เคมีภัณฑ์เกษตรและการกำจัดศัตรูพืช

เคมีภัณฑ์เกษตร

ในปัจจุบันบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้ผลิตเคมีภัณฑ์ออกมามากมายหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนสำหรับพืชสัตว์ ยาปราบเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ยาฆ่าแมลงและไส้เดือนฝอย ยาฆ่าหญ้า และยาสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่ทว่าเกษตรและประชาชนทั่วไปยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างละเอียด จึงทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล หรือใช้ยาเกินอัตราที่กำหนด จนก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์ ทั้งนี้เพราะเขามิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเข้มงวด เช่น ใช้ยาเข้มข้นเกินไป ไม่เห็นแมลงก็ฉีดกันไว้ก่อน ฉีดยาผิดประเภท ฉีดยาก่อนเก็บเกี่ยวเพียง 1-2 วัน ฉีดตอนผลผลิตสูง เครื่องมือ ไม่ถูกวิธี ฉีคยาโดยไม่สวมเสื้อ รองเท้า หน้ากาก ฉีดยาทวนลม สูบบุหรี่ขณะฉีดยา และไม่ชำระร่างกายหลังจากฉีดยา ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรรู้จักชนิด หน้าที่ประโยชน์ และวิธีใช้เคมีภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ไว้ด้วยจึงจะปลอดภัยด้วยกันทุกฝ่าย

ก. ฮอร์โมนพืช

ฮอร์โมนคือสารประกอบที่พืชสร้างขึ้นในส่วนยอด ใบ ตา ดอกตูม ผลอ่อน เมล็ดอ่อน และปลายรากพืช เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตหรือก่อให้เกิคความต้านทาน เช่น อินโดลอาซีติก แอซิด(indoleacetic Acid) อินโดลบิวทีริก แอซิด (IBA) แนพทาลีนอาซีติก แอซิด(NAA) 2,4-D, 2,4,5-T, จิบเบอร์เร็ลลิก แอซิด (GA) ฮอร์โมนพืชมีประโยชน์ดังนี้

1. ใช้สำหรับเร่งรากในการตอนและปักชำกิ่ง เช่นใช้ IBA หรือ NAA หรือ 2, 4,5-T ขนาด 5000-15000 ส่วนในน้ำล้านส่วน จะเร่งให้พืชที่ออกรากยากได้ออกรากเร็วขึ้น เช่น มังคุด, ละมุด, ขนุน, ชมพู่, ลิ้นจี่, องุ่น, ลำใย, และส้มเขียวหวาน ฯลฯ

2. สำหรับช่วยให้พืชติดผลโดยไม่ต้องผสมเกษร และทำให้ได้ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด

3. ช่วยเร่งให้ผลไม้ออกดอกออกผลเร็วขึ้น โดยการนำฮอร์โมนไปฉีค ตาดอกก็จะเจริญเป็นดอกเร็วขึ้น

4. ช่วยป้องกันไม่ให้ผลร่วงก่อนถึงเวลาเก็บ โดยการฉีดฮอร์โมนเข้าไปช่วยเพิ่มเติม เพื่อมิให้ดอกร่วง พืชจะได้ผสมเกษรได้มากและทำให้มีลูกดก แต่เราจะต้องฉีดฮอร์โมนเข้าช่วยเป็นระยะๆ ไป

5. ช่วยเร่งความเจริญเติบโตของพืช เช่น โดยการฉีดลงบนใบพืชผัก การแช่หรือคลุกเมล็ดและหัวในฮอร์โมนก่อนปลูก เป็นต้น

6. ใช่กำจัดวัชพืช (หญ้าต่างๆ) เช่น 2,4-D, 2,4,5-T โดยใช้ในอัตราสูงเช่น 1,000-15,000 ส่วนต่อล้าน เพื่อฉีดฆ่าทำลายวัชพืชบางชนิด

ข. ฮอร์โมนสัตว์

ฮอร์โมน คือ สารที่ขับออกมาจากต่อมไม่มีท่อ เช่น ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากรังไข่ อัณฑะ ต่อมอดรีนาล ต่อมไทรอย เป็นต้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ผลิตฮอร์โมนสำเร็จรูป และฮอร์โมนสังเคราะห์ออกมามากมายหลายชนิดเช่น

1. ไพตอน (piton) เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ในสุกรฉีดประมาณ 50-100 ไอ.ยู. จะช่วยในกรณีคลอดลูกยาก

2. โปรแลคติน ( Prolactin ) เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ฉีดเพื่อช่วยในการผลิตนํ้านม

3. ไทโรโปรตีน (Thyroprotein) ใช้ผสมในอาหารสัตว์เพื่อเร่งและเพิ่มการให้นม

4. คอร์ติโซน (cortisone ) เพรดนิโซโลน ( Prednisolone ) ใช้ฉีดเพื่อช่วยในการใช้พวกน้ำตาล และเพิ่มการผลิตนม

5. อ๊อกซีโตซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ใช้ฉีดเพื่อเร่งการคลอด การขับรถและการไหลของน้ำนม ในสุกรใช้ฉีดให้ตัวละ 1.5-2.5 ซี.ซี. สุนัข 0.25-1.5 ซี.ซี. วัวและม้า 5 ซี.ซี.

6. เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนจากรังไข่ ใช้ฉีดเพื่อเร่งการเป็นสัดของสัตว์เลี้ยง อาจมีอยู่หลายอย่างเช่น โปรแลนเอส, เอสตราไคออลไซปิโอเนท เป็นต้น

7. ไดเอทธิลสติลเบสโตรล(oiethylstilbestrol) เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สังเคราะห์ขึ้นใช้ผสมในอาหารเพื่อขุนสัตว์ให้อ้วนหรือฝังใต้ผิวหนังของไก่ วัว เพื่อการขุนก่อนส่งตลาด

ค. ยาป้องกันและกำจัดเชื้อรา (Fungicides) ได้แก่ ยามาเน็บ ไซเนบ, คูปราวิท ไดโฟลาแทน, แคปแทน, ค๊อบปิไซค์, เบนเลท, โลนาโคล, แอนตี โกร, ออโธไซค์ 50

ง. ยาป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย (Bactericides) เช่น โรคเน่าเละในผัก โรคแคงเกอร์ (แผลขอบแข็ง) ในส้ม มะนาว ควรใช้ยาสเตร็ปโตมัยซิน หรืออะกริไมซินฉีดพ่น

จ. ยาป้องกันและกำจัดหนอนเพลี้ยและแมลง (insecticides) และศัตรูอื่นๆ ได้แก่ยาต่างๆ ดังนี้

1. ยากำจัดหนอน เช่น ดี.ดี.ที. พาราไธออน ดิพเทอร์เร็ก ท๊อกซาฟิน โรตี โนน เอ็นเดร็กช์ คลอเดน เมตาซีสท๊อก เซฟวิน-85 แลนเนท ฟอสดริน อโซดริน

2. ยากำจัดเพลี้ย เช่น คลอเดน พาราไธออน มาลาไธออน เมตาซีสท๊อก แลนเนท อโซดริน ฟอสดริน เซฟวิน-85 ไทรโอนา ไบดริน

3. ยากำจัดแมลง เช่น ดี.ดี.ที. โรตีโนน พาราไธออน เมธท๊อกซีคลอ ดีลดริน มาลาไธออน ท๊อกซาฟิน เอนดริน เฮพฅาคลอ ไดอาซิโนน แลนเนท เทอร์ ราซิด เซฟวิน 85 อโซดริน ดิพเทอร์เร็กซ

4. ยากำจัดด้วง เช่น ดี.ที.ที. ท๊อกซาฟิน ดีลดริน คลอเดน เอนดริน เฮพตา คลอ (ด้วงขาว ด้วงใต้ดิน)

5. หนอน หอยทาก แมงมุม เช่น เมตาซีสท๊อก พาราไธออน มาลาไธออน เคลเทน (ฆ่าแมงมุมแดง)

6. มค ปลวกและแมลงใต้ดิน เช่น ออลเดร๊กซ์-40 อลามอน-40 เชลไดท์

คลอเดน ออลดรินและเทอร์ราซิค 75 อีซี สำหรับปราบ มด ปลวก ตั๊กแตน แมลงในบ้านและด้วงเจาะยอดมะพร้าว

7. ไส้เดือนฝอยในดิน เช่น เนมากอน เนมาโตไซด์ แลนเนทแอล

8. หอยทาก ปราบโดยใช้เหยื่อพิษ เช่น เมทาน๊อกซ์, แคลเซียมอาร์ซีเนต หรือเมทธาลดีไฮด์

ฉ. ยากำจัดหญ้าหรือวัชพืช (Herbicides) แบ่งเป็นยาชนิด ถูกใบตาย ดูดซึม และมีฤทธิ์ในดิน เช่น

