื้อโรคกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของต้นพืช การเข้าทำลายของเชื้อจะหนักอยู่ที่บริเวณ ท่อลำเลียงอาหาร ทำให้เกิดการอุดตันเนื่องจากสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้น ทำให้พืชมีอาการเหี่ยว

การเกิดโรค
บักเตรีเข้าสู่พืชทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ hydathod, nectaries และทางแผล ซึ่งอาจเกิดจากแมลง การปฏิบัติต่างๆ ทางการเกษตร เช่น การไถ พรวน ตัดแต่งกิ่ง ทาบกิ่ง ฯลฯ
การเข้าสู่พืชของเชื้อทางปากใบค่อนข้างมีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงของเชื้อมากกว่าการเข้าทางแผล หลังจากเชื้อเข้าสู่พืชทางปากใบในระหว่างที่มีอากาศชื้นแล้ว เชื้อจะเจริญที่ช่องว่างใต้ปากใบ และทวีจำนวนมากขึ้น เกิดเป็นเมือกในช่องระหว่างเซล ทำลายเซลพืชโดยเอนไซม์ และสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจเข้าไปยังเนื้อของท่อลำเลียงน้ำอาหารพืช
การเข้าสู่พืชของเชื้อนี้ จะสะดวกมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณของความชื้น และปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ปากใบเปิดได้เป็นเวลานานการเข้าสู่พืชของบักเตรีนี้ มีรายงานพบว่าเชื้อที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรค ก็


ภาพบักเตรีสาเหตุโรคสกุลต่างๆ พร้อมทั้งอาการโรคของพืชที่เชื้อนั้นเป็นสาเหตุ


ภาพวิธีการและตำแหน่งของพืชต่อการติดเชื้อบักเตรีสาเหตุโรคทำให้เกิดโรคอาการต่างๆ (ที่มา : Kiraly et al. 1970)