ยาชนิดถูกใบตาย

1. โซเดียม อาซีไนท์ โซเดียมคลอเรต ใช้ฉีดฆ่าหญ้าทุกชนิด และวัชพืชใบกว้างอื่นๆ

2. กรัมม๊อกโซน (พาราควอท) ใช้พ่นปราบหญ้าอ่อนและวัชพืชอื่น ๆ

3. เชลล์ดี 80 ใช้ปราบวัชพืชใบกว้างในนาข้าว

4. แพลนโซน, เฮดโดนัล และอุสติเน๊กซ์

ยาชนิดดูดซึม

1. 2,4-D, 2, 4, 5-T, 2,4-ดีอะมีน ใช้ปราบวัชพืชใบกว้างและหญ้าทั่ว ๆ ไป เช่น สาบเสือ สาบแร้งสาบกา และหญ้าอื่น ๆ

2. เอม. เอส. เอ็ม. เอ. (MSMA) มาลาเฟซ ใช้ปราบหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั่วไป

3. ราวค์อัพ ใช้ปราบหญ้าคา หญ้าชันกาด ตลอดจนวัชพืชร้ายแรงทุกชนิด

4. ดาลาพอน ใช้ปราบหญ้าคาโดยเฉพาะ

5. กรามาวิน ใช้ปราบหญ้าคาและวัชพืชใบแคบอื่น ๆ

ยาชนิดมีฤทธิ์ในดิน

1. ไดยูรอน, ไดแรม 80 ใช้ฉีดพ่นลงดินเพื่อคุมกำเนิดมิให้เมล็ดหญ้างอก

2. คาร์แมกช์ เป็นยาคุมกำเนิดเมล็ดหญ้า ฉีดป้องกันการงอกของเมล็ดหลังปลูกพืช

3. โลรอกซ์ เป็นยาคุมกำเนิดวัชพืชใบกว้าง

4. พลานาวิน ใช้คุมเคล้าผิวดินก่อนหรือหลังปลูก

5. แลสโซ่ ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืชหลัก เพือกุมกำเนิดหญ้าอื่น ๆ

6. มาเช็ตเต้ ใช้หว่านคุมหญ้าในนาข้าว หลังปักดำ

7. เกสาพริมและเกสาแพ็คซ์ ใช้ฉีดลงดินก่อนที่เมล็ดหญ้าจะงอก

ช. ยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับสัตว์

ยาและเคมีภัณฑ์สำหรับสัตว์มีหลายประเภทดังนี้คือ

1. วัคซีน (vaccine) คือสารที่ฉีดหรือใส่เข้าไปในตัวสัตว์เพื่อก่อให้เกิดความคุ้มโรค เช่น วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ฝีดาษและอหิวาต์ไก่ วัคซีนป้องกันกาฬโรคเป็ด และวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่

2. ซีรัม (serum) คือสารที่ฉีดเข้าไปในตัวสัตว์เพื่อการรักษาโรคและสร้างภูมิคุ้มกันในระยะสั้น ๆ เช่นซีรัมแก้พิษงู ซีรัมรักษาโรคอหิวาต์สุกร

3. แอนติเย่น (Antigen) คือสารที่ใช้ในการตรวจสอบว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ เช่น แอนติเย่นสำหรับตรวจโรคขี้ขาวในไก่ โรคแท้งในโคและสุกร เป็นต้น

4. ยาฆ่าเชื้อโรค ( Disinf ectants ) คือสารที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่นผงคลอรีน ด่างทับทิบ แอลกอฮอลล์ ฟอร์มาลิน ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ จุนสี โซดาไฟ ทิงเจอร์ กรดคาร์บอลิก ไลโซล กรดบอริก เกลือเงินไตรต เมอร์คิวริกคลอไรด์ (1:1000) ลูกอลล์โซลูชั่น ไบโอซิด-30 และไบโอเทน

5. ยาฆ่าและยาถ่ายพยาธิ (parasiticides and Wormers) ยาฆ่าพยาธิใช้ฆ่าพวกเหา ไร เห็บและหมัด ได้เเก่น้ำมันปิโตรเลียม นิโคตินซัลเฟต โซเดียมฟลูออไรด์ ดี.ดี.ที. โรตีโนน โพเรธทรัม เมธท๊อกซีคลอ คลอเดน บี.เอช.ซี ลินเดน ท๊อกซาฟีนและเซฟวินเอ ยาถ่ายพยาธิใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิปอด พยาธิใบไม้ พยาธิหัวใจ พยาธิแซ่ม้า พยาธิเม็ดสาคู ฯลฯ เช่น ยาปิเปอร์ราซีน ฟิโนไธอาซิน นิโคตินซัลเฟต โซเดียมฟลูออไรด์ ไฮโกรไมซินบี คาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ ไธอะเบ็นดาโซล น้ำมันชิโนโปเดียม ฮ๊อกโทซาน และแบนมินธ์ เป็นต้น

6. ยารักษาแผล ได้แก่ ยาเหลือง ยาแดง ทิงเจอร์ไอโอดิน ผงบอริค สารส้ม ด่างทับทิม ผงซัลฟา ขี้ผึ้งกำมะถัน เนกาซันท์ ฯลฯ

7. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาปฏิชีวนะ คือ สารที่ได้จากพวกจุลินทรีย์ เช่น รา และแบคทีเรีย ช่วยในการป้องกันรักษาโรคและเสริมสร้างความเจริญเติบโต แก่สัตว์เช่น เพ็นนิซิลิน ออริโอมัยซิน อ๊อกซีเตตราไซคลิน สะเตร็บโตมัยซิน นีโอมัยซิน บาซิทราซิน ไทโรไทรซิน โปลีมัยซิน โนโวมัยซิน อีรีโทรมัยซิน คลอแรมฟีนีคอล ฯลฯ

8. ยาซัลฟา (sulfa) ใช้ป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้แก่ ยาซัลฟาเมอราซีน ซัลฟาเมทาซิน ซัลฟาไดอาซิน ซัลฟานิลาไมด์ ซัลฟาไทอาโซล ซัลฟาควิน็อกซาลีน ซัลฟาไพริดีน ซัลฟากัวนาดีน และไดมีตอน บี และ ไตรซัลฟาน เป็นต้น

9. อาหารเสริมแร่ธาตุและไวตามิน เช่นยาเสริมธาตุเหล็กสำหรับลูกสุกร (ไอออน เด็กแตรน พิกเด๊กซ์ ไฟเด๊กซ์ เฟอร์รัม ฮอสมันส์ ฯลฯ) และอาหารเสริมแร่ธาตุและไวตามิน เช่น ไวตามิน พรีมิกซ์ อาหารแร่ผสม เฮดสต๊าร์ทของไก่-สุกร ควอดเดร๊กซ์ ฯลฯ

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1. โรค (Diseases) อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น

ก. จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น อากาศเสีย ควันพิษจากรถยนต์หรือโรงงาน การขาดธาตุอาหารต่าง ๆ

ข. จากสิ่งที่มีชีวิต เช่น จากแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส

2. แมลง (insects) มีหลายชนิด เช่น

ก. พวกดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยต่าง ๆ และมวน

ข. พวกเจาะกินผลและดอก เช่น แมลงวันผลไม้ ด้วง

ค. เจาะเข้าไปอาศัยกัดกินต้น ผล เมล็ด เช่น หนอนกอข้าว หนอนเจาะฝัก ลำต้นข้าวโพด

ง. กัดกินใบ ตา ดอก ยอด ลำต้น ผล ราก เช่น หนอนใยผัก หนอนเจาะเปลือกมะม่วง ตั๊กแตน ด้วง

จ. ทำให้เกิดปุ่มปมในพืช เช่น หนอนเจาะเถามันเทศ

ฉ. เป็นพาหะในการนำโรคไปสู่พืชอื่น ๆ เช่น เพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่

3. ไรแดง (Mites) จะดูดกินน้ำเลี้ยงของใบ ดอก และยอดอ่อนของพืช

4. วัชพืช (weeds) เช่นหญ้าต่าง ๆ และรวมทั้งกาฝากด้วย

5. ใส้เดือนฝอย (Nematodes) ทำให้เกิดรากปม รากพอง และรากกุด รากเป็นแผล ทำให้ลำต้น ใบ ช่อดอก หงิกงอ

6. อื่น ๆ เช่น หนู นก กระรอก หอยทาก ปู และสัตว์อื่น ๆ

วิธีพิจารณาว่าพืชเป็นโรคหรือถูกแมลงรบกวน

พืชที่เป็นโรคมีลักษณะอาการดังนี้

1. โรครา

-ใบเป็นจุด ๆ มีสีนํ้าตาล หรือสีดำ

-ใบไหม้ ก้านแห้ง ลำต้นเน่า

-ใบเป็นสนิม ใบขาว ใบซีด

-เน่าที่ข้อต่อ โคนเน่า เน่าคอดิน

– ต้นเหี่ยว ใบเหี่ยว รากเน่า ใบเน่า

-มีราน้ำค้าง ราเป็นเส้นใยดำ ๆ มีราสนิม

-ราจับเป็นก้อน ราที่ฝัก ดอกกระถินของข้าว

2. โรคจากแบคทีเรีย

-โรคเน่าเละในผัก

-โรคเหี่ยวในผัก และกล้วย

-โรคแคงเกอร์ ( Canker ) ในส้มซึ่งทำให้ใบเป็นแผลขอบแข็งสีน้ำตาล

-ใบขีดโปร่งแสง (ข้าว)

-โรคไบล้ท์ (Blight) ในถั่วเหลือง

3. โรคจากเชื้อไวรัส

-ใบสีส้มของข้าว

-โรคฟิจิ (Fiji) ในอ้อย

-โรคใบหงิก ในพืชผัก

-ใบด่างในพืชผัก

-โรคแห้งตายในส้ม

4. โรคจากใส้เดือนฝอย

-รากเป็นปม รากกุด รากพอง รากเป็นแผล

-ใบหงิกงอ ต้นแคระแกรน

-ลำต้น ช่อดอก หงิกงอ

5. ไรต่าง ๆ

-ยอดอ่อนแคระแกรน

-ใบดอกหงิกงอ แคระแกรนและเปลี่ยนสี

6. อาการจากแมลงและหนอน

-ใบหงิกงอ ม้วนตัว

-ยอดอ่อนแคระแกรน ใบซีด

-มีมดขึ้นเต็ม เช่นมดดำชอบอยู่กับเพลี้ยอ่อน

-ใบแห้ง ตายยอดเพราะเพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น

-แมลงจะกัดกินใบ ตา ยอด ดอก ผล ทำให้ใบแหว่ง ยอดขาด ดอกผลแหว่ง

-แมลงกัดกินและชอนไชลำต้น ใบ ดอกผล

-พบแมลงและหนอนบนพืชผัก หรือบนดิน

หลักการป้องกันศัตรูพืช

การป้องกันศัตรูพืช คือ วิธีปฏิบัติที่จะช่วยให้พืชรอดพ้นจากอันตราย ซึ่งสามารถทำได้โดย

1. การบำรุงต้นพืชให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยเป็นประจำ

2. รักษาบริเวณปลูกพืชให้สะอาด ปราศจากเศษขยะ เศษพืชเก่า ๆ ซึ่งอาจเป็นที่อยู่ของโรคและแมลง

3. ทำลายวัชพืชอยู่เสมอ เพื่อมิให้แย่งอาหารและทำลายที่อยู่ของโรคและแมลงอื่นๆ

4. ทำลายต้นพืช หรือกำจัดกิ่งที่เป็นโรค โดยการขุดหลุมฝังหรือเผาเสีย

5. เมื่อจะนำพืชจากแหล่งอื่นมาปลูก ต้องพักและแยกไว้ต่างหากสักระยะหนึ่ง จนแน่ใจว่าไม่มีโรคและแมลงติดมา

หลักการกำจัดศัตรูพืช

1. เลือกวิธีให้ถูกต้อง และเหมาะสม

2. พิจารณาว่าคุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือไม่

3. ไม่เป็นอันตรายหรือเกิดผลเสียหายต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เช่นพวกตัวเบียน ตัวห้ำ ที่จะคอยกำจัดศัตรูพืชอยู่แล้ว

4. เลือกระยะเวลาให้เหมาะสม เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าระยะใดที่ศัตรูพืชชอบมารบกวน และเพื่อหาจุดอ่อนของศัตรูพืชนั้น ๆ

5. ถ้าใช้เคมีภัณฑ์ก็ต้องเลือกยาให้ถูกกับโรค เช่นถ้าพืชเป็นโรคจากรา ก็ใช้ยาฆ่ารา ถ้าพืชมีแมลงรบกวนก็ใช้ยาฆ่าแมลง ถ้าพืชมีไรแดงรบกวนก็ใช้ยาฆ่าไรแดง ถ้าจะใช้ยา 2-3 อย่างผสมกันก็จะต้องดูว่ายานั้น ๆ ผสมกันได้หรือไม่

วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

1. โดยวิธีกล เช่นการ เก็บ ถาก จับศัตรูด้วยมือหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำลายส่วนของพืชที่ถูกศัตรูพืชทำลาย ใช้ตาข่ายหรือใช้กับดัก หรือใช้ไฟฟ้าช๊อร์ต

2. โดยจัดเทคนิคการปลูกพืชให้เหมาะสม เช่น ปลูกพืชหมุนเวียน ทำลายวัชพืชและเศษพืชซึ่งเป็นที่อยู่ของแมลง ไถพรวนหลังเก็บเกี่ยว วางระยะปลูกให้เหมาะสม ทำความสะอาดแปลงและใช้พืชที่ทนทานโรค

3. ใช่ชีววิธี คือการใช้ตัวเบียน ตัวห้ำ และพวกจุลินทรีย์ต่าง ๆ

4. โดยการออกกฎหมาย และตั้งด่านกักกันพืช

5. โดยใช้สารเคมี หรือยาปราบศัฅรูพืชต่าง ๆ

6. โดยวิธีผสมหลายแบบ เช่นการใช้วิธีกล รวมกับวิธีเคมีเป็นต้น

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี

ในปัจจุบันนี้ เรามียาเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งยาน้ำ ยาผง ที่สามารถจะใช้แบบพ่นเป็นผงหรือผสมน้ำพ่นเป็นละอองก็ได้ ในการที่เราจะใช้ยาปราบโรคและแมลง เราจะต้องรู้จักชนิดของโรค และเลือกชนิดหรือประเภทของยาให้ถูกต้องด้วย ในบางครั้งเราอาจจะต้องผสมยาหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน เช่นยาปราบแมลงและยากำจัดโรครา ดังนํ้นเราจะต้องรู้ว่ายาชนิดใดผสมกันได้บ้างหรือไม่ โปรดดูที่ตารางแสดงความเหมาะสมในการผสมยาต่าง ๆ

อุปกรณ์ฉีดพ่นเคมีภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

1. เครื่องพ่นเป็นละออง เป็นเครื่องฉีดพ่นขนาดเล็กจุ 0.25-1 ลิตร เหมาะสำหรับฉีดพ่นยาจำนวนน้อย เช่น ไม้ดอกไม้ประดับขนาดเล็ก หรือมีโรคเล็กน้อย เครื่องพ่นชนิดนี้ เช่น กระบอกฉีดยุง เป็นต้น

2. เครื่องพ่นแบบง่าย ๆ เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ตัวลูกสูบเป็นท่อกลมยาว เวลาสูบใช้สายยางยาวดูดน้ำยาจากถัง ซึ่งอาจดัดแปลงเป็นสพายหลังหรือหิ้วตาม น้ำยาจะฉีดออกทางหัวฉีคเป็นฝอย เหมาะกับสวนผักขนาดเล็ก เรือนต้นไม้ ไม้ประดับและสวนปลูกไม้เตี้ย ๆ

3. เครื่องฉีดพ่นยาแบบอัดลม เป็นเครื่องพ่นยาน้ำแบบถังปิดสนิท มักจะมีรูปกลม เป็นกระบอกจุ 9-13 ลิตร เมื่อใส่ยาลงถังแล้วก็ปิดถังให้สนิท สูบลมเข้าไปจนรู้สึกตึงมือก็ใช้พ่นยาได้ เมื่อความดันต่ำลงก็ต้องอัดลมเข้าไปใหม่ เป็นเครื่องที่ใช้สะดวก ราคาถูก เหมาะสำหรับสวนผักและไม้ผลขนาดเล็กทั่วไป

4. เครื่องพ่นน้ำยาแบบสพายหลัง ทำด้วยโลหะหรือพลาสติกแข็งจุ 10-18 ลิตร มีคันชักสูบลมได้ตลอดเวลา จึงฉีดพ่นยาติดต่อกันได้เรื่อย ๆ

5. เครื่องยนต์พ่นยาน้ำแบบสพายหลัง มีเครื่องยนต์ขนาค 1-2 แรงม้า ติดอยู่ เพื่อขับดันน้ำยา ถังจุ 9-12 ลิตร ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับสวนผัก สวนผลไม้ พ่นยาได้วันละ 50-60 ไร่

6. เครื่องยนต์พ่นยานํ้า เป็นเครื่องพ่นยาที่ใช้เครื่องยนต์ มีหลายขนาด ใช้เครื่องยนต์ตั้งแต่ 1/2 – 25 แรงม้า มีทั้งชนิดหิ้ว ลาก เข็น และติดกับรถแทรคเตอร์ ใช้สำหรับทำไร่และสวนผลไม้สูง ๆ

7. เครื่องฉีดยากำจัดใส้เดือนฝอย เป็นเครื่องอัดยากำจัดใส้เดือนฝอยลงไปในดิน

8. เครื่องบินพ่นยา เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก มีกำลังราว 125 แรงม้า สามารถบรรทุกน้ำยาได้คราวละประมาณ 450 ลิตร ใช้สำหรับสวนและไร่ขนาดใหญ่

วิธีคำนวณหาปริมาณยาที่จะต้องใช้

1. ยาผงละลายน้ำ เช่นถ้ามียา ดี.ดี.ที. ผงชนิดเข้มข้น 50%  อยู่จำนวนหนึ่ง ต้อง การเตรียมดีดีที 1% เพื่อใช้ฉีดกำจัดแมลงสัก 20 ลิตร จะต้องใช้ดีดีทีชนิด 50% กี่ก.ก. ละลายน้ำให้ได้ 20 ลิตร

วิธีคำนวณ ใช้สูตรดังนี้

ดังนั้นต้องใช้ดีดีทีผงชนิด 50% (ที่ซื้อมา) จำนวน 0.4 กิโลกรัมละลายในน้ำ 20 ลิตร จึงจะได้สารละลายดีดีที 1%  ตามต้องการ

2. ยาชนิดเป็นน้ำ เช่น ถ้ามียาดีดีที 50% ชนิดน้ำ อยู่จำนวนหนึ่ง ต้องการเตรียมดีดีที 1% สัก 100 ลิตรจะต้องใช้ดีดีที 50%กี่ลิตร (ดีดีทีมีความถ่วงจำพวก 1.02)

วิธีคำนวณ ใช้สูตรดังนี้

นั่นคือต้องใช้ดีดีที่ 50% (ชนิดน้ำ) เป็นจำนวน 1.95 ลิตร ผสมกับน้ำให้ได้ 100 ลิตร ก็จะได้สารละลายดีดีที 1% ตามต้องการ

หมายเหตุโดยทั่วๆไป ผู้ใช้ไม่มีโอกาสทราบความถ่วงจำเพาะของน้ำยา แต่ในทางปฏิบัติ ความถ่วงจำเพาะของเคมีภัณฑ์ทั่ว ๆ ไปเท่ากับ 1.0

ยากำจัดและยาฆ่าแมลงพื้นบ้านบางชนิด

1. สารละลายรากโล่ติ๊น ใช้รากโล่ติ๊น (หางไหลแดง) แห้ง 1 ก.ก. ทุบให้แตก แล้วแช่น้ำประมาณ 1 วัน ทุบและขยี้รากโล่ติ๊นในน้ำจนได้สีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าว เติมน้ำจนได้สารละลายประมาณ 9-10 ปีบ กรองรากโล่ติ๊นออกแล้วเติมน้ำสบู่ (ใช่สบู่ซันไลท์ 600-700 กรัม เคี่ยวละลายในน้ำเสียก่อน) คนให้เข้ากันดี นำสารละลายไปฉีดป้องกันกำจัดแมลง หนอนและเพลี้ยต่าง ๆ ได้ (น้ำสบู่จะช่วยให้ตัวยาในรากโล่ติ๊นติดใบพืชหรือตัวแมลงดีขึ้น)

2. น้ำยาฉุน ยาฉุนคือยาสูบ (ยาเส้น) ที่ตากแห้งและหั่นเป็นฝอย อาจจะใช้ต้นยาสูบ ใบยาหรือส่วนหนึ่งของยาสูบที่ไม่ใช้เเล้วก็ได้ ใช้ยาฉุน 1-1.5 ก.ก. หรือต้นใบเศษเหลือ 10 ก.ก. ต่อนํ้า 3 ปีบ นำไปตั้งไฟต้มและเคี่ยวนาน 1 ชม. สารนิโคตินจะละลายออกมา  ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองเอาแต่นํ้า ผสมนํ้าสบู่ลงไป (ใช้สบู่ซันไลท์ 180-200 กรัม หั่นเป็นชิ้น ๆ ใส่น้ำตั้งไฟจนสบู่ละลาย) คนนํ้ายาฉุนและน้ำสบู่ให้เข้ากันดี แล้วจึงนำไปใช้ปราบเพลี้ย หนอน และแมลงอื่น ๆ

น้ำยาฉุนกลั่นที่จำหน่ายกันในท้องตลาด มีความเข้มข้นมาก (ประมาณ 50%) เวลาใช้จะต้องผสมน้ำอีก 400-500 ลิตร ต่อน้ำยาฉุนกลั่น 1 ลิตร

3. น้ำสบู่ โดยใช้สบู่ซักผ้า เช่นสบู่ซันไลท์ 1 ก.ก. หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำจำนวน 3 ปีบ ถ้าจะผสมแต่เพียงจำนวนน้อยก็ลดลงตามส่วน นำไป่ต้มจนเดือดจนสบู่ละลายหมดแล้ว ทิ้งให้เย็นนำไปฉีดฆ่าแมลงได้

4. ยาบอร์โด (Bordeaux Mixture) ยาบอร์โดเป็นยาป้องกันและกำจัดเชื้อรา ที่สามารถเตรียมได้เองอย่างง่าย ๆ มีส่วนผสมดังนี้

1. จุนสี (copper Sulphate) หนัก 1 ก.ก.

2. ปูนขาว (Quick Lime ) หนัก 1.66 ก.ก.

3. น้ำ 76 ลิตร

วิธีทำ

ตำจุนสีให้ละเอียดแล้วละลายในนํ้า 38 ลิตร ในถังไม้หรือโอ่งดิน ละลายปูนขาวในน้ำอีก 38 ลิตร ต่างหาก เมื่อสารทั้งสองอย่างละลายดีแล้ว ก็ตัก ออกมาจำนวนเท่าๆ กัน ผสมรวมกันในโอ่งอีกใบหนึ่ง แล้วกวนแรงๆ เพื่อให้ยา ทั้งสองชนิดผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปฉีดหรือทาป้องกันเชื้อรา

หมายเหตุ

1. วิธีทดสอบว่ายานี้ผสมถูกส่วนหรือไม่ ทำได้โดยการเอาเหล็ก หรือตาปูใหม่ ๆ จุ่มลงไปในน้ำยาสักครู่ ถ้าเหล็กหรือตาปูเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ต้องเติมปูนขาวลงไปอีกจนกว่าเหล็กหรือตาปูนั้นไม่เปลี่ยนสี

2. ยาบอร์โดนี้ เมื่อผสมขึ้นคราวหนึ่งแล้วจะต้องใช้ให้หมด เวลาฉีดยาก็ต้องคนอยู่เสมอเพื่อมิให้ยานอนก้นถัง

ข้อควรระวังในการใช้ยากำจัดโรคและแมลง

1. หยิบยกจับถือด้วยความระมัดระวัง

2. เลือกใช้ยาให้ถูกประเภท เช่น ถ้าพืชเป็นโรครา ก็ต้องใช้ยากันรา พืชถูกแมลงกัดกินก็ใช้ยาฆ่าแมลง ถ้าแมลงเป็นชนิดปากดูดดูดกินนํ้าเลี้ยง ก็ต้องใช้ยาชนิดดูดซึม เป็นต้น

3. จงสวมถุงมือ เสื้อแขนยาว กางเกง รองเท้า และหน้ากากป้องกันยาพิษในขณะปฏิบัติงาน

4. ใช้ยาตามคำแนะนำของบริษัทโดยเคร่งครัด คืออย่าใช้ยาให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค และถ้าใช้ยาน้อยเกินไปก็ปราบโรคและแมลงไม่ได้

5. อย่าให้ถูกผิวหนังหรือกระเด็นเข้าตา จมูก และจงใช้ไม้สะอาดกวนยา

6. อย่าใช้หลอดดูดยาออกจากขวด หรือใช้ปากดูดเป่าหัวฉีดที่ตัน

7. เลือกอุปกรณ์และใช้ให้ถูกวิธี จงใช้เครื่องพ่นยาที่มีสภาพดี เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง จะต้องใช้เเยกกันกับเครื่องพ่นยาปราบวัชพืช

8. อย่าสูบบุหรี่ ดื่มน้ำ หรือกินอาหารในขณะพ่นยา

9. อย่าพ่นยาทวนลม ระมัดระวังอย่าให้ละอองยาถูกตัวและเข้าจมูก และควรปิดฝาโอ่งและอ่างนํ้ากินให้มิดชิดเพื่อกันอันตรายจากละอองยา

10. บุคคลที่พ่นยาควรมีร่างกายและสุขภาพแข็งแรงปกติ

11. หลังจากพ่นยา ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและซักฟอกเสื้อผ้าด้วย ทำการล้างเครื่องมือและถังพ่นยา และควรแยกเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงออกจากเครื่องพ่น ยาปราบวัชพืช

12. อย่าเก็บผลิตผลมาบริโภคเร็วเกินไป จะต้องปล่อยให้ยาหมดฤทธิ์เสียก่อน (ดูคำแนะนำบนฉลากยา) ถ้าไม่แน่ใจควรเก็บผลิ่ตผลหลังจากฉีดยา 15 วัน

13. ยาที่เหลือและน้ำล้างถังพ่นยาห้ามเทลงในบ่อ คลอง หนอง บึง แต่ควรฝังให้มิดชิด

14. เผา หรือฝังภาชนะใส่ยาที่ใช้เเล้ว ห้ามนำขวดใส่ยามาใช้อีก และควรทำความสะอาดเครื่องมือพ่นยาและภาชนะอื่น ๆ ด้วย

15. เก็บยาไว้ในที่ปลอดภัย และให้ห่างจากเด็ก ๆ หรือสัตว์เลี้ยง

16. ถ้าได้รับอันตรายจากพิษยา ควรรีบปฐมพยาบาล เช่น ถอดเสื้อ ผายปอด พัดเป่า และทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ให้รับประทานยาอะโทรปินหรือส่งโรงพยาบาล