ภาพบักเตรี (Pseudomonas tabaci) ในช่องว่างระหว่างเซลของใบยาสูบ (ที่มา : Agrios, 1978)
ผนังเซลของบักเตรีตรงบริเวณสัมผัสผนังเซลพืชหนาและสารคล้าย DNA ในเซลของบักเตรีจะย้ายมาสะสมอยู่ตามบริเวณดังกล่าวด้วย A) ตัดตามขวาง และ B) ตัดตามยาว (ที่มา : Heitefuss and
Williams, 1976) สามารถเข้าสู่พืชไปเจริญทวีจำนวนในเนื้อเยื่อพืชนั้นได้ แต่ไม่ทำให้พืชแสดงอาการโรคให้เห็นปนกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมีอาการแผลของโรค ซึ่งอาจเป็นเพราะเชื้อที่พบนั้นเป็นเชื้อที่ไม่มีความรุนแรงในการทำให้เป็นโรคพอ (avirulent strains) เชื้อบักเตรี Erwinia carotovora ที่เป็นสาเหตุโรคเน่าและของผักสามารถเข้าทำลายหัวมันฝรั่งผ่านทาง lenticel ได้ดีเช่นเดียวกับเข้าทางแผล และ Corynebacterium michiganense ที่เป็นสาเหตุโรค canker ของมะเขือเทศ เข้าทำลายพืชผ่านทางขนของใบ (trichomes) โดยเฉพาะขนใบที่หักขาด ใบแก่จะมีความต้านทานต่อโรคได้ดีกว่าเนื่องจากมีขนใบน้อยกว่า
การเข้าสู่พืชของเชื้อทางแผลที่เกิดในเนื้อเยื่อผิวนอกซึ่งอาจเกิดจากการย้ายกล้า การติดแต่งกิ่ง การไถพรวนดิน การปฏิบัติทางการเกษตรอื่นๆ ความเสียหายที่เกิดจากลม หิมะ แมลง ไส้เดือนฝอย บักเตรีในแผลจะเจริญลุกลามต่อไปโดยการทำลายเนื้อเยื่อด้วยสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้น เช่น tabtoxin โดยเชื้อ Pseudomonas tabaci สาเหตุโรคไหม้ลามทุ่งของยาสูบ หรือด้วยเอนไซม์ที่ย่อย pectin, cellulose และผนังเซลเชื้ออาจเข้าทางท่อ xylem แล้วกระจายไปทั่วต้น
กลไกการป้องกันตนเองของพืชต่อการเข้าทำลายของเชื้อบักเตรี ยังไม่มีการศึกษากันอย่างลึกซึ้งนัก เท่าที่รวบรวมได้มีดังนี้
1. พันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรค จะไม่มีแร่ธาตุอาหารพืชเฉพาะที่เชื้อบักเตรีต้องการ เช่น เชื้อ Erwinia aroideae ที่เป็น mutant strain ไม่มี histidine จะไม่ทำให้ต้นทูลิพเป็นโรค เนื่องจากต้นทูลิฟมี histidine เป็นต้น
2. การทวีจำนวนของเชื้อมีจำนวนจำกัด และสารพิษที่เชื้อสร้างมีปริมาณไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เกิดโรคได้
3. พืชที่ต้านทานต่อโรค มีสารที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อบักเตรีเกิดขึ้น เช่น Phytoalexin
4.พืชที่ต้านทานบางชนิดจะเกิดปฏิกิริยา hypersensitivity เมื่อพืชมีการติดเชื้อทำให้เชื้อไม่สามารถเจริญได้ต่อไป เช่น ฝ้ายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas malvacearum เป็นต้น
5. พืชที่ต้านทานมีน้ำในเซลที่มีสภาพของ pH ไม่เหมาะสม ปกติมักเป็นกรดเกินไป และเนื้อเยื่ออาจสร้างเซลเป็น corky layer กีดกั้นการเจริญลุกลามของเชื้อ
การควบคุมโรค
1. บักเตรีสาเหตุโรคบางชนิดติดมากับเมล็ด (seed borne) ฉนั้นจึงควรคลุกเมล็ดทำลายเชื้อด้วยสารเคมีที่กำจัดเชื้อบักเตรี (bactericide) ก่อนปลูก ส่วนมากเป็นสารประกอบอินทรีย์ของปรอท (organomercurial compounds)
หากเป็นเชื้อที่อยู่ในเมล็ด การแช่ในน้ำร้อนหรือสารปฏิชีวนะที่เหมาะสมจะได้ผลดี
2. การฆ่าเชื้อในดินโดยทำลายเชื้อบักเตรีที่อาศัยอยู่ในดิน
3. ทำลายพืชที่เป็นโรคอื่นๆ ระหว่างฤดูปลูกพืชหลักนั้น วัชพืชต่างๆ การเผาจะได้ผลดีมากที่สุด การไถกลบเพื่อให้เชื้อสลายตัวโดยจุลินทรีย์อื่นๆ ในดินก็นับว่าได้ผล ลดการแพร่เชื้อทางลมไม่ให้ระบาดแพร่ออกไป เป็นต้น
4. การปฏิบัติต่างๆ ทางการเกษตรที่เหมาะสม เช่นการปลูกพืชหมุนเวียน วันหว่านพืช การใช้ปุ๋ย เพื่อลดการเกิดโรค
5. ทำลายแมลงพาหะนำโรค ไส้เดือนฝอย ไม่ให้มารบกวนในไร่
6. การใช้สารเคมีฉีดพ่นเป็นน้ำ หรือพ่นผง เช่น สารปฏิชีวนะที่เป็นสารเคมีกำจัดเชื้อบักเตรี แอกกริไมซิน 100 (Agrimycin 100 = สเตรพโตไมซิน + เทอราไมซิน) เป็นปฏิชีวนะที่ใช้ในการเกษตร ไม่มีพิษต่อพืชชนิดหนึ่ง นอกจากการใช้ฉีดพ่นแล้ว การใช้ทาก็สามารถทำได้
7. ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรต่างๆ เช่น มีดที่ใช้ทาบกิ่ง เป็นต้น
8. ใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อโรค
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช